รีเซต

6 สถานที่แห่งความรัก อารยธรรมแห่งความทรงจำ รอบโลก

6 สถานที่แห่งความรัก อารยธรรมแห่งความทรงจำ รอบโลก
แมวหง่าว
27 มกราคม 2565 ( 15:59 )
25.6K
1

     ความรักนั้นเป็นสิ่งสวยงาม หอมหวานทุกครั้งในยามที่นึกถึง กระทั่งเวลาที่วาระสุดท้ายมาเยือน สำหรับผู้ที่ล่วงลับไปแล้วเรื่องราวคงจบเพียงแค่นั้น แต่กับผู้ที่ยังอยู่ มันคงเป็นความทุกข์ระทมอย่างสาหัส ถ้าจะหาสิ่งใดมาช่วยเยียวยาหัวใจได้ คงมีเพียงการสร้างอนุสรณ์สถานขึ้นมา เพื่อรำลึกถึงวันเวลาเก่าๆ เหล่านั้นนั่นเอง ต่อไปนี้คือ อนุสรณ์สถานแห่งความรัก ที่เรานำมาให้คุณได้ชมกัน

 

 

 อนุสรณ์สถานแห่งความรัก ความทรงจำที่ยากลืมเลือน รอบโลก

 

1. ทัชมาฮาล สุสานที่เต็มไปด้วยความงดงาม และความรัก

ประเทศอินเดีย

 

 

     สถาปัตยกรรมหินอ่อนที่สวยที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ตั้งอยู่ในสวนริมฝั่งแม่น้ำยมุนา ในเมืองอัครา ถูกสร้างด้วยหินอ่อนสีขาว ศิลาแลง ประดับลวดลายเครื่องเพชร พลอย หิน โมราและเครื่องประดับจากมิตรประเทศ มีผู้สร้างและออกแบบร่วม 20,000 คน การก่อสร้างกินเวลานานถึง 22 ปี ซึ่งสมเด็จพระจักรพรรด์ชาห์จาห์ฮาล ทรงสร้างอนุสาวรีย์ใหญ่ให้เป็นที่ฝังพระศพพระนางมุมตัส มาฮาล มเหสีที่ทรงรักยิ่ง

 

 

2. ห้องสมุดแห่งรัก NEILSON HAYS LIBRARY

ประเทศไทย

 

     อาคารห้องสมุดหลังนี้ สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งความรักของ นายแพทย์ ที.เฮวาร์ด ที่มีต่อนาง เจนนี่ เนลสัน เฮส์ ที่เดินทางติดตามสามีเข้ามาพำนักอาศัยในกรุงเทพฯ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2412 และถึงแก่กรรมในปี พ.ศ. 2463 อาคารหลังนี้เป็นตึกชั้นเดียว เทคนิคของการสร้างฐานอาคารเป็นแบบเดียวกับที่ใช้สร้างพระที่นั่งอนันตสมาคม ออกแบบโดยนายมาริโอ ตามานโย สถาปนิกชาวอิตาเลี่ยนที่เข้ามารับราชการในราชสำนักสยาม ในสมัยรัชกาลที่ 5

 

 

3. มหานครแห่งความรัก เวโรน่า

ประเทศอิตาลี

 

 

     ที่นี่เป็นต้นกำเนิดของตำนานรักอมตะ Romeo & Juliet ประพันธ์โดยวิลเลียม เชคสเปียร์ แม้จะเป็นเพียงนิยาย และไม่มีอยู่จริงในประวัติศาสตร์ แต่เรื่องราวความรักของคนทั้งสองก็ซาบซึ้งตรึงใจนักอ่านทั่วโลก และดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เดินทางมายังบ้านเลขที่ 27 ถนน Via Cappello ที่เรียกว่าเป็นบ้านของจูเลียต เพื่ออธิษฐานเกี่ยวกับความรัก และขึ้นไปยืนบนระเบียงหินอ่อน จุดเดียวกันกับที่จูเลียตเคยยืนโดยมีโรมิโอมาคอยเฝ้าขอความรัก

 

 

4. อนุสรณ์แห่งความรัก พระพุทธเจ้าหลวง และสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์

ประเทศไทย

 

 

     สถูปพระนางเรือล่ม ที่เเปลกตากว่าที่อื่นด้วยรูปทรงปิรามิด ตั้งอยู่ที่น้ำตกพลิ้ว ในอุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้ว อำเภอแหลมสิงห์ ซึ่งเป็นสถานที่ที่สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ทรงโปรด หลังจากที่เคยเสด็จประพาสน้ำตกพลิ้วเมื่อปี พ.ศ.2417 (สำหรับศาลพระนางเรือล่มจริงๆ นั้นตั้งอยู่ที่วัดกู้ จังหวัดนนทบุรี)

 

 

     สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทาฯ มีพระราชธิดาพระนามว่าสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ากรรณาภรณ์เพชรรัตน์ฯ และเป็นที่โปรดปรานของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้งหนึ่งมีการเสด็จพระราชดำเนินทางชลมารค ไปประทับแรมยังพระราชวังบางปะอิน เมืองพระนครศรีอยุธยา เมื่อเรือที่ประทับแล่นตามแม่น้ำเจ้าพระยาไปถึงตำบลบางพูด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ก็เกิดอุบัติเหตุถูกเรือลำอื่นแล่นแซง จึงทำให้เรือล่มลง ความรักและความอาลัยในตัวสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทาฯ นี้ ทำให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโศกสลดถึงที่สุด และได้ทรงสร้างอนุสรณ์สถานขึ้นหลายแห่งตามสถานที่ต่างๆ เพื่อเป็นที่ระลึกถึงพระมเหสีอันเป็นที่รักของพระองค์

 

 

5. สุสานของกษัตริย์มุสโซลุส สิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคโบราณ

ประเทศตุรกี

 

     สุสานเก่าแก่ของพระเจ้ามุสโซลุส (Mausolus) กษัตริย์แห่งเปอร์เซีย ที่เมืองฮาลิคาร์นัสซัส ปัจจุบันอยู่ในพื้นที่ของประเทศตุรกี และยังมีซากหลงเหลืออยู่ สร้างโดยพระมเหสีชื่อ อาเตมีเซีย เพื่อรำลึกถึงพระสวามีของนาง สร้างด้วยหินอ่อนทั้งหมด มีขนาดสูงถึง 140 ฟุต ในปัจจุบันนี้เหลือแต่ซากปรักหักพังบางส่วนบางส่วนเพราะเกิดแผ่นดินไหวในศตวรรษที่ 12 – 13 ขึ้นและชิ้นส่วนเหล่านี้ถูกนำไปไว้ที่พิพิธภัณฑ์ บริทิช มิวเซียม ประเทศอังกฤษ

 

 

6. สวนลอยแห่งบาบิโลน (Hanging Gardens of Babylan)

ประเทศอิรัก

 

 

     สวนลอยแห่งนี้สร้างโดยพระเจ้าเนบูคาดเนสซาร์ที่ 2 (Nebuchadnezzar II) ประมาณ 605-562 ปีก่อนคริสตกาล ปัจจุบันไม่ปรากฏหลักฐานหรือแม้แต่ซากปรักให้เห็น แต่คาดว่าน่าจะอยู่บริเวณเดียวกับกรุงบาบิโลน เมืองมาฮาวีล (Mahaweel) ประเทศอิรัก

 

 

     พระเจ้าเนบูคาดเนสซาร์ที่ 2 ทรงให้สร้างไว้เพื่อเป็นอุทยานพักผ่อนสำหรับ พระมเหสีอมีทิส (Queen Amytis) เพื่อจะช่วยบรรเทาความคิดถึงบ้านเกิดของพระนางนั่นเอง

 

===============

ตามติดเทรนด์เที่ยว อัพเดทที่พักสวย
แชร์ทริปสุดชิล โพสต์ภาพสุดปัง ของคุณได้แล้วที่ แอปทรูไอดี
คลิกเลย >> TrueID Travel Community <<