รีเซต

เทศกาลทานาบาตะ Tanabata ญี่ปุ่น วันที่ 7 เดือน 7 ตำนานเจ้าหญิงทอผ้ากับชายเลี้ยงวัว

เทศกาลทานาบาตะ Tanabata ญี่ปุ่น วันที่ 7 เดือน 7 ตำนานเจ้าหญิงทอผ้ากับชายเลี้ยงวัว
เอิงเอย
5 กรกฎาคม 2567 ( 18:01 )
73.9K
2

       วันที่ 7 เดือน 7 หรือ วันที่ 7 กรกฎาคม ของทุกปีนั้น เป็นวันเทศกาลที่สำคัญของ ญี่ปุ่น นั่นก็คือ เทศกาลทานาบาตะ หรือ TANABATA หรือจะเรียกว่าการเฉลิมฉลอง Hoshi (ดาว) ทานาบาตะ Tanabata (Seven Evening) ก็ได้ค่ะ

วันที่ 7 เดือน 7 เทศกาล ทานาบาตะ ญี่ปุ่น

 

ประวัติเทศกาลทานาบาตะ

      การฉลองทานาบาตะ นี้ เริ่มในศตวรรษที่ 9 หรือที่ 10 ดาวคนเลี้ยงวัวเป็นตัวแทนของพรสวรรค์ด้านศิลปะ ส่วนหญิงทอผ้าเป็นตัวแทนของความสูงศักดิ์ ตั้งแต่ศตวรรษที่ 14 เป็นต้นมา ชาวญี่ปุ่นก็เริ่มเขียนกลอนไปไว้บน ต้นไผ่ เพราะว่าต้นไผ่ถือเป็นต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์ในยุคนั้น

 

Vassamon Anansukkasem / Shutterstock.com

 

ต้นไผ่ทานาบาตะ

     ส่วนของที่แขวนบนต้นไผ่ก็จะมี กระดาษที่ใช้อธิฐานที่เรียกว่า Tanzaku จะตัดเป็นรูปกิโมโนสำหรับเจ้าหญิงทอผ้า กับด้ายห้าสี สำหรับชายเลี้ยงวัว พอแขวนจนพอใจแล้ว ก็จะนำต้นไผ่นั้นไปลอยแม่น้ำค่ะ

 

ทานาบาตะ เทศกาล ญี่ปุ่น

 

     เทศกาลนี้จะว่าไปก็เป็นการฉลองวันแรกของการเพาะปลูกของญี่ปุ่นนั่นเอง ผู้คนจะอธิฐานขอให้การเพาะปลูกได้ผลดีจากเทพวัว และขอให้สามารถทอผ้าได้เก่งจากเทพทอผ้า ในปัจจุบัน พอพูดถึง Tanabata คนญี่ปุ่นจะนึกถึง วันหยุดของเด็กๆ การประดับต้นไผ่ เปรียบเหมือนกับการตกแต่งต้น Christmas ของฝรั่งนั่นเอง

 

KPG_Payless / Shutterstock.com

 

     สำหรับเทศกาลของ หญิงทอผ้ากับชายเลี้ยงวัว เป็นเรื่องที่ญี่ปุ่นเอามาจากจีน เรื่องเล่านี้มีมาตั้งแต่สมัย ราชวงศ์ถังในประเทศจีน เป็นเรื่องของดาวสองดวง คือ Orihime (Weaves cloths) กับ Hikohoshi (who breeds cattle in the heave) เป็นวันที่ดาวที่สว่างที่สุดสองดวงนี้จะมาพบกัน ปกติดาวทั้งสองจะอยู่คนละฝากของทางช้างเผือก ซึ่งจะมาใกล้กันที่สุดก็คือในคืนวันทานาบาตะนี่แหละ

 

j_rueda / Shutterstock.com

====================

 

ตำนานเทศกาลทานาบาตะ

     มีเรื่องเล่าอยู่ว่า เจ้าหญิงทอผ้าชื่อว่า Ori Hime อาศัยอยู่ในปราสาทบนฝั่งตะวันออกของทางช้างเผือก เป็นลูกสาวของกษัตริย์แห่งท้องฟ้า (หรือจักรวาล) ทำหน้าที่ทอผ้าอยู่ที่แม่น้ำอามาโนกาวะ หรือแม่น้ำแห่งสวรรค์ เจ้าหญิงใช้เวลาของเธอไปกับการทอผ้าให้กับพระบิดา ต่อมาพระบิดาได้ข่าวว่าที่อีกฝากของทางช้างเผือกมีชายหนุ่มที่กล้าหาญ และหล่อเหลาที่ชื่อว่า Hikoboshi ผู้เลี้ยงวัว อาศัยอยู่อีกฝั่งของทางช้างเผือก เมื่อทั้งคู่ได้พบกัน ไม่นานนักทั้งคู่ก็ได้หลงรักกันและได้แต่งงาน 

 

    เมื่อแต่งงานแล้วเจ้าหญิงโอริฮิเมะก็ไม่ได้ขยันทอผ้าดั่งที่เคย ส่วนฮิโกโบชิก็ได้ปล่อยให้วัววิ่งเพ่นพ่านไปทั่วสวรรค์ ด้วยความโกรธ กษัตริย์แห่งท้องฟ้าจึงได้แยกทั้งคู่ไม่ให้พบกัน กีดกั้นโดยทางช้างเผือก โอริฮิเมะเสียใจจากการสูญเสียสามีจึงได้ขอร้องบิดาของตนให้ได้เจอกับสามีของนางอีกครั้ง

 

     กษัติรย์จึงยอมให้ทั้งคู่สามารถเจอกันได้ในวันที่ 7 เดือน 7 ของทุกปี แต่จะสามารถพบได้ก็ต่อเมื่อเธอทำงานอย่างหนัก และทอผ้าจนเสร็จ เมื่อถึงเวลาที่จะได้พบกันอีกครั้งแรก ทั้งคู่ไม่สามารถข้ามทางช้างเผือกมาพบกันได้เนื่องจากไร้ซึ่งสะพานข้ามทางช้างเผือก เมื่อรู้ดังนั้น โอริฮิเมะได้ร้องไห้อย่างหนักจนฝูงนกกางเขนได้เข้ามาหาด้วยความสงสาร และสัญญาว่าจะสร้างสะพานโดยใช้ปีกของพวกมันช่วยกัน จนเธอสามารถข้ามทางช้างเผือกได้

 

      ทั้งสองจะพบกันได้ก็แต่เพียงในคืนของวันที่ 7 เดือน 7 ของทุกปีเท่านั้น ชายหนุ่มและหญิงสาว เศร้ามาก ได้แต่คอยนับวันที่เขาทั้งสองจะได้พบกันอีกในคืนที่เจ็ดของเดือนที่เจ็ดนั่นเองค่ะ

 

      มีคนกล่าวไว้ว่าถ้าในวันทานาบาตะปีไหนเกิดฝนตก เหล่าฝูงนกกางเขนจะไม่สามารถช่วยเป็นสะพานในปีนั้นได้ จะทำให้ทั้งคู่ต้องรออีกถึงปีหน้าเพื่อที่จะได้พบกันอีก

 

picture cells / Shutterstock.com

====================

 

ทังซะคุ (Tanzaku) คำอธิษฐานขอพรบนกระดาษ

 

 

     นอกจากตำนานความรักของชายเลี้ยงวัวกับหญิงทอผ้าแล้ว กิจกรรมอีกอย่างที่เราจะเห็นในวันนี้ก็คือ การเขียนคำอธิษฐานขอพรลงบนกระดาษแผ่นเล็กๆ ยาวๆ ที่เรียกว่า ทังซะคุ (Tanzaku) เมื่อเขียนเสร็จจะนำกระดาษไปแขวนไว้กับกิ่งไผ่ เพื่ออธิษฐานขอพรจากดวงดาว โดยที่สีกระดาษต่ละสีจะเหมาะกับการขอพรที่แตกต่างกัน ยกตัวอย่างเช่น

 

  • สีชมพู-ม่วง ขอพรเรื่องความรักให้สมหวัง
  • สีแดง ขอพรให้กับพ่อแม่ หรือบุพการีผู้เลี้ยงดู
  • สีขาว ขอพรให้ทำหน้าที่ได้อย่างสมบูรณ์แบบ
  • สีเหลือง ขอพรด้านความสัมพันธ์ต่างๆ เช่น เพื่อนที่โรงเรียน เพื่อนร่วมงาน
  • สีดำ ขอเรื่องการเรียน การสอบต่างๆ

====================