รีเซต

รวมรอยเลื่อนในประเทศไทย ที่ทำให้เกิด แผ่นดินไหว และ รอยเลื่อนประเทศเพื่อนบ้าน

รวมรอยเลื่อนในประเทศไทย ที่ทำให้เกิด แผ่นดินไหว และ รอยเลื่อนประเทศเพื่อนบ้าน
เอิงเอย
31 มีนาคม 2568 ( 12:15 )
112

      หลังเหตุการณ์ แผ่นดินไหว วันที่ 28 มีนาคม 2568 ขนาด 8.2 ลึก 10 กม. ที่ ประเทศเมียนมา จาก รอยเลื่อนสะกาย ส่งผลกระทบรุนแรงถึงประเทศไทย บริเวณภาคเหนือ ภาคกลาง รวมถึงกรุงเทพฯ วันนี้เราเลยมารวบรวม รอยเลื่อนในประเทศไทย และ รอยเลื่อนในประเทศเพื่อนบ้าน ที่อาจทำให้เกิด แผ่นดินไหวในอนาคตขึ้นอีก มีที่ไหนบ้าง จะได้เตรียมรับมือทัน มาดูกันค่ะ

รอยเลื่อนในประเทศไทย และ รอยเลื่อนในประเทศเพื่อนบ้าน

 

รอยเลื่อน คืออะไร

      รอยเลื่อน (Fault) เป็นโครงสร้างธรณีวิทยาที่เกิดจากการเคลื่อนตัวของแผ่นเปลือกโลก ซึ่งอาจทำให้เกิดแผ่นดินไหวได้ รอยเลื่อนในประเทศไทย และประเทศเพื่อนบ้านมีหลายแนว โดยสามารถแบ่งออกเป็น 

  • รอยเลื่อนมีพลัง (Active Fault)
  • รอยเลื่อนไม่มีพลัง (Inactive Fault) 

       ซึ่งรอยเลื่อนที่มีพลังนั้น เป็นปัจจัยสำคัญต่อการ เกิดแผ่นดินไหว

 

รอยเลื่อนในประเทศไทย

      กรมทรัพยากรธรณีได้สำรวจ และระบุรอยเลื่อนที่มีพลังในประเทศไทยไว้ทั้งหมด 16 แนว ได้แก่

รอยเลื่อนจังหวัด
รอยเลื่อนแม่จันจังหวัดเชียงราย จังหวัดเชียงใหม่
รอยเลื่อนแม่อิงจังหวัดเชียงราย
รอยเลื่อนแม่ฮ่องสอนจังหวัดแม่ฮ่องสอน จังหวัดตาก
รอยเลื่อนเมยจังหวัดตาก จังหวัดกำแพงเพชร
รอยเลื่อนแม่ทาจังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดลำพูน จังหวัดเชียงราย
รอยเลื่อนเถินจังหวัดลำปาง จังหวัดแพร่
รอยเลื่อนพะเยาจังหวัดพะเยา จังหวัดเชียงราย จังหวัดลำปาง
รอยเลื่อนปัวจังหวัดน่าน
รอยเลื่อนอุตรดิตถ์จังหวัดอุตรดิตถ์
รอยเลื่อนเจดีย์สามองค์จังหวัดกาญจนบุรี
รอยเลื่อนศรีสวัสดิ์จังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดกำแพงเพชร จำหวัดตาก จังหวัดอุทัยธานี จังหวัดสพรรณบุรี
รอยเลื่อนระนองจังหวัดระนอง จังหวัดชุมพร จังหวัดพังงา จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
รอยเลื่อนคลองมะรุ่ยจังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดพังงา จังหวัดกระบี่ จังหวัดภูเก็ต
รอยเลื่อนเพชรบูรณ์จังหวัดเพชรบูรณ์ จังหวัดเลย
รอยแม่ลาวจังหวัดเชียงราย
รอยเลื่อนเวียงแหงจังหวัดเชียงใหม่

* ข้อมูลอ้างอิงจาก กรมทรัพยากรธรณี

      รอยเลื่อนที่มีพลังเหล่านี้บางแนวเคยทำให้เกิดแผ่นดินไหวในอดีต และอาจส่งผลต่อการเกิดแผ่นดินไหวในอนาคตด้วยเช่นกัน

 

 

รอยเลื่อนในประเทศเพื่อนบ้าน

1. รอยเลื่อนสะกาย (Sagaing Fault) ประเทศเมียนมา

      รอยเลื่อนสะกาย เป็นรอยเลื่อนตามแนวระดับขนาดใหญ่ มีพลังที่สำคัญและใหญ่ที่สุดในประเทศเมียนมาวางตัวในแนวเหนือ-ใต้ พาดผ่านเมืองสำคัญ เช่น มิตจีนา มัณฑะเลย์ ตองยี เนปิดอว์ พะโค และ ย่างกุ้ง มีความยาวประมาณ 1,200 กิโลเมตร และเคยเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่หลายครั้ง 

      รอยเลื่อนนี้เป็นรอยต่อระหว่าง แผ่นเปลือกโลกซุนดา และ แผ่นเปลือกโลกพม่า ซึ่งปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ แผ่นเปลือกโลกยูเรเซีย การเคลื่อนที่ของ แผ่นเปลือกโลกอินเดีย ที่ชนและมุดตัวลงใต้แผ่นเปลือกโลกยูเรเซีย ทำให้รอยเลื่อนสะกายเกิดการเคลื่อนตัวในลักษณะเลื่อนเหลื่อมข้างแบบขวาเข้า ด้วยอัตราประมาณ 18 มิลลิเมตรต่อปี

2. กลุ่มรอยเลื่อนเมืองหงสา สปป.ลาว

       กลุ่มรอยเลื่อนเมืองหงสา เป็นรอยเลื่อนที่มีการวางตัวในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ ในรูปแบบเลื่อนตัวตามแนวระนาบเหลื่อมซ้าย

       การเคลื่อนไหวของกลุ่มรอยเลื่อนเมืองหงสานี้ส่งผลกระทบต่อพื้นที่ใกล้เคียง รวมถึงประเทศไทย โดยเฉพาะจังหวัดน่าน และพื้นที่ภาคเหนือ

 

 

3. รอยเลื่อนบ้านศาลา สปป.ลาว

      รอยเลื่อนบ้านศาลา ใน สปป.ลาว เป็นรอยเลื่อนซึ่งวางตัวในแนวเหนือลงใต้ 50 กิโลเมตร ซึ่งถือเป็นรอยเลื่อนที่ขนานกับรอยเลื่อนปัวของไทย รอยเลื่อนนี้เคยเกิดแผ่นดินไหวขนาด 5.8 เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2564 ซึ่งส่งผลกระทบต่อหลายจังหวัดในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย

 

4. รอยเลื่อนเดียนเบียนฟู (Dian Bian Phu Fault) ประเทศเวียดนาม

      รอยเลื่อนเดียนเบียนฟู ในประเทศเวียดนาม พาดผ่านบริเวณภาคเหนือของเวียดนาม และอาจมีผลกระทบต่อพื้นที่ใกล้เคียงในลาวและไทย รอยเลื่อนนี้เคยเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ในอดีต 

      รอยเลื่อนนี้มีความยาวมากกว่า 150 กิโลเมตร เริ่มจาก ยูนนาน ผ่านเวียดนาม ไปลาว และต่อเนื่องลงมาทางใต้มาถึงไทย แล้วกลายเป็นกลุ่มรอยเลื่อนอุตรดิตถ์ หรืออีกรอยเลื่อนหนึ่งที่ถูกปกปิดไว้โดยแนวมุดตัวน่าน-อุตรดิตถ์

=============