“เก็บเรื่องมาเล่า โดยหนุ่ม สุทน” จิตใจเบิกบานท่องเที่ยวแบบสบาย ๆ เมื่อได้ทำบุญไหว้พระและกราบขอพรสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เราเคารพนับถือ วันจันทร์ที่ 17 มกราคม 2565 หนุ่ม-สุทน ยังคงเขียนเล่าเรื่องสถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดเพชรบูรณ์ วันนี้พาทุกท่านไป กราบขอพร "หลวงพ่อทบ ธัมมปัญโญภิกขุหรือท่านพระครูวิชิต พัชราจารย์" ณ วัดช้างเผือก อดีตเจ้าอาวาสวัดพระพุทธบาทชนแดน อำเภอชนแดน จังหวัดเพชรบูรณ์วัดช้างเผือกผมขอเริ่มต้นเรื่องราวของหลวงพ่อทบ ที่ "วัดช้างเผือก" ก่อนเป็นเรื่องที่ 1 วัดช้างเผือก ตำบลวังชมภู อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ วัดนี้สันนิษฐานว่าน่าจะมีมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เพราะพบซากของโบสถ์เก่า พระพุทธรูปเก่าและรูปปั้นช้างเผือกเมื่อครั้งปี พ.ศ. 2447 ชาวบ้านร่วมกันสร้างวัดขึ้นมาใหม่แล้วให้ชื่อว่า "วัดช้างเผือก" ตามที่พบรูปปั้นช้างเผือกครับ ทุกวันนี้มีรูปปั้นช้างเผือกคู่หน้าพระอุโบสถเพื่อเป็นสัญลักษณ์ของวัดช้างเผือก รูปปั้นช้างเผือกคู่หน้าพระอุโบสถเรื่องที่ 2 เรื่องราวความเป็นมาของ "หลวงปู่ทบหรือหลวงพ่อทบ ธัมมปัญโญภิกขุ" เดิมท่านเป็นชาวบ้านในตำบลวังชมภูพออายุ 16 ปี ก็บรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดช้างเผือก แล้วศึกษาพระธรรมวินัยและวิชากรรมฐานและสันนิษฐานกันเองว่าท่านได้เรียนรู้เรื่องวิชาอาคมจากชาวเขมรคือวิชาอยู่ยงคงกระพัน เมื่ออายุ 21 ปี ท่านได้อุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดช้างเผือกแห่งนี้ แล้วจำพรรษาอยู่ 2 พรรษา ก็ย้ายไปจำพรรษาที่วัดวังโป่งในจังหวัดเพชรบูรณ์ 2-3 พรรษา ก็ออกธุดงค์เพื่อแสวงหาจิตสงบนิ่งเรื่องกรรมฐานหลวงพ่อทบ ธัมมปัญโญภิกขุ ท่านธุดงค์ไปในป่าเขาเขตเมืองเพชรบูรณ์แล้วข้ามไป สปป.ลาว-เขมรและเขตป่าของประเทศพม่า ดังนั้นท่านจึงแก่กล้าด้วยวิชาอาคมหรือพลังจิต รู้เหตุการณ์ล่วงหน้าและมีเมตตาธรรมสูง พูดน้อยแต่วาจาศักดิ์สิทธิ์เมื่อหลวงพ่อทบท่านธุดงค์กลับมาแล้วได้รับตำแหน่งเจ้าอาวาส "วัดพระพุทธบาทชนแดน" อำเภอชนแดน จังหวัดเพชรบูรณ์ แต่ท่านจะพูดไว้ว่าถ้าหากท่านจากไปแล้วขอให้นำสังขารไปไว้ที่ "วัดช้างเผือก" ครับ บริเวณโดยรอบวัดช้างเผือกหลวงพ่อทบหรือหลวงปู่ทบ ธัมมปัญโญภิกขุ ท่านละสังขารเมื่อวันที่ 14 มีนาคม ปี พ.ศ. 2519 สิริอายุ 95 ปี อุปสมบทมา 74 พรรษา ได้ชื่อว่าเป็นเทพเจ้าแห่งลุ่มน้ำป่าสักแล้วสังขารท่านไม่เน่าเปื่อยทุกวันนี้ประดิษฐานในโลงแก้ว ณ มณฑป วัดช้างเผือก ตำบลวังชมภู อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ ท่านผู้อ่านทุกท่านถ้ามีโอกาสได้ไปวัดช้างเผือกควรจะแวะให้ครบ 4 จุด โดยเริ่มต้นที่จุดที่ 1 วิหารประดิษฐานรูปหล่อหลวงพ่อทบ กราบบูชาขอพรและปิดทองได้ครับรูปหล่อหลวงพ่อทบจุดที่ 2 กราบบูชาขอพรสังขารหลวงพ่อทบหรือหลวงปู่ทบ ธัมมปัญโญภิกขุ ในมณฑป สังขารท่านไม่เน่าไม่เปื่อยครับ กราบขอพรให้ประสบผลสำเร็จเรื่องหน้าที่การงาน สอบเข้ารับรายการและเรื่องขายที่ดินตามความเชื่อของแต่ละคนครับ สังขารหลวงพ่อทบแล้วมาจุดที่ 3 ชมซากโบสถ์เก่าสันนิษฐานว่าอายุน่าจะประมาณ 300 ปี ซากโบสถ์เก่าและสุดท้ายจุด 4 เข้าพิพิธภัณฑ์หลวงพ่อทบหรือหลวงปู่ทบ ธัมมปัญโญภิกขุ จัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับวิถีชีวิตชุมชนและความเป็นมาของหลวงพ่อทบ ธัมมปัญโญภิกขุหรือท่านพระครูวิชิต พัชราจารย์ พิพิธภัณฑ์หลวงพ่อทบน่าสนใจไปเที่ยวเชิงวัฒนธรรม "วัดช้างเผือก" ตั้งอยู่ริมทางหลวงหมายเลข 21 เส้นทางสระบุรี-เพชรบูรณ์จะเห็นป้ายชื่อวัดช้างเผือกครับ หากต้องการท่องเที่ยวในเขตจังหวัดเพชรบูรณ์หรือจังหวัดพิษณุโลก สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานพิษณุโลก-เพชรบูรณ์โทรศัพท์ 055-252742 ได้ทุกวันตั้งแต่เวลา 08.30-16.30 น. ขอขอบคุณ ผอ.ญาติกา แก้วบริสุทธิ์ ผู้อำนวยการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานพิษณุโลก ที่ให้การต้อนรับคณะสื่อมวลชนชมรมนักข่าวท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ที่เดินทางไปเก็บข้อมูลเรื่องท่องเที่ยวมาประชาสัมพันธ์ให้นักท่องเที่ยวได้รับทราบข้อมูลการเดินทางในจังหวัดเพชรบูรณ์ครับ "เที่ยวเมืองไทยไม่ไปไม่รู้ ถ้าอยากรู้ต้องออกเดินทางไป...กับ...ผมหนุ่ม-สุทน” ขอบคุณและสวัสดีครับมากราบขอพร "หลวงพ่อทบ" ที่วัดช้างเผือกกันครับเรื่องและภาพโดย : หนุ่ม-สุทน รุ่งธัญรัตน์แฟนเพจเฟซบุ๊ก : https://www.facebook.com/sutonfm100.5/#ติดตามฟังเรื่องราวการเดินทางเที่ยวทั่วไทยทางคลื่นข่าว100.5fm ทุกวันอาทิตย์เวลา 10.10-11.00 น. #ติดต่อวิทยากรด้านการท่องเที่ยวได้ที่แฟนเพจเฟซบุ๊ก#เที่ยวเพลิน #เก็บเรื่องมาเล่าโดยหนุ่มสุทน #bigmaptravel #Tourism local life ชุมชนเพื่อการท่องเที่ยวไทยยั่งยืนอัปเดตบทความท่องเที่ยวตามสถานที่อันหลากหลาย โหลดเลยที่ App TrueID ฟรี !