1,200 กิโลเมตร โดยประมาณ จากสถานีรถไฟกรุงเทพฯ สุดสายปลายทางสถานีรถไฟสุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส หากโดยสารรถไฟจะสังเกตเห็นว่าข้างทางรถไฟมีเสาเหล็กสีเดียวกับรางปักเป็นลักษณะเสาไฟฟ้าอยู่ตลอดทาง ข้างเสาเล็ก ๆ เหล่านี้ มีเลขพ่นสีขาวกำกับทุกต้น เลขเหล่านี้คือ ระยะทางจากสถานีต้นทางวิ่งไปเรื่อย ๆ หากเทียบกับถนนหลวง ก็ประมาณเสาหลักกิโลเมตรนั่นเอง ภาพโดยผู้เขียน ภาพโดยผู้เขียน จากทั้งหมด 1,200 กิโลเมตร ที่สถานีโคกโพธิ์หรือสถานีรถไฟปัตตานี เป็นระยะที่ 1,000 กิโลเมตรพอดี โคกโพธิ์ คือ อำเภอหนึ่งของจังหวัดปัตตานี ส่วนตัวปัตตานีเอง ไม่มีสถานีรถไฟ ใครที่เดินทางโดยรถไฟจะไปตัวเมือง ต้องลงที่สถานีนี้แล้วต่อรถสองแถวเข้าไป (กรณีที่ไม่มีญาติขับรถมารับ) ด้วยเหตุนี้สถานีโคกโพธิ์จึงเป็นที่เข้าใจว่าคือจุดลงรถเข้าเมืองปัตตานี นานวันเข้า สถานีโคกโพธิ์ จึงถูกเปลี่ยนเป็นสถานีปัตตานี ภาพโดยผู้เขียน ภาพโดยผู้เขียน เพราะชื่อเรียกซ้อนกัน บางคนเรียกสถานีโคกโพธิ์ บางคนเรียกสถานีปัตตานี จึงเกิดเหตุการณ์ว่า คนต่างถิ่นหรือนักเดินทางที่ไม่คุ้นเส้นทางมักหลงบ่อย ๆ เพราะดันไปถามเจ้าถิ่นที่เรียกสถานีโคกโพธิ์ว่า “สถานีหน้า คืออะไร” คำตอบที่ได้จึงเป็นโคกโพธิ์ ขาจรก็ไม่ลงสิ เพราะตัวเองจะลงสถานีปัตตานี ปรากฏว่า เลย ก็ยิ้มอ่อนกันไป อ.โคกโพธิ์ ห่างจากเมืองปัตตานีประมาณ 25 กิโลเมตร จริงๆ แล้วมีสถานีที่ระยะห่างใกล้เคียงกัน คือ สถานีนาประดู่ คือ 28 กิโลเมตร แต่อย่างว่า นาประดู่เป็นเพียงตำบล รถไฟเก่าทางด้านหน้าสถานี ภาพโดยผู้เขียน ภาพโดยผู้เขียน ความสำคัญของโคกโพธิ์ ไม่ใช่เพียงตั้งอยู่ตรงตำแหน่งเก๋ ๆ อย่างกิโลเมตรที่ 1,000 แต่เหตุการณ์ประวัติศาสตร์อันน่าจดจำและประทับใจหลายอย่างเกิดที่นี่ เช่น ปี พ.ศ. 2472 ในหลวงรัชกาลที่ 7 ทรงเสด็จมาทอดพระเนตรสุริยุปราคา ณ ตำแหน่งด้านหลังสถานีโคกโพธิ์ ปัจจุบันพลับพลาที่เสด็จก็ยังคงอยู่ สามารถเข้าชมได้ นอกจากนี้ อ.โคกโพธิ์ ยังมีสถานที่สำคัญอีกหลายแห่ง ตามคำขวัญ ศูนย์บริหารราชการงามสง่า บารมีหลวงปู่ทวดวัดช้างให้ เมืองผลไม้ดก น้ำตกทรายขาว วันเสาร์ตลาดนัดใหญ่ ศูนย์ฝึกอาชีพเลื่องลือไกล อนุรักษ์ประเพณีไทยงานชักพระ พลับพลา ภาพจาก ปัตตานีบ้านฉัน ภาพจาก ปัตตานีบ้านฉัน จะเห็นว่า มีวัด และประเพณีสำคัญเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาอยู่ในคำขวัญด้วย ทั้ง ๆ ที่หากเอ่ยถึง จ.ปัตตานี หลายคนอาจมองว่ามีชาวพุทธอาศัยอยู่น้อย ความจริงก็เป็นเช่นนั้น เพราะสามจังหวัดขายแดนภาคใต้มีประชากรที่นับถือศาสนาอิสลามอยู่ถึง 80% แต่ไม่ได้หมายความว่าศาสนาอื่น ๆ จะไม่มีความสำคัญ ทุก ๆ ที่ล้วนประสมกัน หรือมีอยู่ในโซนต่างกัน แต่รวม ๆ คืออยู่รวมกันอย่างลงตัว ตามภาพตัวอย่างวิถีชาวบ้านกับการโดยสารรถไฟ ณ สถานีโคกโพธิ์ที่นำมาฝากนี้ ภาพโดยผู้เขียน ภาพโดยผู้เขียน ภาพโดยผู้เขียน ภาพโดยผู้เขียน ภาพโดยผู้เขียน