สวัสดีครับนักเที่ยวสายบุญทั้งหลายวันนี้ผู้เขียนมีเรื่องวัด ๆ มานำเสนออีกแล้วครับท่าน...วัดที่ว่านี้เป็นวัดที่อยู่ถนนสายเดียวกับทางขึ้นดอยอ่างขางครับ....ใช่ครับถ้าพูดถึงดอยอ่างขางนี้ผู้เขียนว่าทุกท่านต้องพูดเสียงเดียวกันว่า....อ่อ...แน่นอนใช่หรือไม่ครับ วัดที่ว่านี้มีความโดดเด่นอย่างไรหรือมีความสวยงาม แปลกพิเศษกว่าวัดอื่น ๆ อย่างไรมาดูกันครับ วัดที่ว่านี้คือ “วัดแม่งอน” ตั้งอยู่ ตำบลแม่งอน อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ครับการเดินทางสะดวกสบายโดยไม่ไกลจากถนนสายหลัก (เชียงใหม่-ฝาง 107) โดยเมื่อมาตามถนนสาย 107 เลี้ยวเข้าทางเดียวกันกับทางขึ้นดอยอ่างขางครับหาไม่ยากขับตรงมาเรื่อย ๆ จะพบกับสิ่งที่สะดุดตาสิ่งแรก และอีกหมายสิ่งครัมมาดูกันครับว่ามีอะไรบ้าง จุดที่หนึ่ง ก่อนที่ท่านจะเข้าไปยังบริเวณวัดท่านจะพบกับพระพุทธรูปองค์สีทององค์ใหญ่ ปางมารวิชัยหรืออาจจะเรียกว่าปางสะดุ้งมารก็ได้ มีนามว่าพระฝางครับตั้งประดิษฐานสูงเด่นสง่า ฝั่งซ้ายจะมีพระอุปคุตอยู่ด่านล่าง ตรงกลางจะมีพระสีวลี และทางด้านขวามือจะมีราหูองค์สีทองอยู่สำหรับพระฝางนี้เป็นพระพุทธรูปสัมฤทธิ์ทั้งองค์เป็นศิลปะล้านนาโดยฝีมือช่างหล่อหลวงยุคล้านนาตอนต้นที่เดินทางมาจากเมืองเชียงรุ้งสิบสองปันนาในสมัยพระเจ้าพรหมมหาราชที่ปกครองเมืองไชยปราการประมาณ พ.ศ.923 (ตามประวัติที่ผู้เขียนทราบ) พระฝางนี้จึงเป็นที่เคารพนับถือเป็นอย่างมากเพราะท่านมีความศักดิ์สิทธิ์หากผู้ใดได้กราบไหว้ สักการะ ขอพร ผู้เขียนรับรองว่าสมหวังแน่นอน.... จุดที่สอง เมื่อเข้ามายังบริเวณวัดสิ่งแรกที่สะดุดตาอีกจุดหนึ่งคือพระพิฆเนศองค์สีดำ ซึ่งความเชื่อของผู้ที่นับถือพระพิฆเนศนี้เชื่อกันว่าท่านเป็นเทพเจ้าผู้ประทานความอุดมสมบูรณ์ เป็นเทพเจ้าแห่งศิลปะวิทยาประทานความอยู่ดี กินดี หากใครสักการะขอพรจะมีแต่ความสุข พบแต่ความเจริญ (มีคนแอบกระซิบมาว่าหากมาขอพอแล้วสมปรารถนาให้นำอ้อย กล้วย น้ำแดงมาถวาย) จุดที่สาม พระอุโบสถที่ทางวัดใช้ประกอบสังฆกรรม เช่น อุปสมบท สวดปาฏิโมกข์ เป็นต้นแต่สิ่งที่น่าสนใจคือ หน้าพรอุโบสถครับจะมีรูปปั้นฤษีดัดตนท่าต่าง ๆ ที่สอนท่าต่าง ๆ พร้อมมีคำอธิบายเป็นตัวอักษรด้านล่างดูแล้วแปลกดีแต่ก็มีความลงตัวอยู่ในความแปลกที่ผู้เขียนว่าแปลกนี้คือ หน้าพระอุโบสถเท่าที่เคยเห็นไม่น่าจะมีรูปปั้นอะไรเหล่านี้อยู่ นอกจากรูปปั้นพญานาค รูปปั้นตัวมอม นกหัสดีลิงค์ เป็นต้น จึงดูแปลกตาดี หากมีโอกาสลองแวะเข้ามาชมได้นะครับ จุดที่สี่ พระเจดีย์ทอง พระเจดีย์ทองนี้จะประดิษฐานอยู่ด้านหลังพระอุโบสถ และพระวิหาร พระเจดีย์ทองนี้เป็นพระเจดีย์สีทองทั้งองค์ด้านบนจะเป็นทรงระฆังคว่ำ และปลายยอดสุดจะมีฉัตรสีทองประดับตกแต่งสวยงามมาก ถัดมาบริเวณด้านข้างพระวิหารจะมีองค์พระเจดีย์/พระธาตุ จำลอง 12 นักษัตร (เจดีย์ประจำปีเกิด) หากท่านมาแล้วอย่าลืมนะครับใครเกิดปีนักษัตรใดลองหาดูแล้วกราบตามปีนักษัตรนั่น ๆ ของตน (ไม่จำเป็นต้องไปสถานที่จริงก็ได้....) จุดที่ห้า ช้างพลายมงคล เป็นรูปปั้นช้างสีดำงาสีขาวตัวใหญ่ที่ทางวัดได้ปั้นไว้ให้ผู้ที่เข้ามาในวัดได้สักการะเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิตตัวเอง และครอบครัว มาถถึงตรงนี้ผู้เขียนนึกขึ้นได้ถึงช้างในพุทธประวัติเชือกหนึ่งชื่อว่าช้าง ปาเลไลยกะ เป็นช้างที่อาศัยอยู่ในป่าเลไลยก์ (ตามประวัติที่พระพุทธเจ้าเสด็จไปอยู่ป่าเป็นที่มาของพระพุทธรูปปางป่าเลไลยก์) พุทธศาสนิกชนจึงมีความเชื่อว่าช้างเป็นสัตว์ที่เกี่ยวกับการสั่งสมบารมีของพระพุทธเจ้าจึงเชื่อว่าเป็นสัตว์มงคล แม้กระทั่งพาหนะของพระอินทร์ยังเป็นช้างที่มีนามว่า เอราวัณ เป็นต้น กลองใหญ่ที่ใช้ในการตีแข่งขันในช่วงที่เมีเทศกาลเฉลิมฉลอง เช่น งานปอยหลวง งานบุญต่าง ๆ เป็นต้น... บรรยากาศบริเวณวัด..... บริเวณด้านข้างติดกำแพงวัดจะมีการนำพระพุทธรูปองค์ใหญ่ตั้งประดิษฐานอยู่เท่าที่ผู้เขียนเห็นและรู้จักจะมีพระสิบสอง พระลือ พระยอดขุนพล เป็นต้น ดูแล้วสวยงาม และมีเสน่ห์ไปอีกแบบตรงจุดนี้นักท่องเที่ยวสามารถเข้าชม และกราบสักการะขอพรได้ เห็นหรือไม่ครับดูแล้วเริ่มสนใจแล้วหละซิ....มากันนะครับอย่าพลาดเชียวหละ....หากพลาดแล้วจะเสียใจ มากันให้ได้นะครับ...สำหรับวันนี้เท่านี้ก่อนน้า...สวัสดีครับ... เครดิตภาพทั้งหมดจากผู้เขียน (ดร.อาบแสงจันทร์ ต.)