“เก็บเรื่องมาเล่า โดยหนุ่ม สุทน” สุขสันต์วันอาทิตย์ที่ 2 ตุลาคม 2565 ฟิน ๆ เช่นเดิมตามสไตล์หนุ่ม-สุทนวันนี้พาไปรู้จัก "วิถีชีวิตชาวตลาดน้อย" ริมน้ำเจ้าพระยาเขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร ทุกวันนี้เรียกว่าท่องเที่ยวสามวัฒนธรรมคือวัฒนธรรมชาวคริสต์ วัฒนธรรมชาวญานจากเวียดนามและวัฒนธรรมชาวจีน ทั้ง 3 วัฒนธรรมนี้หนุ่ม-สุทนขอเขียนเล่าเรื่องให้ท่านผู้อ่านทุกท่านอ่านเป็นเรื่อง ๆ เพื่อความเข้าใจอย่างง่ายโดยเริ่มต้นชุมชนย่านตลาดน้อยเรื่องที่ 1 ตามประวัติศาสตร์เมื่อครั้งแผ่นดินกรุงศรีอยุธยาในปี พ.ศ. 2309-2310 ในเกาะเมืองกรุงศรีอยุธยาถูกกองทัพพม่าเผาบ้านเผาเมืองเสียหายหมด ยุคสมัยนั้นพระเจ้าตากสินหรือสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้กอบกู้เอกราชกลับคืนได้จึงทรงโปรดฯ ตั้งราชธานีขึ้นมาใหม่คือ "กรุงธนบุรี" บริเวณปากคลองบางกอกใหญ่และครั้งกระนั้นชาวโปรตุเกสก็อพยพตามสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชมาตั้งบ้านเรือนในย่านกุฏีจีนซึ่งเป็นที่ตั้งศาลเจ้าแม่กวนอิมอยู่ก่อนแล้วจึงเรียกย่านกุฏีจีน ครั้งนี้หนุ่ม-สุทนได้พูดคุยกันกับประทานชุมชนชาวคริสต์ย่านกุฏีจีนเล่าเรื่องให้ฟังว่า ชาวโปรตุเกสได้จัดสร้างวัดของศาสนาคริสต์คือ "ซางตาครู้ค" ริมสายน้ำเจ้าพระยาซึ่งอยู่เขตกรุงธนบุรีทุกวันนี้คือแขวงวัดกัลยาเขตธนบุรี กรุงเทพมหานครและชาวโปรตุเกสบางส่วนก็ย้ายข้ามแม่น้ำเจ้าพระยามาตั้งเป็นอู่ซ่อมเรือสำเภาเมื่อครั้งกระนั้น ต่อมาได้ "สร้างโบสถ์กาลหว่าร์" เป็นของชาวคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก ส่วนรูปแบบของโบสถ์กาลหว่าร์เป็นสถาปัตยกรรมแบบคาทอลิกรูปทรงสูงและมียอดแหลมส่วนบนดูสวยงามมากสำหรับประตูมีทางเข้าออก 3 ทาง ด้านในโบสถ์ประดิษฐานไม้กางเขนพระเยซูซึ่งถือว่าเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของชาวคริสต์ย่านตลาดน้อยโบสถ์กาลหว่าร์เรื่องที่ 2 เป็นเรื่องราวของ "ชาวญวนอพยพมาจากเวียดนาม" สันนิษฐานกันเองว่าน่าจะต้นกรุงรัตนโกสินทร์เข้ามาตั้งบ้านเรือนสมัยนั้นเรียกว่าชานพระนครตอนใต้ชาวญวนก็ได้สร้างวัดขึ้นมาเรียกว่า "วัดญวนหรือวัดญวนตลาดน้อย" กาลเวลาต่อมาทุกวันนี้คือ "วัดอุทัยราชบำรุง" เป็นศิลปะคล้าย ๆ วัดจีนเพราะมากด้วยพญามังกรเข้าชมได้ศิลปะพญามังกรงดงามมากครับ วัดอุทัยราชบำรุงส่วนเรื่องที่ 3 เป็นเรื่องราวของ "ชาวจีน" น่าจะอพยพมาจากจีนแผ่นดินใหญ่สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 เข้ามาตั้งบ้านเรือนเป็นตลาดย่านสำเพ็งชาวจีนเรียกตลาดใหญ่ต่อมาชาวจีนบางส่วนก็ย้ายเข้ามาตั้งเป็นตลาดย่านชานพระนครแล้วเรียกว่า "ตลาดน้อย" เพราะตลาดใหญ่อยู่สำเพ็งนี่แหละที่มาของชื่อ "ตลาดน้อย" ครับ โดยมี ศาลเจ้าโรงเกือกหรือศาลเจ้าฮ้อนหว่องกุง ถือเป็นศาลเจ้าแห่งแรกย่านตลาดน้อยและเป็นศาลเจ้าแห่งแรกที่ชาวจีนแคะจัดสร้างขึ้นมาริมสายน้ำเจ้าพระยาตัวศาลเจ้าเป็นศิลปะแบบจีนหรือประตูหน้าต่างชาวจีนเรียกฉี่หู่ชวงหมายถึงหน้าต่างเสือมังกร ส่วนภายในประดิษฐาน"องค์เทพเจ้าฮ้อนหว่องกุงและองค์เทพเจ้าฉ่อยสึ่นหย่า" เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งหนึ่งในย่านตลาดน้อยเขตสัมพันธวงศ์กรุงเทพมหานคร ศาลเจ้าโรงเกือกหรือศาลเจ้าฮ้อ นหว่องกุงท่านผู้อ่านทุกท่านหาโอกาสไปเดินเที่ยวเดินชิลกันได้ครับ "ย่านตลาดน้อย" ชมวิถีชีวิตสามวัฒนธรรมเดินตามตรอกเล็ก ๆ ดั้งเดิมเคยปูด้วยหินอับเฉาเป็นก่อนหินบรรทุกอยู่ใต้ท้องเรือสำเภาจากจีนแผ่นดินใหญ่อยู่ใต้ท้องเรือสำเภาหลายเดือนไม่เคยเห็นเดือนเห็นตะวันดังนั้นจึงเรียกว่า "หินอับเฉา" ฮ่า ๆ หนุ่ม-สุทนไปมาแล้วไม่พลาดเก็บเรื่องราวต่าง ๆ มาฝากท่านผู้อ่านครับ โดยส่วนตัวชอบวิถีชีวิตของผู้คนในย่านนี้มากครับ ชุมชนชาวจีนยังคงอนุรักษ์วิถีแบบดั่งเดิมรวมทั้งบ้านเรือนต่าง ๆ ให้ยังคงดูเก่าแก่เป็นแบบเดิม ๆ สุขใจเหลือเกินท่องเที่ยวย่านตลาดน้อย "กินเที่ยวทั่วไทย เที่ยวเมืองไทยไม่ไปไม่รู้ ถ้าอยากรู้ต้องออกเดินทางไป...กับ...ผมหนุ่ม-สุทน” แล้วฝากติดตามฟังรายการ "กินเที่ยวทั่วไทยไปกับพี่หนุ่ม-สุทน รุ่งธัญรัตน์" ทางคลื่นข่าว fm 100.5 mhz ฟังเรื่องเล่าประวัติศาสตร์ วิถีชุมชน วัฒนธรรมและอาหารถิ่นของชุมชนได้ทุกวันอาทิตย์เวลา 10.10-11.00 น. ขอบคุณและสวัสดีครับชุมชนตลาดน้อยกับการไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ 3 วัฒนธรรมมาเดินเล่นเดินชิลกันได้ครับพิกัด "ตลาดน้อย" เรื่องและภาพโดย : หนุ่ม-สุทน รุ่งธัญรัตน์แฟนเพจเฟซบุ๊ค : https://www.facebook.com/sutonfm100.5/#ติดตามฟังเรื่องราวการเดินทางเที่ยวทั่วไทยทางคลื่นข่าว100.5fm ทุกวันอาทิตย์เวลา 10.10-11.00 น. #ติดต่อวิทยากรด้านการท่องเที่ยวได้ที่ได้ที่แฟนเพจเฟซบุ๊ค #เที่ยวเพลิน #เก็บเรื่องมาเล่าโดยหนุ่มสุทน #bigmaptravel #เที่ยวใกล้เที่ยวง่ายสไตล์ภาคกลาง ห้องส่องร้านดังมาแรง รวมของกินอร่อยต้องโดน บอกสูตรเมนูลับที่ไม่ลับอีกต่อไป