ดินแดนแห่งสัจจะและไมตรี ประเพณีผีตาโขนวัดโพนชัยอันเก่าแก่ งามแท้แก่งสองคอนน้ำผักสะทอนหน่อไม้หวาน นมัสการองค์พระธาตุศรีสองรักฟักหอมเลื่องลือชื่อ นี่คือด่านซ้าย... งานประเพณีบุญหลวง และการละเล่นผีตาโขน 2566 เป็นงานเฉลิมฉลองที่มีเอกลักษณ์และมีสีสันที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีในอำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย เทศกาลมักจะจัดขึ้นในเดือนมิถุนายน-กรกฏาคม และเป็นหนึ่งในกิจกรรมที่ได้รับความนิยมและมีผู้รอคอยมากที่สุดในภูมิภาคนี้ซึ่งในปี 2566 นี้จะ งานประเพณีบุญหลวง และการละเล่นผีตาโขน 2566 จะถูกจัดขึ้น ในัวนที่ 23-24 มิถุนายน 66 ซึ่งวันที่ 24 จะมีผีเยอะสุดนะ พิกัด: ด่านซ้าย จังหวัดเลย เทศกาลผีตาโขน นั้น เดิมมีชื่อเรียกว่า ผีตามคน เป็นเทศกาลที่ได้รับอิทธิพลมาจาก มหาเวสสันดรชาดก ตามตำนาน เทศกาลนี้เริ่มต้นขึ้นเพื่อเป็นการขับไล่วิญญาณชั่วร้ายที่ว่ากันว่าจะปรากฏตัวในช่วงออกพรรษา ชาวบ้านเชื่อว่าวิญญาณเหล่านี้นำความโชคร้ายและความเจ็บป่วยมาสู่ชุมชน เพื่อเป็นการปราบวิญญาณเหล่านี้ ชาวด่านซ้ายจึงสร้างหน้ากากและเครื่องแต่งกายที่วิจิตรบรรจง ซึ่งพวกเขาสวมใส่ในช่วงเทศกาลเพื่อขับไล่วิญญาณชั่วร้าย ในช่วงเทศกาล ผู้เข้าร่วมจะสวมหน้ากากแบบดั้งเดิมที่ทำจากต้นมะพร้าวแกะสลักและตกแต่งด้วยวัสดุที่ทำจากธรรมชาติและแต่งแต้มติมสีสันให้สดใสสวยงาม กล่าวกันว่าหน้ากากเป็นตัวแทนของวิญญาณของผู้ตาย และเทศกาลนี้เป็นการเฉลิมฉลองการกลับสู่โลกมนุษย์ ผู้เข้าร่วมยังสวมชุดสีสันสดใสและถือกระบอกไม้ไผ่และอุปกรณ์ประกอบอื่นๆ ขณะที่พวกเขาเต้นรำและเดินขบวนไปทั่วเมือง เทศกาลนี้มีความสนุกสนานมีชีวิตชีวาตลอดงาน ทั้งมี การเต้นรำ อาหารและเครื่องดื่มมากมาย นักท่องเที่ยวจะได้ชมการแสดงที่หลากหลาย ทั้งรำไทย ดนตรี และขบวนพาเหรด นอกจากนี้ยังมีแผงขายอาหารและพ่อค้าแม่ค้าท้องถิ่นมากมายที่จำหน่ายของที่ระลึก งานหัตถกรรม และสินค้าอื่นๆ เทศกาลผีตาโขน ไม่ได้เป็นเพียงการเฉลิมฉลองวัฒนธรรมและประเพณีท้องถิ่นเท่านั้น แต่ยังเป็นงานที่ทำให้หลายๆคนได้รู้จักแหล่งท่องเที่ยวต่างๆที่สำคัญของจังหวัดเลยอีกด้วย เป็นงานที่ไม่ซ้ำใครและน่าสนใจที่ให้ผู้เยี่ยมชมได้สัมผัสกับประวัติศาสตร์อันยาวนานและมีชีวิตชีวาของภูมิภาคนี้ ภาพทั้งหมดนั้นผมถ่ายเมื่อปี 2565 ครับซึ่งเป็นครั้งแรกที่ผมได้ไปร่วมงานนี้ ไม่คิดเลยว่าจะสนุกสนานขนาดนี้ครับ ตั้งแต่ทางเข้ามีดนตรี สนุกๆ ให้โยกเต้นตลอดทางไหนจะพี่ๆ ที่สวมใส่หน้ากากผี ที่โยกเต้นตามเพลงเวลาเราไปขอถ่ายรูป ถ่ายคลิป พี่เค้าพาเราเต้นแบบสุดเหวี่ยง เหมือนงานปลดปล่อยความเป็นตัวเองเลยครับ และภายในงานนอกจากจะมีความสนุกสนานอย่างสุดเหวี่ยงแล้วนั้นก็ยังมีวัฒนธรรมเก่าแก่กว่า 400 ปีที่สืบทอดต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่น โดย “เจ้าพ่อกวน” หรือ ดร.ถาวร เชื้อบุญมี เป็นผู้นำทางจิตวิญญาณ การปฏิบัติตามฮีต สิบสอง คองสิบสี่ ที่สำคัญ การมาที่นี่นั้นผมได้มีโอกาสไปสักการะ องค์พระธาตุศรีสองรัก ซึ่งเป็นพระธาตุคู่บ้านคู่เมืองของชาวจังหวัดเลยอีกด้วยครับและในปี 2566 นี้เองผมไม่พลาดแน่นอนครับ เที่ยวทั้งทีได้ทั้งชมศิลปะ วัฒนธรรม ได้ชมการละเล่นที่เป็นหนึ่งเดียวในโลกอย่าง ผีตาโขน (ผีตามคน) และที่สำคัญได้กราบสักการะพระธาตุศรีสองรัก พระธาตุที่เป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวจังหวัดเลย ผมว่าคุ้มมากครับ และในปีนี้ผมมีกำหนดการมาฝากด้วยครับเผื่อว่าทุกคนอยากมาสนุกด้วยกันครับกำหนดการคร่าวๆ ดังนี้ครับวันที่ 23 มิถุนายน 2566เป็น เทศกาลผีตาโขน ซึ่งเรียกวันนี้ว่า วันรวม หรือ วันโฮม จะมี พิธีเบิกพระอุปคุตพิธีการบวชพราหมณ์ เพื่อเชิญพระอุปคุตพิธีแห่จากวัดโพนชัย ไปริมฝั่งแม่น้ำหมันเพื่อเชิญพระอุปคุตพิธีงมพระอุปคุตจากแม่น้ำหมันอัญเชิญขึ้นประดิษฐานหออุปคุต วัดโพนชัยพิธีเบิกพระอุปคุต พร้อมยิงปืนทั้ง 4 ทิศพิธีบายศรีสู่ขวัญเจ้าพ่อกวนและเจ้าแม่นางเทียมวันที่ 24 มิถุนายน 2566เป็น วันแห่พระเวสสันดรเข้าเมือง หรือ ขบวนแห่ผีตาโขนพิธีสู่ขวัญพระเวสสันดร อัญเชิญพระเวสสันดรเข้าเมืองขบวนแห่พระเวสสันดรเข้าเมือง (ขบวนแห่ผีตาโขน)เจ้าพ่อกวนและคณะ นำขบวนแห่ไปวัดโพนชัยแห่รอบโบสถ์ 3 รอบเจ้าพ่อกวนและคณะจุดบั้งไฟขอฝนคณะผู้เล่นบุญหลวงนำหน้ากากผีตาโขนน้อยและผีตาโขนใหญ่ทิ้งลงแม่น้ำหมันวันที่ 25 มิถุนายน 2566เป็น วันฟังเทศน์มหาชาติ 13 กัณฑ์ พิธีสวดมาลัยหมื่นมาลัยแสน ในการฟังเทศน์มหาชาติ 13 กัณฑ์พิธีสวดชำฮะเพื่อขอขมาลาโทษสะเดาะเคราะห์รับโชคนำอาหารหวานใส่กระทง เพื่อให้ทานสะเดาะเคราะห์ และสืบชะตาบ้านเมืองพ่อแสนทำพิธี “จำเนื้อจำคิง" เพื่อการสะเดาะเคราะห์นำเครื่องสะเดาะเคราะห์ทิ้งลงแม่น้ำหมันพิธีคารวะองค์พระใหญ่ โดยเจ้าพ่อกวนและคณะ เป็นอันเสร็จพิธีหากคุณมีโอกาสมาเยือนจังหวัดเลยในช่วงเทศกาลนี้รับรองได้เลยว่าคุณจะกลับไปพร้อมความประทับใจอย่างสุดซึ่งแน่นอนครับภาพถ่ายโดย : IammCHOI : ไอ้จ้อยกำลังหาที่เที่ยวหรือเปล่า? หาข้อมูลที่เที่ยวสุดปังได้ที่ App TrueID โหลดเลย ฟรี !