รีเซต

ที่แรกในในจีน! เซินเจิ้น ห้ามกินเนื้อหมาและแมว รอดแล้วนะน้องงง!

ที่แรกในในจีน! เซินเจิ้น ห้ามกินเนื้อหมาและแมว รอดแล้วนะน้องงง!
เอิงเอย
3 เมษายน 2563 ( 15:11 )
2.1K
4

      ถ้าไม่พูดถึงว่า น้องหมา และน้องแมวนั้นเป็นเพื่อนที่น่ารัก และซื่อสัตย์กับมนุษย์เรามากที่สุด ในประวัติศาสตร์การกินของโลก ก็มีการนำ เนื้อหมา หรือ เนื้อสุนัข รวมถึง เนื้อแมว มาประกอบเป็นอาหารจานเด็ดในหลายๆ พื้นที่ ทั้งเวียดนาม กัมพูชา โดยเฉพาะที่ ประเทศจีน ซึ่งเรามักได้ยินการเปิปพิสดารของพี่จีนกันอยู่บ่อยครั้ง แต่ตอนนี้ เซินเจิ้น ห้ามขายและบริโภคเนื้อสุนัขและแมว เป็นเมืองแรกในจีนแล้วค่ะ

 

 

กฎหมายใหม่ ห้ามกินหมาและแมว ในเซินเจิ้น

 

       หลังจากการระบาดของ เชื้อไวรัสโควิด-19 COVID-19 ที่มีความเชื่อมโยงกับการบริโภคเนื้อสัตว์ป่าทำ ให้เจ้าหน้าที่จีนสั่งห้ามการค้า และการบริโภคสัตว์ป่าแล้ว และทางเมืองเซินเจิ้นเอง ก็ออกกฎหมายเพิ่มเติมไปอีกขั้นหนึ่ง โดยการห้ามบริโภคเนื้อสุนัขและแมว ซึ่งกฎหมายใหม่จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 พฤษภาคม 2563 นี้

 

 

       Humane Society International (HSI) กล่าวว่า สุนัขกว่า 30 ล้านตัว ได้ถูกฆ่า และกลายเป็นอาหารจานเด็ดในพื้นที่แถบเอเชีย แต่อย่างไรก็ตาม การกินเนื้อสุนัขและแมวในประเทศจีนนั้นไม่ใช่เรื่องปกติทั่วไปของคนจีน คนจีนส่วนใหญ่ไม่ต้องการการบริโภคสัตว์เลี้ยงตัวน้อยนี้เลย

 

เซินเจิ้น ห้ามกินหมา ห้ามกินแมว ที่จีน

 

       จากสำนักข่าว Reuters ทางการเซินเจิ้นได้ให้สัมภาษณ์ว่า “สุนัขและแมวเป็นสัตว์เลี้ยงที่มีความใกล้ชิดกับมนุษย์มากกว่าสัตว์อื่นๆ และห้ามการบริโภคสุนัข แมวและสัตว์เลี้ยงอื่นๆ เป็นเรื่องปกติในประเทศที่พัฒนาแล้ว ซึ่งในฮ่องกง และไต้หวันก็มีการแบนการบริโภคสัตว์เลี้ยงเหล่านี้เช่นกัน”

       Dr Peter Li ผู้เชี่ยวชาญจากองค์กร HIS ได้กล่าวว่า “นี่อาจเป็นช่วงเวลาแห่งความพยายามในการยุติการค้าที่โหดร้าย ซึ่งมีการฆ่าสุนัขประมาณ 10 ล้านตัว และแมว 4 ล้านตัวทุกปีในประเทศจีน”

 

 

       อย่างไรก็ตาม ในเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา รัฐบาลจีนสั่งห้ามการค้าและการบริโภคสัตว์ป่า เนื่องจากตลาดค้าสัตว์ป่าในเมืองอู่ฮั่นที่อาจเป็นที่มาของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ซึ่งกำลังระบาดไปทั่วโลก และการบริโภคเนื้อสัตว์ป่านั้น อาจเป็นวิธีการที่ไวรัสจะเดินทางจากสัตว์สู่มนุษย์ได้ ทำให้รัฐบาลจีนปราบปรามการค้า และตลาดซื้อขายเนื้อสัตว์ป่าอย่างรุนแรง แม้ว่านักวิทยาศาสตร์ และนักวิจัย ยังไม่มีข้อสรุปแน่ชัดถึงแหล่งที่มาของไวรัส และยังไม่รู้วิธีการแพร่ระบาดมาสู่มนุษย์

 


อ้างอิง : BBC News