ประวัติต้นชมพูพันธุ์ทิพย์ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Tabebuia rosea (Bertol.) DC. จัดอยู่วงศ์ Bignoniaceae โดยมีชื่อที่ใช้เรียกกันทั่วไปในภาษาอังกฤษว่า Pink Tecoma, Pink Trumpet Tree และ Rosy Trumpet-tree ส่วนในไทยก็มีชื่อเรียกหลายชื่อด้วยกัน เช่น ชมพูอินเดีย ธรรมบูชา และแตรชมพู ชมพูพันธุ์ทิพย์ เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ ขนาดกลางถึงใหญ่ ยอดรูปไข่ หรือทรงกลม แผ่กว้างเป็นชั้น ๆ เปลือกต้นเรียบสีเทาหรือสีน้ำตาล เมื่ออายุมากเปลือกแตกเป็นร่อง กิ่งเปราะหักง่าย ใบเป็นใบประกอบรูปนิ้วมือ ดอกมีสีชมพูอ่อน ชมพูสด ถึงสีขาว กลางดอกสีเหลือง ออกเป็นช่อแบบช่อกระจุกที่ปลายกิ่ง มีดอกย่อยจำนวนมาก โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดปลายแยกเป็น 5 แฉก คล้ายรูปแตร ยาว 5-7 เซนติเมตร ดอกบานเต็มที่กว้าง 5-8 เซนติเมตร มักบานพร้อมกัน ร่วงง่าย ผลเป็นผลแห้ง แตกเป็นฝักกลม ยาว 15-30 เซนติเมตร เมื่อแก่แตกเป็น 2 ซีก เมล็ดแบนสีน้ำตาล มีปีก ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ดหรือตอนกิ่ง ชมพูพันธุ์ทิพย์ เป็นต้นไม้ขนาดกลาง ผลัดใบ ความสูงประมาณ 8-25 เมตร แตกกิ่งแผ่กว้างเป็นชั้น เรือนยอดรูปไข่หรือทรงกลม ลำต้นขนาดใหญ่ เปลือกลำต้นเรียบสีน้ำตาลหรือสีเทา แต่เมื่อมีอายุมากเปลือกลำต้นจะแตกเป็นร่อง กิ่งเปราะหักง่าย ใบเป็นใบประกอบรูปนิ้วมือ ใบเรียงตรงกันข้าม มีใบย่อย 5 ใบ แผ่นใบหนาขอบเรียบ สีเขียวเข้ม ปลายใบเรียว โคนใบสอบ ใบคล้ายรูปไข่แกมรูปรี ความกว้าง 3-7 เซนติเมตร ยาว 7.5-16 เซนติเมตร ออกดอกเป็นช่อ กระจุกตามกิ่ง ช่อละ 5-8 ดอก กลีบดอกมีทั้งสีชมพูอ่อน ชมพูสด และสีขาว ตรงกลางดอกสีเหลือง ดอกบานเต็มที่จะมีความกว้างประมาณ 5-8 เซนติเมตร โดยทิ้งใบในช่วงเดือนพฤศจิกายน-มกราคม และออกดอกในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน นอกจากนี้ยังมีฝักกลม ยาว 15-30 เซนติเมตร เมล็ดแบน สีน้ำตาล 13 กุมภาพันธ์ 2564 เป็นภาพถ่ายตอนเช้า ตอนเราไปถึง คือ ถนนโล่งมาก คนน้อย ไม่แออัด ดอกไม้สวยมาก ไม่ช้ำเลย คงเพราะเป็นช่วงโควิด19 ดอกสวยงาม บานเต็มถนน เพื่อนๆจะจอดรถลงไปชมใกล้ๆ หรือ ขับรถผ่าน ก็สวยงามเหลือเกิน หากผ่านไปทางนครปฐม เส้นถนน กำแพงแสน-พนมทวน ขอชวนไปแวะเที่ยวชมความงามของถนนเส้นนี้กันนะ เครดิตภาพ : เกษมณี