รีเซต

10 อันดับ เมืองน่าอยู่และน่าทำงานที่สุดในโลกสำหรับชาวต่างชาติ 2022 กรุงเทพฯ คว้าอันดับ 6

10 อันดับ เมืองน่าอยู่และน่าทำงานที่สุดในโลกสำหรับชาวต่างชาติ 2022 กรุงเทพฯ คว้าอันดับ 6
Muzika
1 ธันวาคม 2565 ( 11:13 )
8.4K

     สำหรับชาวต่างชาติแล้ว เมืองหลวงของประเทศไทยอย่าง กรุงเทพมหานคร นั้นนับว่าเป็นเมืองน่าอยู่สูงถึงลำดับที่ 6 เลยทีเดียว อ้างอิงจากผลสำรวจโดย InterNations ซึ่งเป็นชุมชนออนไลน์สำหรับชาวต่างชาติที่มีสมาชิกทั่วโลกกว่า 4.5 ล้านคน ในหัวข้อ เมืองที่น่าอยู่และน่าทำงานที่สุดในโลกสำหรับชาวต่างชาติประจำปี 2022

 

 

10 อันดับ เมืองน่าอยู่และน่าทำงานที่สุดในโลกสำหรับชาวต่างชาติ 2022

 

     สำหรับปีนี้ลำดับที่ 1 เป็นของเมือง วาเลนเซีย ประเทศสเปน เนื่องจากเป็นสถานที่ปลอดภัยที่มีสภาพอากาศดีเยี่ยม มีสถานบันเทิงยามค่ำคืน และวัฒนธรรมที่มีชีวิตชีวา สภาพแวดล้อมในเมืองน่าอยู่ และมีค่าใช้จ่ายในการเดินทางท่องเที่ยวในราคาไม่แพง ในขณะที่ลำดับ 2 อย่างดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ก็มีโอกาสในการทำงานที่ดี มีวัฒนธรรมทางธุรกิจที่สร้างสรรค์

 

1. วาเลนเซีย ประเทศสเปน

  • 85% มีความสุขกับชีวิตโดยทั่วไป
  • 83% มีความสุขต่อค่าครองชีพ
  • 55% ระบุว่าสามารถพบเพื่อนใหม่ได้ง่าย
  • 56% มีความสุขต่ออาชีพการทำงาน
  • 76% มีความสุขต่อความสมดุลระหว่างการทำงานและการใช้ชีวิต
  • 80% มีความสุขต่อคุณภาพการดูแลรักษาทางการแพทย์

 

2. ดูไบ ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์

  • 73% มีความสุขกับชีวิตโดยทั่วไป
  • 38% มีความสุขต่อค่าครองชีพ
  • 43% ระบุว่าสามารถพบเพื่อนใหม่ได้ง่าย
  • 70% มีความสุขต่ออาชีพการทำงาน
  • 61% มีความสุขต่อความสมดุลระหว่างการทำงานและการใช้ชีวิต
  • 84% มีความสุขต่อคุณภาพการดูแลรักษาทางการแพทย์

 

3. เม็กซิโก ซิตี้ ประเทศเม็กซิโก

  • 84% มีความสุขกับชีวิตโดยทั่วไป
  • 67% มีความสุขต่อค่าครองชีพ
  • 69% ระบุว่าสามารถพบเพื่อนใหม่ได้ง่าย
  • 73% มีความสุขต่ออาชีพการทำงาน
  • 71% มีความสุขต่อความสมดุลระหว่างการทำงานและการใช้ชีวิต
  • 70% มีความสุขต่อคุณภาพการดูแลรักษาทางการแพทย์

 

4. ลิสบอน ประเทศโปรตุเกส

  • 86% มีความสุขกับชีวิตโดยทั่วไป
  • 69% มีความสุขต่อค่าครองชีพ
  • 49% ระบุว่าสามารถพบเพื่อนใหม่ได้ง่าย
  • 71% มีความสุขต่ออาชีพการทำงาน
  • 72% มีความสุขต่อความสมดุลระหว่างการทำงานและการใช้ชีวิต
  • 68% มีความสุขต่อคุณภาพการดูแลรักษาทางการแพทย์

 

5. มาดริด ประเทศสเปน

  • 77% มีความสุขกับชีวิตโดยทั่วไป
  • 69% มีความสุขต่อค่าครองชีพ
  • 53% ระบุว่าสามารถพบเพื่อนใหม่ได้ง่าย
  • 63% มีความสุขต่ออาชีพการทำงาน
  • 70% มีความสุขต่อความสมดุลระหว่างการทำงานและการใช้ชีวิต
  • 80% มีความสุขต่อคุณภาพการดูแลรักษาทางการแพทย์

 

6. กรุงเทพฯ ประเทศไทย

  • 79% มีความสุขกับชีวิตโดยทั่วไป
  • 69% มีความสุขต่อค่าครองชีพ
  • 54% ระบุว่าสามารถพบเพื่อนใหม่ได้ง่าย
  • 66% มีความสุขต่ออาชีพการทำงาน
  • 68% มีความสุขต่อความสมดุลระหว่างการทำงานและการใช้ชีวิต
  • 82% มีความสุขต่อคุณภาพการดูแลรักษาทางการแพทย์

 

7. บาเซิล ประเทศสวิตเซอร์แลนด์

  • 82% มีความสุขกับชีวิตโดยทั่วไป
  • 22% มีความสุขต่อค่าครองชีพ
  • 18% ระบุว่าสามารถพบเพื่อนใหม่ได้ง่าย
  • 86% มีความสุขต่ออาชีพการทำงาน
  • 67% มีความสุขต่อความสมดุลระหว่างการทำงานและการใช้ชีวิต
  • 85% มีความสุขต่อคุณภาพการดูแลรักษาทางการแพทย์

 

8. เมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย

  • 69% มีความสุขกับชีวิตโดยทั่วไป
  • 36% มีความสุขต่อค่าครองชีพ
  • 46% ระบุว่าสามารถพบเพื่อนใหม่ได้ง่าย
  • 77% มีความสุขต่ออาชีพการทำงาน
  • 72% มีความสุขต่อความสมดุลระหว่างการทำงานและการใช้ชีวิต
  • 78% มีความสุขต่อคุณภาพการดูแลรักษาทางการแพทย์

 

9. อาบูดาบี ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์

  • 68% มีความสุขกับชีวิตโดยทั่วไป
  • 36% มีความสุขต่อค่าครองชีพ
  • 41% ระบุว่าสามารถพบเพื่อนใหม่ได้ง่าย
  • 64% มีความสุขต่ออาชีพการทำงาน
  • 51% มีความสุขต่อความสมดุลระหว่างการทำงานและการใช้ชีวิต
  • 88% มีความสุขต่อคุณภาพการดูแลรักษาทางการแพทย์

 

10. สิงคโปร์  ประเทศสิงคโปร์

  • 73% มีความสุขกับชีวิตโดยทั่วไป
  • 24% มีความสุขต่อค่าครองชีพ
  • 48% ระบุว่าสามารถพบเพื่อนใหม่ได้ง่าย
  • 77% มีความสุขต่ออาชีพการทำงาน
  • 58% มีความสุขต่อความสมดุลระหว่างการทำงานและการใช้ชีวิต
  • 84% มีความสุขต่อคุณภาพการดูแลรักษาทางการแพทย์

 

ค่าเฉลี่ยความพึงพอใจของชาวต่างชาติทั่วโลก

  • 71% มีความสุขกับชีวิตโดยทั่วไป
  • 45% มีความสุขต่อค่าครองชีพ
  • 42% ระบุว่าสามารถพบเพื่อนใหม่ได้ง่าย
  • 64% มีความสุขต่ออาชีพการทำงาน
  • 62% มีความสุขต่อความสมดุลระหว่างการทำงานและการใช้ชีวิต
  • 72% มีความสุขต่อคุณภาพการดูแลรักษาทางการแพทย์

 

     การสำรวจจัดทำขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ 2565 โดยขอให้ชาวต่างชาติให้คะแนนความพึงพอใจใน 5 หมวดหลัก ได้แก่ คุณภาพชีวิต (เช่น สภาพแวดล้อมที่ดีต่อสุขภาพ และระบบขนส่งมวลชนที่มีประสิทธิภาพ) ความสะดวกในการตั้งถิ่นฐาน (ความเป็นมิตรของผู้อยู่อาศัยในท้องถิ่น) การเงินส่วนบุคคล (เช่น การเข้าถึงบริการสุขภาพราคาไม่แพง) การทำงานในต่างประเทศ (เช่น ความมั่นคงในหน้าที่การงาน และเศรษฐกิจท้องถิ่นที่มั่นคง) และ “สิ่งจำเป็นสำหรับชาวต่างชาติ” ซึ่งครอบคลุมชีวิตดิจิทัล ทางเลือกที่พักอาศัย อุปสรรคด้านภาษา และการติดต่อกับรัฐบาลท้องถิ่น

 

อ้างอิง : https://www.cnbc.com/2022/11/29/the-top-international-cities-to-live-and-work-abroad-this-year

====================