อุทยานประวัติศาสตร์เขาพนมรุ้ง หรือ ปราสาทหินพนมรุ้ง สถาปัตยกรรมเขมรโบราณ ที่องค์การ UNESCO ได้ยกย่องให้เป็น มรดกโลก ที่สำคัญอีกที่หนึ่งของประเทศไทย ปราสาทพนมรุ้งเป็นหนึ่งในกลุ่มราชมรรคา สร้างขึ้นจากหินทรายสีชมพู ตั้งอยู่ในเขตภูเขาไฟที่ดับสนิทแล้ว โดยคำว่า พนมรุ้ง หรือ วนรุง ในภาษาเขมรแปลว่า ภูเขาใหญ่ ปราสาทหินพนมรุ้ง เป็นโบสถ์พราหมณ์ ลัทธิไศวะ และ ในสมัยพุทธศตวรรษที่ 18 พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ได้หันมานับถือศาสนาพุทธนิกายมหายาน เทวสถานแห่งนี้จึงได้เปลี่ยนเป็นวัดมหายาน ตั้งอยู่บนยอดเขา 1,300 กว่าฟุต สถานที่แห่งนี้มีบริเวณที่กว้างขวาง มีสระน้ำขนาดใหญ่ ส่วนพระประธานตรงกลางของปราสาทชั้นใน จะมีจุดสำคัญหลายจุด เช่น ภาพจำหลักที่แสดง การร่ายรำของ พระศิวนาฏราช ทรงฟ้อนรำอย่างสวยงาม และที่สำคัญและผู้คนรู้จักกันทั่วโลก คือ ทับหลังนารายบรรทมศิลป์ พระนารายณ์ยืนตะแคงขวาเหนือพญาอนันตนาคราช ทอดตัวอยู่เหนือมังกร ท่ามกลางเกษียรสมุทร มีก้านบัวผุดบนพระนาภี พระพรหมประทับอยู่เหนือดอกบัว และรายละเอียดอีกมากมายที่ปรากฏอยู่บนทับหลังที่สำคัญชิ้นนี้ โดยทับหลังได้หายไปเมื่อปี พ.ศ. 2503 และได้กลับคืนมาเมื่อ ปี พ.ศ. 2531 ระยะเวลาเกือบ 30 ปีที่หายไป ได้มีการตามหาโดยรัฐบาลไทยในสมัยนั้น ได้นำกลับมาทันวันเปิด อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง พอดี จนได้รับยกย่องว่า เป็น รูปปั้นพระนารายณ์ที่งดงามที่สุดในโลก ส่วนสะพานนาคราช เป็นทางเดินสู่พระปราสาท ด้านข้างมีเสานางเรียง ข้างละ 35 ต้น ทอดยาวไปถึงบันได ที่ทางขึ้นมีพญานาค 5 เศียร ทำเป็นราวสะพานตามความเชื่อโบราณของฮินดู และ มีบันได 52 ขั้นเพื่อขึ้นไปยังลานปราสาท เมื่อขึ้นไปยังปราสาท ท่านเดินเข้าไปตัวปราสาท จะพบรูปเคารพศักดิ์สิทธิ์ ตามความเชื่อของศาสนา นั่นคือ รูปปั้นศิวลึงค์ ที่เป็นที่สักการบูชาของผู้ที่นับถือศาสนาฮินดู ที่ปราสาทพนมรุ้งแห่งนี้ ยังมีปรากฏการณ์ พระอาทิตย์ส่งลอดช่องประตูทั้ง 15 บาน ปรากฎการณ์นี้จะเกิดขึ้น ระหว่างวันที่ 3 - 5 เดือนเมษายน และ 8 – 10 เดือนตุลาคม ของทุกปี พระอาทิตย์จะขึ้นส่องแสงลอดทางทิศตะวันออก และ วันที่ 6 – 8 เดือนมีนาคม และ วันที่ 6 – 8 เดือนตุลาคม ของทุกปี ดวงอาทิตย์จะตกส่องแสงลอดทางทิศตะวันตก ท่านสามารถเดินทางไปชมปรากฎการณ์นี้ และ ชมความสวยงามของศิลปะขอมโบราณได้ ที่จังหวัดบุรีรัมภ์ รับรองท่านจะประทับใจเป็นอย่างยิ่ง หมายเหตุ ผู้เขียนเป็นผู้ถ่ายรูปเองทั้งหมด