จวงล่าง 《庄浪县》ตอนที่2 วันที่สองพวกเราตื่นนอนกันตั้งแต่เช้าเพื่อเข้าไปเยี่ยมชมการทำการเกษตรของชาวท้องถิ่นว่ามีการปลูกพืชทำไร่กันอย่างไร ขณะนั่งรถบัสไปดูพื้นที่เกษตรกรรมของชาวบ้าน พวกเราได้สอบถามถึงที่มาที่ไปของการทำเกษตรแบบขั้นบันได (梯田)ซี่งเป็นรูปแบบที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในเมืองนี้ ซึ่งมัคคุเทศก์ได้เล่าว่าเนื่องจากที่แห่งนี้เป็นพื้นที่ที่มีภูเขาเยอะพื้นที่ไม่ราบเรียบ (不平地)จึงไม่ใช่เรื่องในการทำการเกษตรทุกชนิด แต่ทำไมที่นี่ถึงได้ขึ้นชื่อว่าเป็นเมืองเกษตรกรรมขนาดใหญ่ของจีนอีกเมืองหนึ่ง ทั้งนี้อาชีพของคนที่นี่ส่วนใหญ่คือเกษตรกร และที่น่าสงสัยคือทำไมพื้นที่ที่โอบล้อมไปด้วยชายเขาแบบนี้นั้นสามารถสร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้กับคนนับร้อยนับพันในเมืองชนบทแห่งนี้ได้ มัคคุเทศก์กล่าวต่อว่าเมื่อก่อนคนท้องถิ่นประสบปัญหาความยากจนอย่างสาหัส (贫穷问题)มาเป็นระยะเวลายาวนานพืชผลการเกษตรไม่เพียงพอต่อการเลี้ยงชีพ (温饱问题)ดังนั้นรัฐบาลจึงมีนโยบายโอบอุ้มเกษตรกร โดยการให้เงินลงทุน (政府帮扶)สร้างบ้านพัก(政策性住房)โดยมีที่นาทำกินเพื่อเป็นการลงทุนระยาวในการเกษตร จึงไม่แปลกใจเลยที่ตลอดแนวของการเดินทางจะเห็นรูปทรงการออกแบบบ้านในลักษณะเดียวกันตลอดแนว พร้อมพื้นที่ปลูกผลผลิตการเกษตรภายในบริเวณบ้าน อย่างไรก็ตามการปลูกผลผลิตในพื้นที่รอบบ้านนั้นจะสามารถทำให้คนในท้องถิ่นหลุดพ้นปัญหาความยากจนได้จริงหรือ คำตอบที่เราได้รับเมื่อเราได้มุ่งหน้าสู่การทำนาแบบขั้นบันได(梯田)ของชาวบ้านที่นี่ทำให้พวกเราประหลาดใจมาก เนื่องจากนาแบบขั้นบันไดนี้คือการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการปลูกผลผลิตทางการเกษตรแบบขั้นบันได้เพื่อเพิ่มยอดผลผลิตในการขาย ทั้งยังแปรเปลี่ยนเป็นรายได้หลักจุนเจือครอบครัวได้อีกด้วย แต่ทว่าการสลัดให้หลุดพ้นต่อความยากจน (脱贫致富)ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะปัญหาความยากจนนั้นได้หยั่งรากลึกมานานในเขตชนบทอย่างจวงล่างนี้ ปัญหาการอพยพไปยังพื้นที่เมืองเพื่อทำงานทางด้านอุตสหกรรมของคนหนุ่มสาวนั้นมากขึ้นเรื่อย ๆ การย้ายถิ่นฐานเพื่อหลีกหนีความยากจนนั้นเกิดขึ้นแทบจะทุกที่ทั่วโลก เราทุกคนล้วนอยากมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น แต่การอพยพไปยังเขตเมืองของคนในจวงล่างนั้นน่าเห็นใจตรงที่ประเทศจีนนั้นมีขนาดใหญ่เกินกว่าจะกลับบ้านได้ทุกสุดสัปดาห์หรือทุกเทศกาลสำคัญ(节日)เพื่อมาดูแลครอบครัวหรืออยู่พร้อมหน้าเพื่อใช้ชีวิตดูแลลูกที่ตนฝากไว้กับพ่อแม่ที่นับวันจะยิ่งแก่เฒ่าลง ดังนั้นการหลีกหนีปัญหาความยากจนนี้ กลับสร้างปัญหาใหม่และผลิตผลลัพธ์ซ้ำ ๆ ซึ่งมีผลกระทบต่อสังคมในภาพกว้าง ทั้งนี้หากเราพอจะจำได้จีนในสมัยก่อนมีนโยบายลูกคนเดียว (计划生育)ซึ่งส่งผลกระทบต่อจีนในปัจจุบันอย่างมาก เราจะพูดถึงปัญหาเหล่านี้กันต่อใน ตอนที่3 นะคับ ภาพปกจาก https://www.pexels.com รูปประกอบโดย เจ้าของบทความ