“สายเกินไปที่จะทำฝันให้เป็นจริงอีกครั้ง” หลายครั้งที่เรามักเคยบอกตัวเองว่ามันสายเกินไป ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลต่างๆนานามากมาย อาทิเช่น อายุมากขึ้น แก่แล้ว สายตาไม่ดี ไม่ไหวที่จะเริ่มต้นทำอะไรในสิ่งที่ฝันแล้ว เพราะถึงทำไปมันก็ต้องเรียนรู้ใหม่ทั้งหมดอยู่ดี เหนื่อยง่าย ฯลฯนิทรรศการ “สูงวัย…ขยาย(ความ)” (Blowing up the tale of ageing society) เป็นนิทรรศการงานศิลปะที่สื่อประเด็นที่เกี่ยวกับบริบทสังคมสูงวัย และมีอายุที่เพิ่มมากขึ้นในสังคมประเทศไทย รวมทั้งอัตราการเกิด และการอาศัยอยู่เพียงลำพังมากกว่าครอบครัวเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งนิทรรศการนี้ได้รวมความคิดเอาไว้ทั้ง 4 มิติ สุขภาวะพลานามัยเศรษฐกิจและนวัตกรรมสังคมรความเสมอภาคสภาพแวดล้อมทางกายตลอดจนการเข้าถึงประเด็นทั้ง 4 นี้ได้ถูกพูดถึงในสื่อผลงานศิลปะและสร้างสรรค์ขึ้นมาจากศิลปินมากมาย มากถึง 12 ศิลปินในนิทรรศการงานกลุ่มนี้ที่ช่วยกันสร้างสรรค์ผลงานศิลปะที่มีความร่วมสมัยและสื่อที่สร้างสรรค์ในการแสดงออกที่มีต่อบริบทของคนสูงวัยภายในประเทศไทย ที่ให้มุมมองที่แตกต่างกันออกไป มีมุมมองที่รับรู้ที่แตกต่างให้ผู้ชมได้มีช่วงเวลาในการพิจารณาถึงสัจธรรมของชีวิต และเห็นคุณค่าในตัวเองและผู้อื่นและยังเป็นกรตระหนักถึงช่วงเวลาที่เราต้องเตรียมชีวิตและเตรียมความพร้อมเมื่อความชรามาถึงว่าเราอยากเป็นยังไงเมื่อยามที่เราแก่ตัวลงภายในงานนิทรรศการ “สูงวัย…ขยาย (ความ)” ได้จัดแสดงงานอยู่ที่ หอศิลป์วัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (Bangkok Art Culture Centre : Bacc) ชั้นที่ 9 ระหว่างวันที่ 19 สิงหาคม - 26 พฤศจิกายน 2566 เวลา 10:00-20:00 เมื่อเราเดินทางมาถึงชั้นที่ 9 ก็จะพบกับหน้าทางเข้าพื้นที่สีขาวขนาดใหญ่ที่มีกรอบทองขนาดเล็กมีข้อความที่แสดงสื่อถึงชื่องานนิทรรศการว่า “สูงวัย…ขยาย (ความ)” เมื่อเราจ้องมองไปที่กรอบรู้นั้นมันสื่อความเป็นไปได้อารมณ์ของช่วงเวลาชีวิตที่เหลืออยู่ตั้งแต่หน้าทางเข้าเลยทีเดียว และเมื่อเดินเข้ามาเราก็จะพบกับพื้นที่กว้างใหญ่ ที่มีผลงานศิลปะมากมายติดตั้งเรียงร้อยผ่านเรื่องราวตั้งแต่การเดินทางเข้ามาชมให้ความรู้สึกถึงความอ้างว่าง บ้างก็รู้สึกได้ถึงช่วงเวลาที่อบอุ่นเป็นบางจังหวะในระหว่างการเดินชมผลงานศิลปะ ตั้งแต่ผลงานการถักถองานฝีมืออันปราณีตของผู้ชำนาญในด้านการถักทอและสานสิ่งของต่างๆให้ออกมาได้อย่างงดงานอันเป็นวัฒนธรรมพื้นที่ที่สืบต่อกันมาอย่างยาวนานถัดไปเราก็จะพบกับม้านั่งสูงที่เหมือนกับกลุ่มผู้คนที่ทำงานด้านการเขียนภาพบนฝาผนังที่ทำให้นึกถึงการเขียนภาพบนวัดวาอารมต่างๆที่มีตัวละครประติมากรรมนั่งอยู่อย่างโดดเด่นเป็นการแสดงสื่อถึงช่วงเวลาของชีวิตที่ทำมาทั้งชีวิตแต่ก็เปี่ยมไปด้วยความฝันในสิ่งที่ตัวรักกระทั่งแว่นสายตาทางช่วงเวลาที่รู้สึกได้ถึงการมองในระยะทางยาวไกลมากขึ้น และความโดดเด่นของงานนิทรรศการงานนี้เลยก็คือการได้รับชมผลงานสื่อภาพยนต์ที่พูดถึงความฝันของคนสูงวัยในบริบทของการเป็นนักฉายหนังกลางแปลง ได้เล่าเรื่องราวของคุณลุงและเด็กหนุ่มรุ่นใหม่ไฟแรง เป็นการพูดถึงประเด็นระหว่าง Generation ของคนสองวัยที่แตกต่างกัน ทั้งความคิดช่วงอายุแต่ก็มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันในช่วงวัยเด็กของเด็กหนุ่ม ชายวัยชราที่ทำงานด้านการฉายหนังมาทั้งชีวิตต้องมาเผชิญกับช่วงเวลาของวัยและยุคสมัยที่เปลี่ยนไปไม่มีคนจ้างงานให้ไปฉายหนังกลางแปลงเหมือนสมัยก่อน"บางครั้งสิ่งที่เคยฝันสมัยยังหนุ่มมันก็อาจจะไม่มีโอกาศได้ทำแบบนั้นอีกแล้ว" ภาพยนต์ระหว่างชายชรากับเด็กหนุ่มได้พูดถึงจุดเชื่อมโยงระหว่างสองยุคสมัยที่ไม่อาจแยกออกจากกันเป็นการยอมรับซึ่งกันและกันในมิติของช่วงวัยที่ชายชราเป็นผู้จุดประกายความฝันให้เด็กหนุ่ม และเด็กหนุ่มก็เป็นผู้เติมเต็มความฝันให้ชายชราได้ทำในสิ่งที่ตัวเองหลงรัก ได้ทำตามฝัน และไม่มีคำว่าสายเกินกว่าจะฝันซึ่งในนิทรรศการงาน "สูงวัย...ขยาย(ความ)" ได้มีผลงานภาพเคลื่อนไหวติดตั้งเอาไว้ภายในงานมากมายให้เรารับชมสลับกันไปมากับผลงานประติมากรรมสีชมพูวางบนพื้นที่จดแสดงอย่างโดดเด่น กับผลงานชื่อ "สะพานข้ามบึงบัว" เป็นผลงานสื่อผสมที่เกิดขึ้นจากการถักทอจากภูมิปัญญา จากรุ่นสู่รุ่นเป็นที่นอนนิ่มๆที่เกิดจากการถักทอเรียงร้อยกันไปมาเป็นผลงานที่ศิลปินและคนในครอบครัวได้ช่วยกันสร้างขึ้นมาออกมาเป็นสะพานข้ามบึงบัวที่สวยงามและเมื่อเราขึ้นไปนั่งบนเบาะนุ่มๆบนสะพานข้ามบึงบัวก็จะมีหนังสือที่ถักเป็นหมอนนิ่มๆที่เปิดอัลบั้มภาพออกมาได้ ซึ่งภายในได้บันทึกขั้นตอนการทำงานระหว่างศิลปินรุ่นใหม่และครอบครัวในวัยที่แก่ชราได้ช่วยกันเป็นเสมือนกิจกรรมน่ารักๆของครอบครัวโดยใช้ความรู้ที่มีมาแลกเปลี่ยนประสบการณ์กันเพื่อทอดสะพานความสัมพันธ์ก้าวข้ามความแตกต่างของช่วงวัยระหว่างกันนอกจากนี้ยังมีผลงานอื่นๆที่น่าสนใจทั้งแก้วชาม แจกันที่วางเรียงรายบนพื้นแตกทั้งละเอียดบ้าง และแตกเป็นบางส่วนบ้างราวกับว่ามันกำลังพยายามจะซ่อมแซมตัวเองอีกครั้งซึ่งหมายถึงการเชื่อมต่อกันระหว่างคนสองยุคนั้นเองนอกจากนี้ยังมีสถิติประชากรในประเทศไทยที่บ่งบอกถึงช่วงเวลาที่เรากำลังจะก้าวเข้าสู่ยุคที่มีวัยชราเพิ่มมากขึ้นและอัตราการเกิดของประชากรน้อยลง และมีผู้ที่อยู่อาศัยเพียงคนเดียวเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ นั้นเลยเป็นประเด็นสำคัญของนิทรรศการงาน "สูงวัย...ขยาย(ความ)" ที่กำลังบอกเราว่า เราเริ่มใช้ชีวิตคนเดียวมากขึ้นเรื่อยๆจนบางครั้งเราอาจจะหลงลืมช่วงเวลา และความสัมพันธ์ที่เคยมีกับครอบครัวไปหรือเปล่า และเป็นการย้อนความทรงจำตระหนักถึงกันและกันในบางมุมบางเวลาในระหว่างที่ได้ชมผลงานนิทรรศการงาน "สูงวัย...ขยาย(ความ)"จัดแสดงที่ : หอศิลป์วัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร (Bangkok Art Culture Centre : Bacc) ชั้นที่ 9 การเดินทางที่แนะนำ : BTS สถานีสนามกีฬาแห่งชาติ หรือเดินทางด้วยรถยนต์มาจอดภายในอาคารได้Location : หอศิลป์วัฒนธรรมกรุงเทพมหานครเครดิตภาพประกอบบทความและภาพปกเป็นของผู้เขียนทั้งหมด อยากไปเที่ยวไหนหรือเปล่า? หาข้อมูลที่เที่ยวสุดปังได้ที่ App TrueID โหลดเลย ฟรี !