ห่างหายจากการเดินป่ามานาน ล่าสุดเท่าที่จำได้คือไปค่ายรักษ์ป่า แต่ป่าในครั้งนั้นไม่ใช่ป่าลึกเป็นป่าที่เดินเข้าไปสถานที่ท่องเที่ยว เท่านั้นหนทางสะดวกสบาย แต่ครั้งนี้เราจะไปเดินป่าจริงจัง ป่าที่เป็นตำนาน และจะเดินทางไปได้ต้องคนที่อยู่ในพื้นที่และชำนาญทางเท่านั้นที่จะพาเราไปถึง โซกพระร่วงลองพระขรรค์ ตอนเรียน เคยได้ยินอาจารย์หลายท่านพูดถึงโซกพระร่วง ในตอนที่เรียนประวัติศาสตร์ แต่ก็ไม่ได้คิดว่าสิ่งนี้จะมีอยู่จริง ทำให้ไม่ได้สนใจและลืมไป พอโตขึ้นได้มีโอกาสไปจังหวัดสุโขทัย จึงได้ยินชื่อนี้อีกครั้ง และที่ดีใจกว่านั้น เราจะได้เดินทางไปเที่ยวที่โซกพระร่วงในอีกสองวัน คำตอบที่ให้คือ “ไป” อย่างเดียวที่ไหน ไกลไหม ไม่สนใจ แค่ได้ไปเที่ยวก็พอ แม้จะเป็นการเที่ยวที่ลงทุนเยอะก็เหอะ ป้ายทางเข้า โซกพระร่วงลองพระขรรค์ ต้องจอดรถไว้รอด้านนอกแล้วเดินเท้าเข้าไปด้านใน การเดินทางเริ่มขึ้น ครั้งนี้เราเดินทางไปด้วยกันทั้งหมด 6 คน ซึ่งเป็นคนในพื้นที่พูดได้เลยว่า “หลับตาเดินยังไปถูก” ผู้นำทางอยู่กับป่าแห่งนี้มาตั้งแต่เกิด นักโบราณคดีอีกคนที่เคยเรียนแต่ในตำรา เพิ่งมาเดินป่าไปดูสถานที่จริงในครั้งนี้ ความรู้แน่นแน่นอน เราเดินทางโดยรถกระบะ เพื่อไปให้ถึงทางเข้าป่าเพื่อไปโซกพระร่วง ระยะทางในการเดินประมาณ 1 กิโลเมตร แต่เป็นหนึ่งกิโลเมตรที่ต้องใช้เวลานาน เพราะทางเดินจะเป็นป่าสลับกับทางน้ำที่เป็นหิน บางที่ต้องปีนก้อนหินขึ้นไป จึงทำให้ใช่เวลานาน ร่วมสองชั่วโมง การเดินทางสำหรับผู้สนใจเที่ยว ก่อนอื่นต้องติดต่อผู้นำทวงที่ชำนาญเส้นทาง เพราะป่าค่อนข้างลึก สลับซับซ้อน เพื่อป้องกันการหลงป่า เดินทางโดยรถส่วนตัว ลัดเลาะสวนเข้าไปได้จนถึงป้าย ชี้บอกทางเข้า โซกพระร่วงลองพระขรรค์ ซึ่งต่อจากนั้นเราจะต้องเดินเท้าเข้าไปอย่างเดียว สามารถพิมพ์ค้นหาในอินเทอร์เน็ต “โซกพระร่วงลองพระขรรค์” ถางป่าไปด้วย ทางเดินเข้าไปโซกพระร่วงนั้น เนื่องจากไม่ค่อยมีนักท่องเที่ยวเข้าไปบ่อยนัก หนึ่งปีมีหน อาจจะเพราะหนทางที่เข้าไปยากลำบาก มีอันตรายถ้าไม่ชำนาญทาง และต้องคอยสังเกตสีของน้ำ ถ้าหากน้ำที่เราเดินตามทางไปนั้นมีสีขุ่นลักษณะสีแดงเหมือนสีชาไทย ให้ระวังเรื่องของน้ำป่า อุปกรณ์ที่ต้องถือติดมือ ทางเข้าค่อนข้างจะรกคนที่นำหน้านั้นจะต้องถางป่าเพื่อให้เดินไปได้สะดวก ต้นไม้ กิ่งไม้ ขอนไม้ ครบหมด เมื่อถางคนที่เดินตามมาจะได้เดินสะดวก มีด พร้า เอาไว้ถางป่า ฟันต้นไม้ ส่วนไม้ 🦯 เอาไว้ช่วยพยุง หนทางที่เดินไปนั้นจะมีป่าหลายรูปแบบ ป่าทึบบ้าง ป่าโปร่งบ้าง ในส่วนของทางที่เดินสบายหน่อย ก็คือทางที่ชาวบ้านเข้ามาทำไว้ทำให้เราได้เห็นได้รู้จักสมุนไพรหลายชนิดที่อยู่ตามทาง ทางสลับเรียบบ้าง ปีนก้อนหิน บางทีต้องคลานกลัวลื่น ตอนที่เดินตามกลุ่ม มองไปรอบๆ ธรรมชาติและความอุดมสมบูรณ์ที่สุด ในต้นไม้มีเห็ด บนดินเห็ดก็เกิดขึ้นจำนวนมาก ถ้าหากมองจากภาพจริงสวยกว่าภาพถ่าย ดอกไม้ป่าระหว่างทาง ก่อนที่จะใกล้ทางน้ำนั้นต้นไม้ชุ่มชื่นเพราะตอนที่ไปนั้นเป็นช่วงของหน้าฝน แต่เกือบจะเข้าหน้าหนาว ความชุ่มชื่นจึงยังคงเหลืออยู่บ้าง ระหว่างรอคณะที่เข้าไปหาเห็ดเราก็แวะถ่ายรูปดอกไม้หน่อย เพื่อนรายทาง ตอนที่เดินในป่าดิบชื้น จะเห็นเพื่อนๆ พากันเดินออกมาทักทายเต็มไปหมด เพราะอยู่ในช่วงที่พักระหว่างทาง เพราะนอกจากสาวๆก็มีคนสูงวัยมาด้วย จึงจอดรอกันสักพัก เข้าป่าสิ่งที่เรามองหา คือสิ่งที่ธรรมชาติสร้างขึ้นมาอย่างมีศิลปะ กล้วยไม้ก็เห็นแต่คงไม่กล้าปีนขึ้นไปเอา เดี๋ยวหลงป่าคนเดียว สัญญาณบอกว่าใกล้ถึงจุดหมาย ทางน้ำที่เชื่อว่า ไหลมาจากโซกพระร่วง แต่ช่วงนี้ฝนไม่ค่อยตกทำให้น้ำแห้ง การเห็นดินในลักษณะนี้เป็นการบอกว่า ใกล้จะถึงโซกพระร่วง เราจะต้องเดินตามทางน้ำ เพราะโซกพระร่วงนั้นคือต้นน้ำ แค่นี้ก็รู้แล้วว่าไม่หลงป่าแน่นอน เวลาเข้าป่าการสังเกตต้องสำคัญที่สุด การเงียบเพื่อฟังเสียงต่างๆ ข้ามแอ่งน้ำป่ายปีนหิน หลังจากที่เราตามแนวสายน้ำมาเรื่อยๆ เราก็พบแอ่งน้ำมากขึ้น จากบ่อน้ำเล็กๆ ก็เริ่มมีน้ำเยอะขึ้น แต่น่าแปลกคือ แม้ว่าน้ำจะน้อยแต่ก็ยังมีปลาซึ่งเป็นปลา ชนิดเดียวที่มีในที่นี่ ลักษณะของปลาจะตัวยาวแหลมๆ ตัวใส ซึ่งเป็นชื่อปลาโบราณ แต่เสียดายจำไม่ได้😂 ถึงจุดหมายแล้ว โซกพระร่วง ตรงที่พระร่วงใช้พระขรรค์ พอเดินมาถึงตรงโซกพระร่วงความเหนื่อยก็หายไป เพราะอากาศเย็นและร่มรื่น ยิ่งเห็นสีของน้ำ สีฟ้าอ่อนแค่สีน้ำก็แปลกแล้ว มาดของนักโบราณคดีพูดบรรยายขึ้นทันที ⛰ มันใช่ตามที่หลักศิลาจารึกได้กล่าวไว้เลย ที่นี่คือ สรีดภงส์ ทำนบกลั้นน้ำ ชาวเมทองสุโขทัยเรียกทำนบพระร่วง และที่นี่น่าจะเป็น โตรกเขา โชกเขาแน่นอน ซึ่งโชกเขาคือที่ที่น้ำไหลมารวมกัน ตอนที่นั่งทานข้าว ฟังตำนานโซกพระร่วงกัน เป็นจริงไหม ? คงจะแล้วแต่ความเชื่อส่วนบุคคล แต่ถ้าเรามองไปที่หินแยก ก็เป็นจริงอย่างที่ตำนานบอกเล่ามา ตำนาน ที่พูดกันมาตั้งแต่ป้ายทางเข้า มีการเล่ามาว่า พระร่วงนั้นได้เสด็จมาประพาสป่า ชมธรรมชาติ เมื่อมาถึงโชกที่เป็นแอ่งกั้นน้ำ จึงได้อธิษฐานแล้วฟันดาบลงไป เพื่อเป็นการเปิดน้ำ ให้แยกออกจากกัน ทำให้นำ้ไหลไปให้ประชาชนได้ใช้ แล้วพอฟันลงไปหินก็แยกกันออกอย่างไม่น่าเชื่อ จากนั้นน้ำนั้นก็ได้ไหลผ่านโชกลงไปเรื่อยๆ จนได้เรียกว่า คลองเสาหอ หนทางที่ต้องฝ่าหินและแอ่งน้ำซึ่งไม่ลึกมาก เพื่อเข้าไปดูตรงที่ ต้นน้ำขนาดใหญ่ ลึกและสีน้ำสวย จากการพิสูจน์ แต่ถ้าไม่ใช่ตำนาน นักธรณีได้กล่าวว่า เกิดจากแผ่นดินไหวแล้วทำให้หินหดตัว แล้วทำให้ผืนดินแยกตัว ในส่วนของหินควอทไซท์นั้นมันจะขาดเป็นแนวเส้นตรง แต่สำหรับคนที่ได้เห็นกับตา ก็บอกได้เลยว่า วิทยาศาสตร์พิสูจน์ไม่ได้ แอ่งน้ำ ที่บอกว่าเป็นแอ่งต้นน้ำ ยังคงมีน้ำน่าจะลึกประมาณสี่เมตร ตรงขอบบ่อน้ำทั้งหมดเป็นก้อนหินที่ปีนขึ้นไปถ่ายรูปได้ น้ำใสและเย็นมาก จนอดใจไม่ไหว ค่อยๆเดินลงในบ่อน้ำทีละนิดจนเปียกทั้งตัว น้ำสะอาดเพราะรอบข้างและใต้น้ำเป็นก้อนหิน แต่การที่จะเข้ามาถึงตรงแอ่งนี้ ต้องใช้ความพยายามในการปีนก้อนหินเข้ามา ลื่นบ้าง ลึกบ้างแต่น่ำไม่ถึงหน้าอก สีของน้ำที่ถ่ายจากกล้องโทรศัพท์ธรรมชาติไม่ได้มีการปรับแต่ง สีของน้ำน่ากระโดดเล่นที่สุด เราใช้เวลาในการเล่นน้ำนานเกือบชั่วโมง จนทำให้หิวข้าว ซึ่งในการเดินทางมา พวกเราทุกคนหอบห่อข้าว มาจากบ้าน ข้าวเหนียวห่อหมู ที่ซื้อในตลาดห่อละสิบบาทได้เยอะมาก นอกจากนั้นยังมีแจ่วบอง ส่วนลุงคนนำทางนั้น หอบกล้วยมาเป็นหวี น่าจะกลัวว่าแรงจะหมด ภาพถ่ายทั้งหมดเป็นของผู้เขียนเอง (อุ้งเท้าแมว)🗺 แชร์ที่เที่ยวใหม่ๆ ไม่ว่าจะเที่ยวสายไหนก็มาแวะแชร์กับทรูไอดีคอมมูนิตี้ “เที่ยวไปให้สุด”