หลาย ๆ คนคงจะรู้จักและคุ้นเคยกับวัดนครหลวง วัดที่มักจะพบเห็นรูปเช็คอินบ่อยๆ คนมักจะมาถ่ายรูปพร้อมทั้งแต่งตัวชุดไทยสุดกิ๊บเก๋กันแล้วใช่ไหมคะแต่วันนี้ค่ะเราจะขออภัยทุกท่านมาที่วัดแห่งหนึ่งใกล้ๆกันห่างกันเพียงแค่ 1 กิโลเมตรเท่านั้นซึ่งเขามีพระปรางสุดแปลกให้เราได้ไปกราบไหว้กันค่ะ เมื่อขับรถจากวัดนครหลวงมาได้ประมาณ 1 กิโลแล้วให้มองไปทางซ้ายเราจะเจอกับประตูวัดเล็ก ๆ ที่มีชื่อว่าวัดกลางเลี้ยวเข้าไปได้เลยค่ะ จากนั้นให้เราจอดรถที่ลานด้านหน้าสถูปทางด้านซ้ายมือนะคะ สถูปเล็ก ๆ รูปทรงแปลกตานั่นแหละค่ะคือเป้าหมายของเรามณฑปหรือสถูปของวัดกลางลักษณะเป็นอาคารทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัสหลังคาเป็นทรงจอมประกอบด้วยหลังคาที่ลาดเข้าหากันทั้ง 4 ด้านจนถึงข้อ 2 แล้วจึงมีหลังคายอดทรงกรวยเหลี่ยมคล้ายพีระมิด 4 ด้านต่อขึ้นไป จุดยอดของหลังคาทำด้วย ป้องไฉนหรือบัวคลุมเถาเป็นทรงกรวยแหลม มีปูนปั้นหางหงส์เป็นรูปหงอนนาค และมีกำแพงแก้วล้อมรอบด้วยอาคาร 4 ด้านในแผนผังรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส และกึ่งกลางกำแพงแต่ละด้านมีการทำช่องประตูทางเข้าด้านละ 1 ช่อง โดยซุ้มประตูทางเข้าทำเป็นวงโค้งเข้าใจว่าเรียนแบบซุ้มแบบศิลปะตะวันตก คาดว่าสร้างในสมัยประมาณรัชกาลที่ 3 หรือ 4 จริง ๆ แล้วเราก็ไม่ได้ตั้งใจจะไปวันนี้แต่แรกหรอกค่ะแต่ว่ามีลูกศิษย์จากวัดข้าง ๆ เขาแนะนำให้มา เมื่อเข้าไปด้านในสถูปแล้วทุกคนอาจจะตกใจเล็กน้อยเพราะว่ามีโลงศพตั้งอยู่ทางด้านบน ตรงกลางของสถูป จริง ๆ แล้วนั่นคือพระพุทธรูปปางถวายเพลิงนั่นเองค่ะซึ่งพระพุทธรูปปางถวายเพลิงนี้สร้างขึ้นตามพระไตรปิฎกในเรื่องของการถวายเพลิงสรีระของพระพุทธเจ้าโดยตามพระไตรปิฎกได้กล่าวว่าเมื่อพระเจ้ามัลละได้ทำการจัดเตรียมงานศพของพระพุทธเจ้าเพื่อที่จะทำการถวายเพลิงแล้ว แต่ไฟนั้นไม่สามารถติดได้ ซึ่งแท้ที่จริงแล้วก็เป็นความประสงค์ของเทวดาที่ช่วยเหลือให้พระมหากัสสะปะและพระสงฆ์อีก 500 รูปที่กำลังเดินทางมาเพื่อถวายพระเพลิงพระพุทธเจ้าได้มาถึงทันเวลานั้นเองเมื่อพระมหากัสสปะมาถึงแล้ว ได้ทำการก้มกราบที่บริเวณส่วนปลายของโลงจากนั้นก็เกิดปาฏิหาริย์ขึ้น โดยพระพุทธเจ้าได้ทรงยื่นพระบาทออกมาจากห่อผ้า 500 ชั้นและโลงนั้นเพื่อให้ พระมหากัสสปะและพระสงฆ์ได้ทำการกราบไหว้เป็นครั้งสุดท้ายก่อนที่ไฟจะลุกติดนั่นเองค่ะ โดยวิธีการกราบไหว้บูชาก็ไม่ยากเลยค่ะเพียงใช้ธูป 3 ดอกในการบูชาและอาราธนาคุณพระศรีรัตนตรัยตามปกติจากนั้นก็อธิษฐานจิต เหมือนอธิฐานจบแล้วให้นำแผ่นทองมาแปะที่บริเวณโลงหรือบริเวณฝ่าเท้าก็ได้ค่ะ ทางด้านนอกของวัดแห่งนี้ก็ยังมีอุโบสถหลังใหม่อยู่นะคะแต่เนื่องจากว่าที่นี่มีจำนวน พระสงฆ์และผู้ดูแลไม่เพียงพอจึงไม่สามารถเข้าไปได้จะเปิดให้ก็ต่อเมื่อมีการเข้ามาบวช หรือมีงานสำคัญสำคัญเท่านั้นเองค่ะ พระสงฆ์ของวัดแห่งนี้ได้เล่าให้ฟังว่าวัดแห่งนี้เป็นวัดที่เงียบแล้วก็ไม่ค่อยมีคนเข้ามากราบไหว้เท่าไหร่นัก ตอนที่เราไปนั้นเป็นช่วงเวลาประมาณบ่ายกว่า ๆ แต่เรากลับเป็นคนแรกที่มาเยือนวัดแห่งนี้เลยค่ะ โดยที่นี่มีพระสงฆ์ด้วยกัน 5 รูปเท่านั้น เราจึงอยากจะขอเชิญชวนเพื่อน ๆ ว่าหากใครผ่านไปผ่านมาแถวนี้ก็อย่าลืมมาทำบุญที่วัดแห่งนี้กันด้วยนะคะ เพราะนอกจากจะได้บุญแล้วเรายังจะเป็นการทำนุบำรุงศาสนาไปด้วย เพื่อให้วัดแห่งนี้ได้มีการธํารงรักษาและเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของคนในบริเวณนี้ต่อไปค่ะ พระผู้ดูแลก็ใจดีมากก่อนกลับท่านให้วัตถุมงคลและยังมาพรมน้ำมนต์ที่รถให้ด้วย ซึ่งจริง ๆ บ้านเราออกรถใหม่แต่ยังไม่ได้ไปเจิมซักทีพอมีพระมาทำพิธีให้เลยแปลกใจมาก ๆ เพราะไม่ได้บอกอะไรท่านเลย และเพิ่งมารู้ที่หลังว่าคนที่แนะนำเรามาโทรมาบอกท่านว่ามีคนจะเข้าไป แต่เราไปถึงหน้าวัดแล้วเห็นว่าไม่มีอะไรเลยจะย้อนรถกลับแล้วแต่ก็ตัดสินใจเข้าไปใหม่ ถือว่าโชคดีมากไม่งั้นพระท่านคงรอเก้อแน่ ๆ Google Map : https://maps.app.goo.gl/cNas1v6shftfXDKr9