เที่ยวทิพย์ – นำชมจารึกพระนามาภิไธยย่อ ส.ก. และพระนามาภิไธย "สิริกิติ์" เนื่องในโอกาสวันแม่แห่งชาติ : ท่องเที่ยวตามรอยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เรียบเรียงโดย นายสัณหวัช รามพูล เตรียมอุดมศึกษา รุ่นที่ ๗๙ สาขาวิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตวังท่าพระ เนื่องจากวันพฤหัสบดีที่ ๑๒ เดือนสิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๖๔ เป็นวันแม่แห่งชาติ ตามที่คณะกรรมการอำนวยการสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ได้กำหนดขึ้นในปีพุทธศักราช ๒๕๑๙ โดยถือเอาวันเสด็จพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง คือ วันที่ ๑๒ สิงหาคมเป็นวันแม่แห่งชาติ (๑) ดังนั้น ผู้เขียนจะมานำชม เพื่อพาท่านผู้อ่านหรือท่านผู้ชมที่น่ารักทุกคนไปชมจารึกพระนามาภิไธยย่อ ส.ก. และพระนามาภิไธย "สิริกิติ์" ของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง โดยใช้ชื่อการนำชมเพื่อพาท่านผู้อ่านหรือท่านผู้ชมที่น่ารักทุกคนไปเที่ยวทิพย์ในครั้งนี้ว่า “เที่ยวทิพย์ – นำชมจารึกพระนามาภิไธยย่อ ส.ก. และพระนามาภิไธย "สิริกิติ์" เนื่องในโอกาสวันแม่แห่งชาติ : ท่องเที่ยวตามรอยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง” ครับ พวกเรามาเริ่มต้นกันได้เลย ณ จารึกพระนามาภิไธยย่อ ส.ก. ในสถานที่แห่งแรก คือ จารึกพระนามาภิไธยย่อ ส.ก. ณ ถ้ำคูหาสวรรค์ วัดคูหาสวรรค์ พระอารามหลวง ถนนคูหาสวรรค์ ตำบลคูหาสวรรค์ อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุงครับ ภาพที่ ๑ จารึกพระนามาภิไธยย่อ ส.ก. ของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ณ ถ้ำคูหาสวรรค์ วัดคูหาสวรรค์ พระอารามหลวง ถนนคูหาสวรรค์ ตำบลคูหาสวรรค์ อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง ที่มาของภาพ : นายสัณหวัช รามพูล - ผู้บันทึกภาพและเจ้าของภาพ ภาพที่ ๒ จารึกพระนามาภิไธยย่อ ส.ก. ของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ณ ถ้ำคูหาสวรรค์ วัดคูหาสวรรค์ พระอารามหลวง ถนนคูหาสวรรค์ ตำบลคูหาสวรรค์ อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง ที่มาของภาพ : นายสัณหวัช รามพูล - ผู้บันทึกภาพและเจ้าของภาพ ภาพที่ ๓ - ๔ จารึกพระปรมาภิไธยย่อ ภ.ป.ร. ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (ในหลวงรัชกาลที่ ๙) และพระนามาภิไธยย่อ ส.ก. ของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ลงวัน เดือนและปี : ๑๗/๓/๒๕๐๒ ณ ถ้ำคูหาสวรรค์ วัดคูหาสวรรค์ พระอารามหลวง ถนนคูหาสวรรค์ ตำบลคูหาสวรรค์ อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง ที่มาของภาพ : นายสัณหวัช รามพูล - ผู้บันทึกภาพและเจ้าของภาพ จารึกพระปรมาภิไธยย่อ ภ.ป.ร. และพระนามาภิไธยย่อ ส.ก. ณ ถ้ำคูหาสวรรค์ วัดคูหาสวรรค์ พระอารามหลวง เกิดขึ้นเมื่อคราวพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (ในหลวงรัชกาลที่ ๙) และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ได้เสด็จพระราชดำเนินมาเยี่ยมพสกนิกรในจังหวัดพัทลุงเป็นครั้งแรก ณ บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัดพัทลุงและได้เสด็จฯ ไปนมัสการพระพุทธรูปโบราณสมัยอยุธยา - รัตนโกสินทร์ที่ถ้ำคูหาสวรรค์ วัดคูหาสวรรค์ พระอารามหลวง เมื่อวันที่ ๑๗ เดือนมีนาคม พุทธศักราช ๒๕๐๒ ซึ่งทรงจารึกพระปรมาภิไธยย่อ ภ.ป.ร. ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (ในหลวงรัชกาลที่ ๙) และพระนามาภิไธยย่อ ส.ก. ของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงที่เพิงผาถ้ำคูหาสวรรค์ วัดคูหาสวรรค์ พระอารามหลวง พร้อมกับลงวัน เดือน และปีที่เสด็จฯ ไปนมัสการพระพุทธรูปที่ถ้ำคูหาสวรรค์ วัดคูหาสวรรค์ พระอารามหลวง คือ ๑๗/๓/๒๕๐๒ ไว้ด้วยในคราวนั้น โดยในการเสด็จครั้งนั้นมีประชาชนมาเข้าเฝ้าฯ ชมพระบารมีประมาณ ๓๕,๐๐๐ คนเลยทีเดียวครับ (๒) ภาพที่ ๕ - ๖ จารึกพระปรมาภิไธยย่อ ภ.ป.ร. ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (ในหลวงรัชกาลที่ ๙) และพระนามาภิไธยย่อ ส.ก. ของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ลงวัน เดือนและปี : ๑๗/๓/๒๕๐๒ รวมทั้งพระปรมาภิไธยย่อ จ.ป.ร. ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ในหลวงรัชกาลที่ ๕) ลงปีรัตนโกสินทรศก ๑๐๘ และพระปรมาภิไธยย่อ ป.ป.ร. ของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (ในหลวงรัชกาลที่ ๗) ลงวัน เดือนและปี : ๒๕/๑๐/๒๔๗๑ ณ ถ้ำคูหาสวรรค์ วัดคูหาสวรรค์ พระอารามหลวง ถนนคูหาสวรรค์ ตำบลคูหาสวรรค์ อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง ที่มาของภาพ : นายสัณหวัช รามพูล - ผู้บันทึกภาพและเจ้าของภาพ สถานที่ตั้งของถ้ำคูหาสวรรค์ วัดคูหาสวรรค์ พระอารามหลวงและรายละเอียดเพิ่มเติม ถ้ำคูหาสวรรค์ วัดคูหาสวรรค์ พระอารามหลวง ตั้งอยู่ที่ถนนคูหาสวรรค์ ตำบลคูหาสวรรค์ อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง ๙๓๐๐๐ วิธีการเดินทางไปท่องเที่ยว รถยนต์ จากกรุงเทพฯ สามารถไปได้ ๓ เส้นทาง คือ เส้นทางที่ ๑ ตามทางหลวงหมายเลข ๔ ถึงชุมพร (สี่แยกปฐมพร) แยกเข้าระนอง พังงา กระบี่ ตรัง จนถึง พัทลุง ระยะทางประมาณ ๑,๑๔๐ กิโลเมตร เส้นทางที่ ๒ ตามทางหลวงหมายเลข ๔ ถึงชุมพร ให้เข้าทางหลวงหมายเลข ๔๑ จนถึงจังหวัดพัทลุง ระยะทาง ๘๔๐ กิโลเมตร เส้นทางที่ ๓ ตามทางหลวงหมายเลข ๔ ผ่านชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช แล้วเข้าทางหลวง หมายเลข ๔๐๓ จากนั้นจึงเข้าทางหลวงหมายเลข ๔๑ ที่ชุมทางเขาชุมทอง จนถึงพัทลุง (๓) เมื่อมาถึงจังหวัดพัทลุงในบริเวณสี่แยกเอเชีย ท่านผู้อ่านหรือท่านผู้ชมที่น่ารักทุกท่านก็ขับรถตรงไปทางทิศตะวันออกตามถนนราเมศวร์จนถึงสี่แยกโคลีเซี่ยม แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าถนนจรูญธรรมไปจนถึงสามแยกจนเห็นซุ้มประตูประจำทิศใต้ของวัดคูหาสวรรค์ พระอารามหลวง แต่ควรเลี้ยวขวาไปตามถนนคูหาสวรรค์จนถึงซุ้มประตูประจำทิศตะวันออกของวัดคูหาสวรรค์ พระอารามหลวง แล้วขับรถเข้าสู่วัดคูหาสวรรค์ พระอารามหลวง เพราะอาณาบริเวณของวัดคูหาสวรรค์ พระอารามหลวง หลังจากเข้าสู่ซุ้มประตูประจำทิศตะวันออกของวัดคูหาสวรรค์ พระอารามหลวงนั้นมีสถานที่จอดรถกว้างขวางอยู่พอสมควร แต่ควรระวังลิงแสมที่ซุกซนมาก เช่น ชอบแย่งอาหารจากนักท่องเที่ยวที่ถือเข้ามา หากเกิดเหตุการณ์นั้นขึ้น ควรปล่อยให้ลิงแสมนั้นแย่งไป เนื่องจากหากไม่ยอมปล่อยให้ลิงแสมนั้นแย่งไป อาจเกิดอุบัติเหตุจากการโดนลิงแสมกัดหรือทำร้ายได้ เนื่องจากวัดคูหาสวรรค์ พระอารามหลวง ตั้งอยู่ในบริเวณเขาคูหาสวรรค์ อันเป็นถิ่นอาศัยของฝูงลิงแสม ซึ่งถือว่า "ลิงแสม" เป็นสัญลักษณ์ที่ชวนให้นึกถึงวัดคูหาสวรรค์ พระอารามหลวง หรือที่ชาวพัทลุงเรียกกันว่า "วัดสูง" นั่นเองนะครับ เมื่อจอดรถเสร็จแล้ว ท่านผู้อ่านหรือท่านผู้ชมที่น่ารักทุกท่านก็เดินตรงไปจนขึ้นบันไดสู่ลานกว้างหน้าพระอุโบสถ แล้วเดินผ่านพระอุโบสถไปตามทางเดินสู่ทิศตะวันตกจนขึ้นบันไดแล้วก็จะถึงปากถ้ำคูหาสวรรค์ วัดคูหาสวรรค์ พระอารามหลวง เมื่อเข้าไปในถ้ำแห่งนี้ ท่านผู้อ่านหรือท่านผู้ชมที่น่ารักทุกท่านก็จะพบกับจารึกพระปรมาภิไธยย่อ ภ.ป.ร. ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (ในหลวงรัชกาลที่ ๙) และพระนามาภิไธยย่อ ส.ก. ของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ลงวัน เดือนและปี : ๑๗/๓/๒๕๐๒ รวมทั้งพระปรมาภิไธยย่อ จ.ป.ร. ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ในหลวงรัชกาลที่ ๕) ลงปีรัตนโกสินทรศก ๑๐๘ และพระปรมาภิไธยย่อ ป.ป.ร. ของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (ในหลวงรัชกาลที่ ๗) ลงวัน เดือนและปี : ๒๕/๑๐/๒๔๗๑ บนเพิงผา โดยอยู่ตรงด้านหน้าของท่านผู้อ่านหรือท่านผู้ชมที่น่ารักทุกท่านที่มองเห็นได้อย่างชัดเจนเลยครับผม รถไฟ การรถไฟแห่งประเทศไทย มีรถไฟมาถึงสถานีรถไฟพัทลุง อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง เมื่อมาถึงสถานีรถไฟพัทลุงแล้ว หลังจากนั้นท่านผู้อ่านหรือท่านผู้ชมที่น่ารักทุกท่านสามารถใช้บริการรถโดยสารสาธารณะทั่วไปของจังหวัดพัทลุง เช่น รถตุ๊กตุ๊ก รถจักรยานยนต์รับจ้าง เป็นต้น เพื่อเดินทางไปถึงถ้ำคูหาสวรรค์ วัดคูหาสวรรค์ พระอารามหลวง เมื่อเดินทางถึงวัดคูหาสวรรค์ พระอารามหลวงแล้ว หลังจากนั้นท่านผู้อ่านหรือท่านผู้ชมที่น่ารักทุกท่านสามารถเดินไปตามเส้นทางดังที่กล่าวมาแล้วได้เลยได้เลยครับผม รายละเอียดเพิ่มเติมสอบถามได้ที่ โทร. 1690 และ 0-2220-4910 ถึง 11 หรือสถานีรถไฟพัทลุง โทร. 0 7461 3106 หรือ https://www.railway.co.th/ ครับ (๔) รถโดยสารประจำทาง (รถทัวร์) บริษัท ขนส่ง จำกัด มีบริการเดินรถกรุงเทพฯ – พัทลุง ทุกวัน มีรถโดยสารประจำทาง (รถทัวร์) ออกที่สถานีขนส่งสายใต้ (ใหม่) ถนนบรมราชชนนี ไปถึงสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดพัทลุงได้เลยครับ เมื่อมาถึงสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดพัทลุงแล้ว หลังจากนั้นท่านผู้อ่านหรือท่านผู้ชมที่น่ารักทุกท่านสามารถใช้บริการรถโดยสารสาธารณะทั่วไปของจังหวัดพัทลุง เช่น รถตุ๊กตุ๊ก รถจักรยานยนต์รับจ้าง เป็นต้น เพื่อเดินทางไปถึงถ้ำคูหาสวรรค์ วัดคูหาสวรรค์ พระอารามหลวง เมื่อเดินทางถึงวัดคูหาสวรรค์ พระอารามหลวงแล้ว หลังจากนั้นท่านผู้อ่านหรือท่านผู้ชมที่น่ารักทุกท่านสามารถเดินไปตามเส้นทางดังที่กล่าวมาแล้วได้เลยได้เลยครับผม รายละเอียดเพิ่มเติมสอบถามได้ที่ โทร. 02-434-5557-8, 02-435-1199, 02-435-1200 หรือ www.transport.co.th/ ครับ (๕) เครื่องบิน เนื่องจากจังหวัดพัทลุงไม่มีท่าอากาศยานหรือสนามบินประจำจังหวัด ท่านผู้อ่านหรือท่านผู้ชมที่น่ารักทุกท่านสามารถใช้บริการเที่ยวบินกรุงเทพฯ-ตรัง มาลงที่ท่าอากาศยานตรัง จังหวัดตรัง หรือใช้บริการเที่ยวบินกรุงเทพ - นครศรีธรรมราช มาลงที่ท่าอากาศยานนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช หรือใช้บริการเที่ยวบินกรุงเทพฯ-หาดใหญ่ มาลงที่ท่าอากาศยานนานาชาติหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา แล้วต่อรถโดยสารสาธารณะไปถึงสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดพัทลุงได้ (๖) หลังจากนั้นใช้บริการรถโดยสารสาธารณะทั่วไปของจังหวัดพัทลุง เช่น รถตุ๊กตุ๊ก รถจักรยานยนต์รับจ้าง เป็นต้น เพื่อเดินทางไปถึงถ้ำคูหาสวรรค์ วัดคูหาสวรรค์ พระอารามหลวง เมื่อเดินทางถึงวัดคูหาสวรรค์ พระอารามหลวงแล้ว หลังจากนั้นท่านผู้อ่านหรือท่านผู้ชมที่น่ารักทุกท่านสามารถเดินไปตามเส้นทางดังที่กล่าวมาแล้วได้เลยได้เลยครับผม เมื่อชมจารึกพระนามาภิไธยย่อ ส.ก. ที่เพิงผาถ้ำคูหาสวรรค์ วัดคูหาสวรรค์ พระอารามหลวง ถนนคูหาสวรรค์ ตำบลคูหาสวรรค์ อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง กันเรียบร้อยแล้ว ผู้อ่านหรือผู้ชมตามผู้เขียนกันมาที่จารึกพระนามาภิไธยย่อ ส.ก. ในสถานที่ถัดไปกันได้เลยครับ ตอนนี้พวกเรามาอยู่กัน ณ น้ำตกกะช่อง ตำบลช่อง อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง โดยจารึกพระนามาภิไธยย่อ ส.ก. พร้อมกับจารึกพระปรมาภิไธยย่อ ภ.ป.ร. อยู่ในบริเวณน้ำตกโตนปลิว ซึ่งเป็นน้ำตกชั้นที่ ๕ และชั้นที่ ๖ ของน้ำตกกะช่องครับ ภาพที่ ๗ จารึกพระปรมาภิไธยย่อ ภ.ป.ร. ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (ในหลวงรัชกาลที่ ๙) และพระนามาภิไธยย่อ ส.ก. ของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ลงวัน เดือนและปี : ๑๖ มี.ค. ๒๕๐๒ รวมทั้งพระปรมาภิไธยย่อ ป.ป.ร. ของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (ในหลวงรัชกาลที่ ๗) ลงวัน เดือนและปี : ๒๕/๑๐/๗๑ อยู่บริเวณน้ำตกโตนปลิว ซึ่งเป็นน้ำตกชั้นที่ ๕ และชั้นที่ ๖ ของน้ำตกกะช่อง ตำบลช่อง อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง ที่มาของภาพ : ภาพนี้ได้รับอนุญาตให้นำมาใช้ได้จากนางสาวสุนทรี สังข์อยุทธ์ ผู้บันทึกภาพและเจ้าของภาพ จารึกพระนามาภิไธยย่อ ส.ก. พร้อมกับจารึกพระปรมาภิไธยย่อ ภ.ป.ร. อยู่บริเวณน้ำตกชั้นที่ ๕ และชั้นที่ ๖ ของน้ำตกกะช่อง เกิดขึ้นเมื่อคราวพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (ในหลวงรัชกาลที่ ๙) และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จพระราชดำเนินมาเยี่ยมพสกนิกรที่จังหวัดตรังและเสด็จประพาสน้ำตกกะช่อง ตำบลช่อง อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง เมื่อวันที่ ๑๖ เดือนมีนาคม พุทธศักราช ๒๕๐๒ ซึ่งทรงจารึกพระปรมาภิไธยย่อ ภ.ป.ร. ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (ในหลวงรัชกาลที่ ๙) และพระนามาภิไธยย่อ ส.ก. ของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงที่เพิงผาบริเวณน้ำตกชั้นที่ ๕ และชั้นที่ ๖ ของน้ำตกกะช่อง พร้อมทั้งลงวัน เดือนและปีที่เสด็จประพาสน้ำตกกะช่อง คือ ๑๖ มี.ค. ๒๕๐๒ ไว้ด้วยในคราวนั้นครับ (๗) ภาพที่ ๘ จารึกพระปรมาภิไธยย่อ ภ.ป.ร. ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (ในหลวงรัชกาลที่ ๙) และพระนามาภิไธยย่อ ส.ก. ของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ลงวัน เดือนและปี : ๑๖ มี.ค. ๒๕๐๒ รวมทั้งพระปรมาภิไธยย่อ ป.ป.ร. ของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (ในหลวงรัชกาลที่ ๗) ลงวัน เดือนและปี : ๒๕/๑๐/๗๑ อยู่บริเวณน้ำตกโตนปลิว ซึ่งเป็นน้ำตกชั้นที่ ๕ และชั้นที่ ๖ ของน้ำตกกะช่อง ตำบลช่อง อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง ที่มาของภาพ : ภาพนี้ได้รับอนุญาตให้นำมาใช้ได้จากนางสาวสุนทรี สังข์อยุทธ์ ผู้บันทึกภาพและเจ้าของภาพ สถานที่ตั้งของบริเวณน้ำตกชั้นที่ ๕ และชั้นที่ ๖ ของน้ำตกกะช่อง เรียกว่า "น้ำตกโตนปลิว" และรายละเอียดเพิ่มเติม บริเวณน้ำตกชั้นที่ ๕ และชั้นที่ ๖ ของน้ำตกกะช่อง เรียกว่า "น้ำตกโตนปลิว" ตั้งอยู่ที่สถานีพัฒนาและส่งเสริมการอนุรักษ์สัตว์ป่าเขาช่องในสวนพฤกษศาสตร์เขาช่อง หมู่ที่ ๗ บ้านกระเจาะ ถนนตรัง-พัทลุง (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔ : ถนนเพชรเกษม) ตำบลช่อง อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง ๙๒๑๗๐ สวนพฤกษศาสตร์เขาช่อง เปิดให้เข้าชมทุกวัน ระหว่างเวลา ๘.๓๐ – ๑๘.๐๐ น. สามารถติดต่อสวนพฤกษศาสตร์เขาช่อง ได้ที่เบอร์โทรศัพท์ 075-573521 facebook: www.facebook.com/khaochong.botanic อีเมล: khaochong.botanic@gamil.com วิธีการเดินทางไปท่องเที่ยว รถยนต์ส่วนตัว ท่านผู้อ่านหรือผู้ชมที่น่ารักทุกท่านสามารถขับรถมาจากกรุงเทพฯ ได้ ๒ เส้นทาง ได้แก่ เส้นทางที่ ๑ - ใช้เส้นทางจากกรุงเทพฯ - สุราษฎร์ธานี ระยะทางประมาณ ๖๑๗ กิโลเมตร และขับรถตรงมาตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๑ สู่อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช ระยะทาง ๑๓๓ กิโลเมตร แล้วขับรถแยกเข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๓ สู่อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง รวมระยะทางประมาณ ๕๐ กิโลเมตร หลังจากนั้นเลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔ อีก ๒๘ กิโลเมตร ถึงตัวอำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง รวมเป็นระยะทาง ๘๒๘ กิโลเมตร ส่วนเส้นทางที่ ๒ - ใช้เส้นทางจากกรุงเทพฯ โดยขับรถมาตามทางหลวงหมายเลข ๓๕ (ธนบุรี-ปากท่อ) ระยะทาง ๙๐ กิโลเมตร และเลี้ยวแยกเข้าทางหลวงหมายเลข ๔ (เพชรเกษม) จนถึงชุมพร หลังจากนั้นเลี้ยวแยกเข้าจังหวัดระนอง จังหวัดพังงา จังหวัดกระบี่ แล้วเข้าสู่จังหวัดตรัง รวมระยะทาง ๑,๐๒๐ กิโลเมตร (๘) เมื่อมาถึงตัวเมืองจังหวัดตรัง ท่านผู้อ่านหรือท่านผู้ชมที่น่ารักทุกท่านก็เริ่มต้นเดินทางจากบริเวณสวนสาธารณะพระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี หรืออนุสาวรีย์พระยารัษฎาฯ ใช้ถนนตรัง-พัทลุง (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔ : ถนนเพชรเกษม) มุ่งหน้าไปทางทิศตะวันออกหรือมุ่งหน้าสู่จังหวัดพัทลุง ประมาณ ๑๘.๕ กิโลเมตร ท่านผู้อ่านหรือท่านผู้ชมที่น่ารักทุกท่านก็จะถึงสวนพฤกษศาสตร์ เขาช่อง อยู่ทางขวามือ เลี้ยวเข้าประตูทางเข้าของสวนพฤกษศาสตร์เขาช่อง แล้วขับรถเข้าไปอีกประมาณ ๒ กิโลเมตร ถัดไปมุ่งหน้าสู่สถานีพัฒนาและส่งเสริมการอนุรักษ์สัตว์ป่าเขาช่อง หลังจากนั้นจอดรถที่ลานจอดรถ แล้วเดินเท้าเข้าไปสู่น้ำตกโตนปลิว จารึกพระปรมาภิไธยย่อ ป.ป.ร., ภ.ป.ร. และพระนามาภิไธยย่อ ส.ก. ประดิษฐานอยู่ที่ผนังโขดหินชั้นบนของน้ำตกโตนปลิว (๙) รถโดยสารประจำทาง (รถทัวร์) บริษัท ขนส่ง จำกัด มีบริการเดินรถกรุงเทพฯ – ตรัง ทุกวัน มีรถโดยสารประจำทาง (รถทัวร์) ออกที่สถานีขนส่งสายใต้ (ใหม่) ถนนบรมราชชนนี ไปถึงสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดตรังได้เลยครับ เมื่อมาถึงสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดตรังแล้ว หลังจากนั้นท่านผู้อ่านหรือท่านผู้ชมที่น่ารักทุกท่านสามารถใช้บริการรถโดยสารสาธารณะทั่วไปของจังหวัดตรัง เช่น รถยนต์รับจ้าง หรือรถแท็กซี่ (Taxi) บริการของจังหวัดตรัง รถตุ๊กตุ๊ก รถจักรยานยนต์รับจ้าง เป็นต้น เพื่อเดินทางไปถึงบริเวณน้ำตกชั้นที่ ๕ และชั้นที่ ๖ ของน้ำตกกะช่อง เรียกว่า "น้ำตกโตนปลิว" เมื่อเดินทางถึงน้ำตกกะช่องแล้ว ท่านผู้อ่านหรือท่านผู้ชมที่น่ารักทุกท่านก็มุ่งหน้าสู่สถานีพัฒนาและส่งเสริมการอนุรักษ์สัตว์ป่าเขาช่อง หลังจากนั้นจอดรถที่ลานจอดรถแล้ว ท่านผู้อ่านหรือท่านผู้ชมที่น่ารักทุกท่านสามารถก็สามารถเดินเท้าเข้าไปสู่น้ำตกโตนปลิวได้เลยครับ โดยจารึกพระปรมาภิไธยย่อ ป.ป.ร., ภ.ป.ร. และพระนามาภิไธยย่อ ส.ก. นั้นประดิษฐานอยู่ที่ผนังโขดหินชั้นบนของน้ำตกโตนปลิวครับ รายละเอียดเพิ่มเติมสอบถามได้ที่ โทร. 02-434-5557-8, 02-435-1199, 02-435-1200 หรือ www.transport.co.th/ รถไฟ การรถไฟแห่งประเทศไทย มีรถไฟมาถึงสถานีรถไฟตรัง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง เมื่อมาถึงสถานีรถไฟพัทลุงแล้ว หลังจากนั้นท่านผู้อ่านหรือท่านผู้ชมที่น่ารักทุกท่านสามารถใช้บริการรถโดยสารสาธารณะทั่วไปของจังหวัดตรัง เช่น รถยนต์รับจ้าง หรือรถแท็กซี่ (Taxi) บริการของจังหวัดตรัง รถตุ๊กตุ๊ก รถจักรยานยนต์รับจ้าง เป็นต้น เพื่อเดินทางไปถึงบริเวณน้ำตกชั้นที่ ๕ และชั้นที่ ๖ ของน้ำตกกะช่อง เรียกว่า "น้ำตกโตนปลิว" เมื่อเดินทางถึงน้ำตกกะช่องแล้ว ท่านผู้อ่านหรือท่านผู้ชมที่น่ารักทุกท่านก็มุ่งหน้าสู่สถานีพัฒนาและส่งเสริมการอนุรักษ์สัตว์ป่าเขาช่อง หลังจากนั้นจอดรถที่ลานจอดรถแล้ว ท่านผู้อ่านหรือท่านผู้ชมที่น่ารักทุกท่านสามารถก็สามารถเดินเท้าเข้าไปสู่น้ำตกโตนปลิวได้เลยครับ โดยจารึกพระปรมาภิไธยย่อ ป.ป.ร., ภ.ป.ร. และพระนามาภิไธยย่อ ส.ก. นั้นประดิษฐานอยู่ที่ผนังโขดหินชั้นบนของน้ำตกโตนปลิวครับ รายละเอียดเพิ่มเติมสอบถามได้ที่ โทร. 1690 และ 0-2220-4910 ถึง 11 หรือสถานีรถไฟตรัง โทร. 0 7529 0141 หรือ https://www.railway.co.th/ เครื่องบิน ท่านผู้อ่านหรือท่านผู้ชมที่น่ารักทุกท่านสามารถใช้บริการเที่ยวบินกรุงเทพฯ-ตรัง มาลงที่ท่าอากาศยานตรัง จังหวัดตรัง เมื่อมาถึงท่าอากาศยานตรังแล้ว หลังจากนั้นท่านผู้อ่านหรือท่านผู้ชมที่น่ารักทุกท่านสามารถใช้บริการรถโดยสารสาธารณะทั่วไปของจังหวัดตรัง เช่น รถยนต์รับจ้าง หรือรถแท็กซี่ (Taxi) บริการของจังหวัดตรัง รถตุ๊กตุ๊ก รถจักรยานยนต์รับจ้าง เป็นต้น เพื่อเดินทางไปถึงบริเวณน้ำตกชั้นที่ ๕ และชั้นที่ ๖ ของน้ำตกกะช่อง เรียกว่า "น้ำตกโตนปลิว" เมื่อเดินทางถึงน้ำตกกะช่องแล้ว ท่านผู้อ่านหรือท่านผู้ชมที่น่ารักทุกท่านก็มุ่งหน้าสู่สถานีพัฒนาและส่งเสริมการอนุรักษ์สัตว์ป่าเขาช่อง หลังจากนั้นจอดรถที่ลานจอดรถแล้ว ท่านผู้อ่านหรือท่านผู้ชมที่น่ารักทุกท่านสามารถก็สามารถเดินเท้าเข้าไปสู่น้ำตกโตนปลิวได้เลยครับ โดยจารึกพระปรมาภิไธยย่อ ป.ป.ร., ภ.ป.ร. และพระนามาภิไธยย่อ ส.ก. นั้นประดิษฐานอยู่ที่ผนังโขดหินชั้นบนของน้ำตกโตนปลิวครับ จากจารึกพระนามาภิไธยย่อ ส.ก. ที่น้ำตกกะช่อง ตำบลช่อง อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง พวกเราตามกันไปดูจารึกพระนามาภิไธย “สิริกิติ์” ในสถานที่ถัดไปกันได้เลยครับ คือ จารึกพระนามาภิไธย “สิริกิติ์” ณ น้ำตกปาโจ ในพื้นที่อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาสครับ ภาพที่ ๙ จารึกพระปรมาภิไธยย่อ ภ.ป.ร. ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (ในหลวงรัชกาลที่ ๙) และพระนามาภิไธยย่อ ส.ก. ของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง พร้อมกับลงวัน เดือน และปี : ๒๔ มี.ค. ๐๒ โดยตัวอักษรที่จารึกพระปรมาภิไธยย่อ ภ.ป.ร. และพระนามาภิไธย "สิริกิติ์" พร้อมกับลงวัน เดือน และปี : ๒๔ มี.ค. ๐๒ ทั้งหมดเป็นตัวอักษรสีทองประทับไว้บนก้อนหินใหญ่บนหน้าผาของน้ำตกปาโจ ซึ่งมองเห็นได้เด่นชัดในคราวนั้นด้วย นอกจากนี้ยังปรากฏพระนามาภิไธยของพระบรมวงศานุวงศ์พระองค์อื่น ๆ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ทั้งหมดเป็นตัวอักษรสีทองเช่นเดียวกันประทับไว้บนก้อนหินใหญ่บนหน้าผาของน้ำตกปาโจในพื้นที่อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาสด้วย ที่มาของภาพ : http://www2.narathiwat.go.th/ จารึกพระนามาภิไธย “สิริกิติ์” ณ น้ำตกปาโจ ในพื้นที่ อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส เกิดขึ้นเมื่อคราวพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (ในหลวงรัชกาลที่ ๙) และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงเสด็จมาแปรพระราชฐานที่พระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ที่จังหวัดนราธิวาสเป็นครั้งแรก และเสด็จประพาสน้ำตกปาโจในพื้นที่ อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส พร้อมทั้งทั้งสองพระองค์เสวยพระกระยาหารกลางวัน ณ พลับพลาที่ประทับน้ำตกปาโจแห่งนี้ด้วยครับ เมื่อวันอังคารที่ ๒๔ เดือนมีนาคม พุทธศักราช ๒๕๐๒ และทั้งสองพระองค์ได้ทรงจารึกพระปรมาภิไธยย่อ ภ.ป.ร. และพระนามาภิไธย "สิริกิติ์" พร้อมกับลงวัน เดือน และปี : ๒๔ มี.ค. ๐๒ โดยตัวอักษรที่จารึกพระปรมาภิไธยย่อ ภ.ป.ร. และพระนามาภิไธย "สิริกิติ์" พร้อมกับลงวัน เดือน และปี : ๒๔ มี.ค. ๐๒ ทั้งหมดเป็นตัวอักษรสีทองประทับไว้บนก้อนหินใหญ่บนหน้าผาของน้ำตกปาโจ ซึ่งพบเห็นได้เด่นชัดในคราวนั้นด้วยครับ (๑๐) ภาพที่ ๑๐ จารึกพระปรมาภิไธยย่อ ภ.ป.ร. ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (ในหลวงรัชกาลที่ ๙) และพระนามาภิไธยย่อ ส.ก. ของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง พร้อมกับลงวัน เดือน และปี : ๒๔ มี.ค. ๐๒ โดยตัวอักษรที่จารึกพระปรมาภิไธยย่อ ภ.ป.ร. และพระนามาภิไธย "สิริกิติ์" พร้อมกับลงวัน เดือน และปี : ๒๔ มี.ค. ๐๒ ทั้งหมดเป็นตัวอักษรสีทองประทับไว้บนก้อนหินใหญ่บนหน้าผาของน้ำตกปาโจ ซึ่งมองเห็นได้เด่นชัดในคราวนั้นด้วย นอกจากนี้ยังปรากฏพระนามาภิไธยของพระบรมวงศานุวงศ์พระองค์อื่น ๆ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ทั้งหมดเป็นตัวอักษรสีทองเช่นเดียวกันประทับไว้บนก้อนหินใหญ่บนหน้าผาของน้ำตกปาโจในพื้นที่อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาสด้วย ที่มาของภาพ : https://yala-patani-naratiwat.blogspot.com/ สถานที่ตั้งของน้ำตกปาโจ อุทยานแห่งชาติบูโด - สุไหงปาดีและรายละเอียดเพิ่มเติม น้ำตกปาโจ ตั้งอยู่ที่บ้านปาโจหมู่ที่ ๔ ตำบลบาเจาะ อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส โดยเป็นส่วนหนึ่งของอุทยานแห่งชาติบูโด - สุไหงปาดีที่ตั้งอยู่ที่เลขที่ ๖๗ ถนนพิพิธปาโจ อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส ๙๖๑๗๐ โทรศัพท์ : 0 7353 0406 E-mail : budo.sungaipadi@gmail.com ส่วนอัตราค่าบริการเข้าอุทยานแห่งชาติ ได้แก่ ชาวไทย : ผู้ใหญ่ ๒๐ บาท เด็ก ๑๐ บาท และชาวต่างชาติ : ผู้ใหญ่ ๑๐๐ บาท เด็ก ๕๐ บาทหมายเหตุ เมื่อชำระค่าบริการเข้าอุทยานแห่งชาติแล้วกรุณาพกบัตรค่าบริการติดตัว ขณะท่องเที่ยวในอุทยานแห่งชาติเพื่อการตรวจสอบ (๑๑) ช่วงเวลาที่น่าท่องเที่ยว : ตลอดปี ยกเว้นช่วงฤดูฝนที่มีฝนตกชุกและหนักมากระหว่างเดือนพฤษภาคม-ธันวาคม ซึ่งอาจทำให้เกิดอันตรายได้ วิธีการเดินทางไปท่องเที่ยว รถยนต์ จากกรุงเทพฯ ถึงอำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส ระยะทางประมาณ ๑,๑๒๒ กิโลเมตร โดยขับรถไปตามทางหลวงหมายเลข ๔๒ จากอำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส ถึงน้ำตกปาโจ อุทยานแห่งชาติบูโด - สุไหงปาดีในพื้นที่อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส ระยะทางประมาณ ๓ กิโลเมตรครับ (๑๒) รถโดยสารสาธารณะ (รถทัวร์) บริษัท ขนส่ง จำกัด มีบริการเดินรถกรุงเทพฯ – นราธิวาส ทุกวัน มีรถโดยสารประจำทาง (รถทัวร์) ออกที่สถานีขนส่งสายใต้ (ใหม่) ถนนบรมราชชนนี ไปถึงสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดนราธิวาสได้เลยครับ เมื่อมาถึงสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดนราธิวาสแล้ว หลังจากนั้นท่านผู้อ่านหรือท่านผู้ชมที่น่ารักทุกท่านสามารถใช้บริการรถโดยสารสาธารณะทั่วไปของจังหวัดนราธิวาส เช่น รถยนต์รับจ้าง หรือรถแท็กซี่ (Taxi) บริการของจังหวัดนราธิวาส เป็นต้น เพื่อเดินทางไปถึงน้ำตกปาโจ อุทยานแห่งชาติบูโด - สุไหงปาดีในพื้นที่อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส รายละเอียดเพิ่มเติมสอบถามได้ที่ โทร. 02-434-5557-8, 02-435-1199, 02-435-1200 หรือ www.transport.co.th/ ครับ รถไฟ การรถไฟแห่งประเทศไทย มีรถไฟมาถึงสถานีรถไฟตันหยงมัส อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส เมื่อมาถึงสถานีรถไฟตันหยงมัสแล้ว หลังจากนั้นท่านผู้อ่านหรือท่านผู้ชมที่น่ารักทุกท่านสามารถใช้บริการรถโดยสารสาธารณะทั่วไปของจังหวัดนราธิวาส เช่น รถยนต์รับจ้าง หรือรถแท็กซี่ (Taxi) บริการของจังหวัดนราธิวาส เป็นต้น เพื่อเดินทางไปถึงน้ำตกปาโจ อุทยานแห่งชาติบูโด - สุไหงปาดีในพื้นที่อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส โดยระยะทางจากสถานีรถไฟตันหยังมัสถึงน้ำตกปาโจ อุทยานแห่งชาติบูโด - สุไหงปาดีในพื้นที่อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส ประมาณ ๓๐ กิโลเมตร (๑๓) รายละเอียดเพิ่มเติมสอบถามได้ที่ โทร. 1690 และ 0-2220-4910 ถึง 11 หรือสถานีรถไฟตันหยงมัส โทร. 0 7367 1191 หรือ https://www.railway.co.th/ ครับ เครื่องบิน ท่านผู้อ่านหรือท่านผู้ชมที่น่ารักทุกท่านสามารถใช้บริการเที่ยวบินกรุงเทพฯ - นราธิวาส มาลงที่ท่าอากาศยานนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส เมื่อมาถึงท่าอากาศยานนราธิวาสแล้ว หลังจากนั้นท่านผู้อ่านหรือท่านผู้ชมที่น่ารักทุกท่านสามารถใช้บริการรถโดยสารสาธารณะทั่วไปของจังหวัดนราธิวาส เช่น รถยนต์รับจ้าง หรือรถแท็กซี่ (Taxi) บริการของจังหวัดนราธิวาส เป็นต้น เพื่อเดินทางไปถึงน้ำตกปาโจ อุทยานแห่งชาติบูโด - สุไหงปาดีในพื้นที่อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส โดยระยะทางจากท่าอากาศยานนราธิวาส (สนามบินบ้านทอน) ตำบลโคกเคียน อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส ถึงน้ำตกปาโจ อุทยานแห่งชาติบูโด - สุไหงปาดีในพื้นที่อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาสประมาณ ๑๖ กิโลเมตร (๑๔) ครับ สุดท้ายนี้ ผู้เขียนก็ขอจบการเที่ยวทิพย์ – นำชมจารึกพระนามาภิไธยย่อ ส.ก. เนื่องในโอกาสวันแม่แห่งชาติ : ท่องเที่ยวตามรอยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ไว้เพียงเท่านี้ ขอให้ท่านผู้อ่านหรือผู้ชมที่น่ารักทุกท่านมีความสุขกับการพาแม่ไปเที่ยวและทำกิจกรรมร่วมกันในวันแม่แห่งชาติอย่างมีความสุขกันนะครับ ขอบพระคุณท่านผู้อ่านหรือผู้ชมที่น่ารักทุกท่านครับ แล้วพบกันใหม่ในบทความอื่น ๆ ในครั้งถัดไป ขอบคุณครับ :) See you again (: เชิงอรรถอ้างอิง (๑) สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง, วันแม่แห่งชาติ 12 สิงหาคม, เข้าถึงเมื่อ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๖๔, เข้าถึงได้จาก https://www.lib.ru.ac.th/ (๒) เอราวัณภาพยนตร์, ผู้กำกับ, เสด็จประพาสภาคใต้ : ภาพยนตร์บันทึกประวัติศาสตร์การเสด็จฯ เยี่ยมราษฎรจังหวัดต่าง ๆ ทางภาคใต้อย่างเป็นทางการครั้งแรกของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ [ภาพยนตร์], กรุงเทพฯ : เอราวัณภาพยนตร์, ๒๕๐๒. (๓) สำนักงานจังหวัดพัทลุง, การเดินทางไปจังหวัดพัทลุง, เข้าถึงเมื่อ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๖๔, เข้าถึงได้จาก http://www.phatthalung.go.th/ (๔) เรื่องเดียวกัน. (๕) เรื่องเดียวกัน. (๖) เรื่องเดียวกัน. (๗) ทนงศักดิ์ เลิศพิพัฒน์วรกุล, พระปรมาภิไธยย่อ ปปร., ภปร. และพระนามาภิไธยย่อ สก. น้ำตกกะช่อง (น้ำตกโตนปลิว) จังหวัดตรัง, เข้าถึงเมื่อ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๖๔, เข้าถึงได้จาก https://www.sac.or.th/ (๘) ตรังโซน : ชุมชนคนตรังออนไลน์, การเดินทางมายังตรัง, เข้าถึงเมื่อ ๑๓ สิงหาคม ๒๕๖๔, เข้าถึงได้จาก http://www.trangzone.com/ (๙) ทนงศักดิ์ เลิศพิพัฒน์วรกุล, พระปรมาภิไธยย่อ ปปร., ภปร. และพระนามาภิไธยย่อ สก. น้ำตกกะช่อง (น้ำตกโตนปลิว) จังหวัดตรัง. (๑๐) เอราวัณภาพยนตร์, ผู้กำกับ, เสด็จประพาสภาคใต้ : ภาพยนตร์บันทึกประวัติศาสตร์การเสด็จฯ เยี่ยมราษฎรจังหวัดต่าง ๆ ทางภาคใต้อย่างเป็นทางการครั้งแรกของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ [ภาพยนตร์]. (๑๑) กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช, บูโด-สุไหงปาดี (Budo - Su-Ngai Padi), เข้าถึงเมื่อ ๑๓ สิงหาคม ๒๕๖๔, เข้าถึงได้จาก http://park.dnp.go.th/ (๑๒) เรื่องเดียวกัน. (๑๓) เรื่องเดียวกัน. บรรณานุกรม กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. บูโด-สุไหงปาดี (Budo - Su-Ngai Padi). เข้าถึงเมื่อ ๑๓ สิงหาคม ๒๕๖๔. เข้าถึงได้จาก http://park.dnp.go.th/ ตรังโซน : ชุมชนคนตรังออนไลน์. การเดินทางมายังตรัง. เข้าถึงเมื่อ ๑๓ สิงหาคม ๒๕๖๔. เข้าถึงได้จาก http://www.trangzone.com/ ทนงศักดิ์ เลิศพิพัฒน์วรกุล. พระปรมาภิไธยย่อ ปปร., ภปร. และพระนามาภิไธยย่อ สก. ณ น้ำตกกะช่อง (น้ำตกโตนปลิว : บริเวณน้ำตกชั้นที่ ๕ และชั้นที่ ๖ ของน้ำตกกะช่อง) จังหวัดตรัง. เข้าถึงเมื่อ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๖๔. เข้าถึงได้จาก https://www.sac.or.th/ ปัตตานีบ้านฉัน. “น้ำตกปาโจ” ความสวยงามที่สัมผัสได้…. เข้าถึงเมื่อ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๖๔. เข้าถึงได้จาก https://yala-patani-naratiwat.blogspot.com/ สำนักงานจังหวัดพัทลุง. การเดินทางไปจังหวัดพัทลุง. เข้าถึงเมื่อ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๖๔. เข้าถึงได้จาก http://www.phatthalung.go.th/ สำนักงานจังหวัดนราธิวาส. น้ำตกปาโจ. เข้าถึงเมื่อ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๖๔. เข้าถึงได้จาก http://www2.narathiwat.go.th/ สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง. วันแม่แห่งชาติ 12 สิงหาคม. เข้าถึงเมื่อ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๖๔. เข้าถึงได้จาก https://www.lib.ru.ac.th/ เอราวัณภาพยนตร์, ผู้กำกับ. เสด็จประพาสภาคใต้ : ภาพยนตร์บันทึกประวัติศาสตร์การเสด็จฯ เยี่ยมราษฎรจังหวัดต่าง ๆ ทางภาคใต้อย่างเป็นทางการครั้งแรกของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ [ภาพยนตร์]. กรุงเทพฯ : เอราวัณภาพยนตร์, ๒๕๐๒. อัปเดตบทความท่องเที่ยวตามสถานที่อันหลากหลาย โหลดเลยที่ App TrueID ฟรี !