เดินสายไหว้พระที่เมืองเชียงใหม่ คราวนี้ถึงคิว "วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร" ตั้งอยู่ใจกลางเมืองเชียงใหม่ เป็นวัดที่เก่าแก่ของเมืองเชียงใหม่ เป็นปูชนียสถาน และโบราณวัตถุที่ขึ้นชื่อของเมืองเชียงใหม่ ดังนั้นประชาชนคนทั่วไปและนักท่องเที่ยวจึงหลั่งไหลมาเที่ยวและกราบไหว้สักการะบูชากันไม่ขาดสาย เป็นแหล่งเรียนรู้ประวัติศาสตร์วัฒนธรรมที่ดี เหมาะสำหรับให้นักเรียนนักศึกษามาทัศนศึกษาเพื่อศึกษาหาความรู้ ความเป็นมาของวิหารหลวง มาสัมผัสสถาปัตยกรรมที่งดงาม เพราะเป็นที่ประดิษฐานขององค์เจดีย์หลวงที่ใหญ่ที่สุดของเมืองเชียงใหม่ วิหารหลวงมีทางขึ้นทั้งหมด 4 ทางและตรงบันไดทางขึ้นจะเป็นรูปปั้นพญานาคเลื้อยลงมา ด้านหลังขององค์พระธาตุเจดีย์หลวงวรวิหาร เป็นแบบจำลองประจำปีเกิดเอาไว้สักการะบูชาเพื่อเป็นสิริมงคลกับตนเอง พระวิหารหลวง หากที่จะเข้าไปข้างในก็ต้องแต่งตัวให้เรียบร้อย และด้านหน้ามีดอกไม้ธูปเทียนไว้บูชาสักการะบูชากราบนมัสการพระอัฏฐารส พระประธานองค์ใหญ่ และที่น่าทึ่งกว่านั้น ก็คือด้านในสวยสดงามจริง ๆ ต้นเสาเพดานฝาผนังถูกตกแต่งด้วยภาพเขียนงดงาม และยังแต่งแบบล้านนาแล้วห้อยด้วยโคมไฟระย้างดงามยิ่งนัก องค์พระพุทธอัฏฐารส พระประธานองค์ใหญ่ปางห้ามญาติ รูปเหมือนหลวงปู่มั่น ภูริตตโตล้านนา พระนอน หรือพระพุทธไสยาส เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่คู่กับพระเจดีย์ งานประเพณีใส่ขันดอกบูชาเสาอินทขิล ประเพณีจะจัดขึ้นเป็นประจำทุกปีในช่วงเดือน 8 หรือประมาณเดือนพฤษภาคม-มิถุนายนจัดขึ้นเป็นเวลา 7 วัน เป็นประเพณีท้องถิ่นทางพุทธศาสนาของล้านนาที่สืบทอดต่อกันมายาวนาน โดยชาวบ้านเชื่อว่าจะทำให้บ้านเมืองเกิดความร่มเย็นเป็นสุขนำความเจริญรุ่งเรือง อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมการอนุรักษ์วัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่น ในช่วงงานประเพณีก็จะมีทั้งคนเชียงใหม่และนักท่องเที่ยวคนไทยและต่างชาติมาเที่ยวงานกันมากมาย ภายในงานก็จะจัดโตกสำหรับใส่ขันดอกจำนวน 32 โตก อันหมายถึงขวัญมงคล 32 ในร่างกายของเรานั่นเอง ส่วนดอกไม้ที่นำมาบูชาจะนิยมดอกบัวกับดอกกุหลาบ ข้าวตอกดอกไม้ 1 ชุด ก็จะมีดอกไม้ ธูปเทียน น้ำอบ น้ำหอม ธูป 3 ดอก เทียนอีก 1 เล่ม และนอกจากนี้ยังมีการสรงน้ำพระพุทธรูปฝนแสนห่า ความเชื่อคือจะทำให้ฝนตกถูกต้องตามฤดูกาล วัดเจดีย์หลวงเป็นอีกหนึ่งวัดที่สวยและงดงามมาก เป็นปูชนียสถานโบราณวัตถุที่เก่าแก่ของเมืองเชียงใหม่ หากใครมีโอกาสมาเชียงใหม่แวะมาไหว้พระขอพรกันค่ะ หรือถ้ามาในช่วงเดือนมิถุนายนก็ลองแพลนเวลาดูให้ดี ๆ จะได้มาเที่ยวประเพณีบูชาเสาอินทขิลด้วย รูปทุกรูปเป็นของผู้เขียน