เทศกาลปีใหม่ ค่ำคืนแห่งการเฉลิมฉลองสุดเหวี่ยง และหนึ่งในกิจกรรมที่สร้างความประทับใจให้มวลมนุษยชาติตลอดมาคือ การชมพลุและดอกไม้ไฟ ซึ่งจัดขึ้นตามสถานที่สำคัญต่างๆ ของไทยและทั่วทุกมุมโลกสำหรับนักถ่ายภาพแล้ว สีสันอันตระการตาของพลุและดอกไม้ไฟถือได้ว่าเป็นโจทย์การถ่ายภาพที่ท้าทายมากทีเดียว เพราะการถ่ายภาพพลุใช่ว่าจะเรื่องเป็นง่าย หลายคนต้องกลับบ้านพร้อมผลงานภาพที่ยังไม่น่าพอใจ อย่างไรก็ตาม การถ่ายรูปพลุจริงๆ แล้ว ก็ไม่ยากจนเกินไปนัก หากรู้หลักการเบื้องต้น ประกอบกับความชำนาญในการใช้กล้องประจำกายของแต่ละคน และบทความนี้ซึ่งเรียบเรียงจากประสบการณ์ของครีเอเตอร์จะช่วยให้การถ่ายภาพพลุง่ายเหมือนปอกกล้วยด้วย 5 วิธี “ทริคการถ่ายรูปพลุ” เพื่อบันทึกภาพที่สวยงามน่าจดจำ เป็นที่ชื่นชอบของเพื่อนๆ ในโซเชียลมีเดีย หรืออาจสร้างรายได้จากการขายภาพออนไลน์ได้เช่นกัน 1. ข้อมูล หลายครั้งผลลัพธ์ของการถ่ายรูปพลุอาจไม่เป็นดั่งใจ เพราะนักถ่ายภาพไม่หาข้อมูลให้ดีเสียก่อน ซึ่งข้อมูลดังกล่าวประกอบด้วย เวลาของการแสดงพลุ เราควรตรวจสอบกำหนดการการแสดงพลุให้ถูกต้อง เดินทางไปถึงสถานที่ก่อนเวลาสัก 1-2 ชั่วโมง เดินสำรวจสถานที่เพื่อหามุมถ่ายรูปที่ชอบที่สุดบริเวณที่จะมีการจุดพลุ ควรหาข้อมูลให้ได้เพื่อจับจองมุมถ่ายภาพที่ดีที่สุด ซึ่งควรจะอยู่ตรงข้ามกัน ไม่ใกล้และไม่ไกลจนเกินไป ลองพิจารณาดูว่าจะให้ฉากหน้าและฉากหลังเป็นอะไร จะให้พลุอยู่ตรงไหนของภาพ ระยะเลนส์กว้างสุดและแคบสุดที่เรามีส่งผลต่อองค์ประกอบอย่างไร ภาพดูอึดอัดหรือโล่งไปไหมจำนวนพลุที่จุด สำหรับครีเอเตอร์ การที่เรารู้ว่าพลุที่จะแสดงมีจำนวนเท่าไร จะทำให้สามารถคำนวณและเผื่อความผิดพลาดในการถ่ายรูปพลุได้ 2. ขาตั้งและสายลั่นชัตเตอร์การถ่ายรูปพลุ ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องของการถ่ายรูปในที่แสงน้อยโดยใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำ ดังนั้น ขาตั้งกล้องที่เหมาะสมกับขนาดของกล้องก็สำคัญ ยิ่งถ้าสามารถหาสายหรือรีโมทลั่นชัตเตอร์มาใช้ด้วยก็ยิ่งดีเข้าไปใหญ่ เพราะมั่นใจได้ในระดับหนึ่งว่าระหว่างที่เราลั่นชัตเตอร์กล้องจะไม่สั่นไหวจนทำให้ภาพเบลออย่างไม่ตั้งใจแน่นอน นอกจากนี้ หากเราจะถ่ายรูปพลุโดยมีตึกรามบ้านช่อง หรือวิวทิวทัศน์เป็นองค์ประกอบ ตรวจสอบให้ดีว่าเส้นขอบฟ้าตรงหรือไม่ด้วย3. การตั้งค่ากล้องหลักการตั้งค่ากล้องต่อไปนี้ เป็นในแบบสไตล์ของครีเอเตอร์ ลองพิจารณาไปปรับใช้กันได้ไม่มีผิดถูก ชัตเตอร์สปีด การถ่ายรูปพลุ นิยมถ่ายให้มีลักษณะเป็นเส้นสาย ซึ่งต้องใช้ความเร็วชัตเตอร์ช้าตั้งแต่ประมาณ ¼ วินาที ไปจนถึง 30 วินาที และ bulb หรือที่เรียกกันว่า ชัตเตอร์บี ในโหมดการถ่ายแบบ manual ซึ่งเป็นการลั่นชัตเตอร์ค้างไว้ตามใจของนักถ่ายภาพ โดยลั่นชัตเตอร์ขณะที่พลุกำลังจุดขึ้น และกดค้างไว้จนกว่าพลุจะจางหายไป โดยทั่วไปจะใช้เวลาไม่กี่วินาที แต่บางคนอาจอยากเก็บภาพพลุให้ได้จำนวนมากที่สุด ข้อควรระวังคือ หากเปิดชัตเตอร์นานเกินไปภาพพลุที่ได้อาจจะสว่างจ้าจนไม่เห็นรายละเอียดที่สำคัญ จนต้องกดปุ่มลบภาพนั้นลงถังขยะ อาจทดลองถ่ายดูก่อนแล้วค่อยปรับเวลาการเปิดชัตเตอร์ให้เหมาะสม ซึ่งต้องใช้ประสบการณ์พอสมควร แต่ของแบบนี้ฝึกกันได้ ไม่มีใครถ่ายเป็นตั้งแต่เกิดหรอกครับ ในทางตรงกันข้าม การทดลองถ่ายรูปพลุโดยใช้ความเร็วชัตเตอร์สูงตั้งแต่ประมาณ 1/250 - 1/500 วินาที ก็เป็นวิธีการที่น่าสนใจ และควรใช้เลนส์ที่มีทางยาวโฟกัสมากหน่อย เพื่อจะได้ขยายภาพพลุที่ลอยอยู่บนท้องฟ้าให้เห็นรายละเอียดที่ไม่ค่อยมีใครได้เห็นมากนัก เพราะภาพที่ได้ก็จะแปลกตา ราวกับภาพศิลปะนามธรรมเลยทีเดียวโหมดโฟกัสเพื่อความมั่นใจในการถ่ายรูปพลุควรปิดโหมดโฟกัสอัตโนมัติ และใช้เป็นระบบแมนนวล หรือมือหมุนโฟกัสเองแทน เพราะแสงไฟจากพลุอาจทำให้กล้องจับโฟกัสไม่ตรงตามที่เราต้องการ หรือใช้วิธีการคำนวณระยะโฟกัสตามสเกลที่ระบุบนกระบอกเลนส์บางรุ่น หรือโฟกัสไปที่ระยะอินฟินิตี้ก็ได้isoหากต้องการถ่ายรูปพลุให้เป็นเส้นสายที่ใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำ ตั้งค่า iso ตั้งแต่ต่ำสุดที่กล้องทำได้ เพื่อลดสัญญาณรบกวนหรือนอยซ์ แต่หากต้องการถ่ายรูปพลุด้วยความเร็วชัตเตอร์สูงให้ตั้งค่า iso สัก 400 ขึ้นไป และวัดแสงดูว่าได้ความเร็วชัตเตอร์ที่ต้องการไหมรูรับแสงสั้นๆ เลย หากต้องการรูปพลุเส้นเล็กๆ ให้ตั้งค่ารูรับแสงแคบๆ เข้าไว้ ประมาณ f11 - f16 หรือหากต้องการรูปพลุเส้นอวบๆ ตั้งค่ารูรับแสงให้กว้างๆ เช่น f5.6 - f84. เรื่องราวภาพหนึ่งภาพแทนคำพูดได้นับพันคำ นั้นหมายถึงเรื่องราวในรูปถ่ายช่วยสร้างคุณค่าได้เป็นอย่างดี ดังนั้น ในการถ่ายรูปพลุนั้น ลองมองหาวัตถุต่างๆ ทั้งมนุษย์ ตึกรามบ้านช่อง แม่น้ำ ภูเขา หรือสิ่งต่างๆ รอบตัว ให้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งขององค์ประกอบภาพ รวมกับพลุซึ่งเป็นจุดเด่นหลัก เพื่อบอกเล่าเรื่องราวทั้งหมดของเหตุการณ์ในค่ำคืนนั้น ก็เป็นทางเลือกในการสร้างสรรค์รูปถ่ายพลุที่ดีได้5. ทดลองถ่ายหลายระยะหลายมุมก่อนจะถ่ายรูปพลุ ลองวางแผนในหัวคร่าวๆ ในลักษณะของการถ่ายรูปเป็นชุดเพื่อเล่าเรื่อง หมายถึง การถ่ายรูปภาพกว้างๆ ของเทศกาล ให้เห็นภาพรวมของเหตุการณ์ ต่อมาก็ถ่ายรูปภาพเหตุการณ์ย่อยๆ เช่น ใครกำลังทำอะไร ที่ไหน อย่างไร จากนั้น ก็ถ่ายรูปที่แสดงถึงรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ เช่น การถ่ายเจาะพลุโดยใช้เลนส์เทเลโฟโต้ หรือสิ่งที่น่าสนใจอื่นๆ เป็นต้น สุดท้ายก็ทดลองถ่ายรูปหลายๆ มุม หลายๆ ระยะ เพื่อเพิ่มโอกาสในการได้ภาพที่ดีที่สุดภาพถ่ายทั้งหมดโดยครีเอเตอร์ เปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !