เมืองนครราชสีมาเป็นเมืองที่มีปราสาทหินกระจายอยู่ตามจุดต่าง ๆ ปราสาทเล็กบ้างใหญ่บ้างก็ขึ้นอยู่กับพื้นที่นั้น ๆ ว่า มีความสำคัญมากน้อยแค่ไหนในสมัยอดีต หรือท้องที่นั้นเป็นชุมชนที่มีขนาดใหญ่หรือเล็กมาแค่ไหน จุดประสงของการสร้างปราสาทก็เพื่อให้เป็นศาสนาสถาน ไม่ว่าจะเป็นปราสาทประจำรัชการ หรือปราสาทที่ใช้เป็นศาสนสถานประจำชุชน ใช้เป็นสื่อในการแสดงสัญลักษณ์ถึงพระราชอำนาจแสดงถึงการขยายอาณาเขตการปกครง ใช้เป็นโรงพยาบาลเพื่อรักษาโลก หรือแม้กระทั่งใช่เป็นศาลาที่พักคนเดินทาง เหล่านี้เป็นต้น ปราสาททุกหลังที่สร้างขึ้นไม่เฉพาะเจาะจงว่าจะอยู่ในเขตจังหวัดนครราชสีมา ทุกปราสาทจะเป็นเส้นทางที่เชื่อมถึงกันแล้วตรงไปยังศูนย์กลางในประเทศกัมพูชา ยุคที่มีการสร้างปราสาทมากที่สุดคือในช่วงพุทธศตวรรษที่ 18 สมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เพราะพระองค์ได้ทรงสร้างอโรคยาศาลาถึง 102 แห่ง และธรรมศาลาหรือที่พักคนเดินทางถึง 121 แห่ง กระจายอยู่ทั้งในเขตประเทศไทยและในประเทศกัมพูชา ในเขตเมืองนครราชสีมาก็เป็นหนึ่งเส้นทางสู่เมืองพระนครหลวงของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ช่วงพุทธศตวรรษที่ 18 ด้วยเหตุนี้ปราสาทสมัยอาณาจักรเขมรจึงมีอยู่ประปรายตามท้องที่ของเมืองนครราชสีมาเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะธรรมศาลาหรือที่พักคนเดินทางจะพบเห็นได้ตามเขตชนบท ธรรมศาลาหรือที่พักคนเดินทางที่พอจะสมบูรณ์ที่สุดคือ "ปราสาทห้วยแคน" อยู่ที่ ตำบลห้วยแคน อำเภอห้วยแถลง จักหวัดนครราชสีมา ปราสาทหลังนี้เป็นปราสาทที่มีขนาดย่อม ใช้ศิลาแลงเป็นวัสดุหลักในการก่อสร้างตัวปราสาท โดยการก่อขึ้นไปเป็นชั้น ๆ และ มีหน้าต่าง มีประตูทางเข้าทางเดียวอยู่ทางทิศตะวันออก ส่วนด้านเหนือก่อเป็นผนังทึบ ส่วนหินทรายใช้สร้างเป็นส่วนกรอบประตูทางด้านซ้ายและด้านขวาเพื่อแกะสลักลวดลาย ลักษณะผังของปราสาทเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า หันหน้าไปทางทิศตะวันออกเข้าหาเมืองพระนครหลวงที่กัมพูชา ปราสาทห้วยแคนหรือธรรมศาลาที่สร้างขึ้นในพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 สร้างไว้ให้เป็นที่พักคนเดินทาง เป็นการปกครองตามแนวทางพระพุทธศาสนาแบบมหายานที่เอื้อเฟื้อแก่มนุษย์ จึงทำให้พระองค์ได้รับความนับถือจากผู้คนมาจนถึงสมัยปัจจุบัน และหลักฐานทางประวัติศาสตร์ยังได้หลงเหลือมาจนถึงปัจจุบันให้ได้ศึกษากันในหลายแง่มุม อีกทั้งยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวของชุมชนเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจในท้องถิ่นได้อีกทางหนึ่ง หากท่านใดต้องการจะไปเที่ยวชม สามารถไปได้ที่อำเภอห้วยเเถลง ที่สำคัญเข้าชมฟรีครับ ภาพถ่ายโดย พงศธร อิ่มอุดม ผู้เขียนบทความ