รู้หรือไม่...? บัตรสวัสดิการแห่งรัฐล่าสุด ใช้บัตรประจำตัวประชาชนซื้อตั๋วรถไฟผ่านโครงการสวัสดิการแห่งรัฐ ใช้แค่บัตรประชาชนใบเดียวหลายคนคงทราบดีว่า นับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2566 ที่ผ่านมา กระทรวงการคลังได้เปลี่ยนรูปแบบของโครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐเป็นรูปแบบใหม่ และให้มีการกรอกเอกสารเพื่อขับรับสิทธิ์โครงการในปี 2565 และยืนยันตัวผ่านธนาคารที่กระทรวงการคลังกำหนด และหลายคนได้สิทธิ์เรียบร้อยแล้ว ในครั้งแรกที่มีโครงการมี จะมีบัตรที่เรียกว่าบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ที่เป็นบัตรเฉพาะที่นำไปใช้ซื้อของผ่านร้านธงฟ้า และลดค่าครองชีพในด้านต่าง ๆ และมีการโอนเงินเข้าบัตรและสามารถกดเป็นเงินสดได้ในบางครั้งที่รัฐกำหนดให้มาเป็นพิเศษในปัจจุบันที่มีการปรับปรุงและยืนยันตัวตนใหม่นั้น ได้เปลี่ยนจากบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ใช้เป็น "บัตรประจำตัวประชาชน" แทน ก็ถือได้ว่าเป็นสิ่งที่ดีขึ้นมาอีกในระดับหนึ่งที่ประชาชนไม่พกบัตรหลายใบให้วุ่นวาย ประเด็นนี้ผู้เขียนเชื่อว่าเกือบทุกคนทราบดีแล้วบทความนี้ผู้เขียนจะมารีวิววิธีการใช้โครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐในระบบขนส่งสาธารณะ (รถไฟ) หรือพูดภาษาง่าย ๆ คือ ใช้บัตรประชาชนซื้อตั๋วรถไฟ สำหรับผู้ที่ได้รับสิทธิ์ใช้โครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ จากการใช้บริการของผู้เขียน ซึ่งกรมบัญชีกลาง ได้กำหนดให้ วงเงินค่าเดินทางผ่านระบบขนส่งสาธารณะของผู้ใช้บัตรเป็นจำนวน 750 บาทต่อเดือน สามารถใช้ในระบบขนส่งสาธารณะ ประกอบด้วย บขส. รถไฟ ขสมก. รถไฟฟ้า (MRT, BTS, ARL) กรณีซื้อตั๋วต้นทางจากสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ หรือที่หลายคนรู้จักในชื่อสถานีกลางบางซื่อ1. ไปที่จำหน่ายตั๋ว หลังจากนั้นให้สังเกตจอด้านบนของช่อง ว่าช่องที่ให้บริการนั้น ๆ สามารถชำระได้แบบไหนบ้าง เพราะบางช่องรับชำระค่าตั๋วเป็นเงินสดเท่านั้น! หรือเป็นจ่ายออนไลน์เท่านั้น ไม่รับในการเสียบบัตรเพื่อใช้วงบัตรในโครงการของบัตรสวัสดิการ เพราะถ้าเข้าไปต่อคิวผิดช่องเจ้าหน้าที่ก็จะแจ้งว่าให้ไปช่องนั้น-ช่องนี้ ซึ่งไม่ได้เสียหายอย่างใด เพียงแค่เสียเวลานิดหน่อย ดีที่สุดคือมองหน้าจอด้านบนของช่อง ว่า "ชำระด้วยบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ" เราก็ไปรอช่องนั้น2. แจ้งพนักงานถึงจุดหมายปลายที่จะไป แจ้งประเภทรถไฟ ที่นั่ง ตามปกติ และอย่าลืมบอกว่าชำระผ่านโครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ3. ยื่นบัตรประจำตัวประชาชนให้เจ้าหน้าที่ เพื่อใช้เสียบเข้าระบบ หลังจากนั้นกดรหัสบัตร 6 หลัก ที่เราแจ้งไว้ตั้งแต่เมื่อครั้งไปยืนยันตัวที่ธนาคาร4. เจ้าหน้าที่ก็จะนำตั๋วรถไฟให้เรา พร้อมแจ้งรายละเอียดการเดินทางให้ทราบอีกครั้งว่าถูกต้องหรือไม่ และคืนบัตรประจำตัวประชาชนให้เรา (ถ้าพนักงานลืมก็อย่าลืมทวงเอาบัตรตัวเองคืนด้วยนะครับ เดี๋ยวจะงงว่าตัวเองเอาบัตรไปทิ้งไหน อาจจะขายขำก็เป็นได้) แค่นี้ก็ถือว่าเป็นที่เรียบร้อยแล้ว แต่ข้อคำนึกและเป็นกฎเหล็กของการใช้สิทธิ์ คือต้องเป็นเจ้าของบัตรเท่านั้นในการเดินทาง หากพบว่ามีการสวมสิทธิ์ใช้จะมีการยกเลิกให้ใช้บัตรทีหลังซึ่งมันก็ไม่ดีแน่นอน และสำคัญไปกว่านั้นเมื่อเราขึ้นรถไฟแล้ว เจ้าหน้าที่ตรวจตั๋ว ถ้าเป็นตั๋วจากการใช้สิทธิ์บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เจ้าหน้าที่เขาจะขอดูบัตรประจำตัวประชาชนของเราด้วยชื่อในบัตรและในตั๋วจะต้องตรงกันเท่านั้น ซึ่งตั๋วที่ชำระด้วยเงินสด หรือสแกนจ่าย จะมีความแตกต่างจากคนที่ชำระค่าตั๋วผ่านการใช้สิทธิ์โครงการอยู่จุดหนึ่งซึ่งเป็นภาษาอังกฤษ อยู่มุมล่างซ้ายมือนั่นเองกรณีซื้อตั๋วต้นทางจากสถานีย่อยอื่น ๆ ที่ไม่ใช่สถานีกลาง เราก็ทำเหมือนกรณีสถานีกลางทุกประการ เพียงแค่สถานีย่อยเราไม่ต้องดูว่าช่องไหนชำระแบบไหน เพราะสถานีย่อยจะมีเพียงแค่ 1-2 ช่องเท่านั้นในการจำหน่ายตั๋ว ให้แจ้งได้เลยว่า ชำระค่าตั๋วผ่านโครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ และยื่นบัตรประชาชนให้ข้ออื่น ๆ ก็ทำเหมือนกันต่อทุกอย่างดูแล้วเป็นวิธีการง่าย ๆ สำหรับคนที่ถือสิทธิ์โครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐอยากจะเดินทางด้วยรถไฟสามารถใช้สิทธิ์ได้อย่าง 100%ข้อสำคัญของการเดินทางด้วยรถไฟ คือการตรงต่อเวลา รถไฟออกค่อนข้างตรงเวลา ณ สถานต้นทาง แต่สถานีย่อยอาจล่าช้าเนื่องจากรถไฟหลายขบวนใช้รางร่วมกันกับยานพาหนะอื่น ๆ ประเภทรางของการรถไฟแห่งประเทศไทย และทำตามกฎ ระเบียบ และให้เกียรติผู้ร่วมเดินทางนะครับเครดิตภาพหน้าปก : ออกแบบโดย Canva Pro (Canva.com)เครดิตภาพประกอบ : ภาพทั้งหมดถ่ายโดยผู้เขียน ถ่าย ณ สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ และสถานีรถไฟขอนแก่น#บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ2566 #ใช้บัตรสวัสดิการแห่งรัฐซื้อตั๋วรถไฟ #รถไฟไทย #เที่ยวทั่วไทยเดินทางด้วยรถไฟได้ใจสายชิล อยากไปเที่ยวไหนหรือเปล่า? หาข้อมูลที่เที่ยวสุดปังได้ที่ App TrueID โหลดเลย ฟรี !