เรื่องน่ารู้ เทคนิคขับรถ เที่ยวอย่างปลอดภัยไร้กังวล
สำหรับคนที่มีรถส่วนตัว และคิดจะเที่ยวเนื่องในวันหยุดด้วยวิธีการขับรถตัวเอง แต่เป็นเรื่องที่น่าเศร้าอย่างยิ่งครับ เพราะในขณะที่คนไทยเกือบทั้งประเทศกำลังนับถอยหลังสู่ปีใหม่ที่กำลังจะมาถึง ยังคงมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังต้องนับจำนวนผู้บาดเจ็บและยอดผู้เสียชีวิตด้วยอุบัติเหตุทางรถยนต์อยู่เป็นประจำทุกปี เพื่อให้ปีใหม่นี้เป็นปีใหม่ที่ปลอดภัย จึงใคร่ขอนำเคล็ดไม่ลับเกี่ยวกับความปลอดภัยในการขับรถมาฝากครับ
ในทางทฤษฎีของ เว็บไซต์กองบังคับการตำรวจจราจร http://www.trafficpolice.go.th ระบุว่า จำต้องมี “5 ร.” ดังนี้ครับ
1. รอบรู้เรื่อง “รถ”
นักขับที่ดีจะต้องรอบรู้เรื่องรถที่ขับขี่เป็นอย่างดี หมั่นตรวจตราแก้ไขข้อบกพร่องอยู่เสมอโดย เฉพาะอย่างยิ่ง ก่อนออกเดินทางไกลควรจะได้ ตรวจอุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยที่สำคัญ ๆ
(1) เครื่องยนต์
(2) ห้ามล้อ
(3) ยาง
(4) นอตบังคับล้อ
(5) พวงมาลัย
(6) ที่ปัดน้ำฝน
(7) กระจกส่องหลัง
(8) ไฟ
2. รอบรู้เรื่องทาง
ทางแต่ละสายย่อมแตกต่างกัน โดยสภาพภูมิประเทศ และสภาพแวดล้อม ถ้าเป็นเส้นทางไม่เคยไป ควรศึกษาจากแผนที่ คู่มือการท่องเที่ยว ถามผู้รู้ หรือเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง เช่น กรมทางหลวง,ตำรวจท้องที่ ฯลฯ ที่สำคัญ ที่สุดท่านจะต้องสังเกตและปฏิบัติตามป้ายและเครื่องหมายจราจร
3. รอบรู้เรื่องวิธีขับรถ
การขับรถเป็นศิลปะอย่างหนึ่ง ขับรถเป็นอย่างเดียวไม่พอ ต้องรู้วิธีแก้ไข ปัญหาเฉพาะหน้าได้โดยฉับพลัน และสามารถหลีกเลี่ยงอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น โดยมิได้คาดคิด เนื่องจากขาดความชำนาญ
4. รอบรู้เรื่องกฎจราจร
กฎจราจรมีไว้เพื่อให้ผู้ใช้รถใช้ถนนประพฤติปฏิบัติในแนวเดียวกัน เพื่อ ความปลอดภัยและความสะดวกรวดเร็ว
5. รอบรู้เรื่องมารยาทในการขับรถ
มารยาทในการขับรถมีความสำคัญไม่น้อยในการใช้รถใช้ถนน นักขับขี่ ที่ดีควรแสดงความเป็นสุภาพบุรุษ อะลุ้มอล่วย เห็นใจ แนะนำและให้อภัย ต่อความผิดพลาดของผู้อื่น และหลีกเลี่ยงการแสดงมารยาทที่ไม่สมควร
ในขณะที่ข้อมูลเชิงปฏิบัติจาก คาสตรอล ไทยแลนด์ http://www.castrol.com ก็น่าสนใจไม่แพ้กันครับ
1. พักผ่อนให้เพียงพอ และขับขี่ด้วยความตื่นตัวตลอดเวลา
– พักผ่อนให้เพียงพอก่อนขับรถ
– วางแผนในการขับขี่
-หลีกเลี่ยงการใช้ถนน ระหว่างเที่ยงคืนถึงหกโมงเช้า
– หาเพื่อนนั่งไปด้วย และสลับกันขับ ถ้าเป็นไปได้
– วางแผนในการหยุดพักทุกๆ 2 ชม. หรือทุกๆ 160 กิโลเมตร
– ถ้าคุณรู้สึกว่ามองไม่ค่อยชัด, รู้สึกหนักหัว หรือคิดไม่ค่อยออก หาที่จอดรถข้างทาง และลองหลับตาสักครู่
2. ใช้ความระมัดระวัง เมื่อต้องแซงรถคันอื่น
– ถ้ารถที่คุณพยายามจะแซงเร่งเครื่องหนี ปล่อยเขาไป อย่าไปเร่งเครื่องตาม
– อย่าเสี่ยง หากมีปัญหาอย่าเข้าไป
3. เว้นระยะห่างในการขับขี่
– กฎที่สำคัญที่สุด ในการขับขี่อย่างปลอดภัยคือการเว้นระยะห่างจากรถคันหน้า เมื่อรถมีความเร็ว ทุกๆ 10 ไมล์/ชม. ให้เว้นระยะห่างประมาณรถหนึ่งคัน อย่างเช่น ถ้าขับรถด้วยความเร็ว 40 ไมล์/ชม. ให้เว้นระยะห่างจากรถคันหน้าเท่ากับรถ 4 คัน การรักษาระยะห่างดังนี้ จะช่วยลดการเกิดอุบัติเหตุได้
– ถ้าคุณไม่สามารถมองเห็นข้างหน้าของรถที่อยู่หน้าคุณ ให้เพิ่มระยะห่างให้มากขึ้น เพราะรถคันหน้าอาจจะเปลี่ยนเลนโดยไม่ได้ลดความเร็วหรือหยุดรถ ทำให้คุณตกอยู่ในอันตรายได้ ถ้าคุณต้องหยุดรถ ให้ชิดซ้ายและใช้ไฟฉุกเฉิน
– พยายามที่จอดรถชิดซ้าย หรือไหล่ทาง เพราะไม่เช่นนั้นอาจทำให้เกิดความเสียหายอย่างหนักได้
– ถ้าต้องจอดรถบนไหล่ทาง ให้เปิดไปฉุกเฉิน ไม่ว่าจะกลางวันหรือกลางคืน ในตอนกลางคืนอาจจะมีรถบางคันที่ตามมาบนไหล่ทาง เพราะคิดว่าคุณกำลังวิ่งอยู่
– หากมีเหตุฉุกเฉินทำให้คุณต้องหยุดและจอดรถบนถนน ให้เปิดไฟฉุกเฉินทันที
– ใส่ป้ายบอกเหตุสามเหลี่ยมกับรถด้วย เพื่อที่จะใช้ได้ตอนกลางคืน มันจะช่วยไม่ไห้รถถูกชนได้
4. เพิ่มความระมัดระวังเมื่อทัศนวิสัยการขับขี่ไม่ดี
– ใช้ความเร็วที่เหมาะสม เพื่อให้มั่นใจได้ว่าระยะทางและความเร็วที่ลดลงจะสามารถทำให้หยุดรถได้อย่างปลอดภัยไม่ถูกรถคันหลังชน
– แตะเบรคเบาๆ และหยุดโดยไม่ส่ายไปมา
– ระวังในกาเข้าโค้ง เพราะอาจจะไถลไปอีกเลน หรือออกจากถนน
– ขับให้ช้าลงหรือจอด เมื่อทัศนวิสัยไม่ดี
– ขับรถด้วยความเร็วในระดับที่ปลอดภัย ดูแลให้รถยนต์สะอาด โดยเฉพาะไฟหน้า, กระจก, และไฟท้าย ใช้ไฟฉุกเฉินหากจำเป็น
– ก่อนขับออกจากช่องจอดให้ใช้ความระมัดระวัง ตรวจสอบทั้งรถและระวังคนเดินข้ามถนน
– ขับช้าลงเพื่อหลีกเลี่ยงคนเดินเท้าที่อยู่ด้านหน้าของรถ เพราะเป็นเรื่องยากมากในการกะระยะห่างของรถที่วิ่งเข้ามาหาตัว ดังนั้นการที่คุณเร่งความเร็วขึ้น อาจเป็นอันตรายต่อคนเดินเท้าได้
– ในเวลากลางคืน คนข้ามถนนมักจะคิดว่า คุณมองเห็นพวกเขา เพราะเขาสามารถมองเห็นไฟจากรถคุณได้ง่าย
อย่าลืมนะครับ ทุกครั้งที่คุณนั่งหลังพวงมาลัย โปรดคำนึงว่ายังมีคนที่คุณรัก รอการกลับไปของคุณอยู่ เดินทางปลอดภัย เที่ยวให้สนุก และขับขี่อย่างระมัดระวังครับ
ติดตาม travel.truelife.com อีกช่องทางที่
ทุกเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับการท่องเที่ยว อาหาร และที่พัก คลิกที่ http://travel.truelife.com