5 วัดสวยทำบุญไหว้พระ จ.อยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา หรือที่เรียกกันจนชินปากว่า จังหวัดอยุธยา ถือเป็นจังหวัดที่เก่าแก่ที่สุดของประเทศไทยจังหวัดหนึ่ง ตั้งอยู่บริเวณภาคกลางของประเทศไทย ห่างจากกรุงเทพฯโดยประมาณ 80 กิโลเมตร เป็นจังหวัดที่มีเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของไทยอย่างมากมาย เนื่องจากอยุธยานั้นถือเป็นเมืองเริ่มต้นของประเทศไทยเลยก็ว่าได้ เพราะกว่าจะมาเป็นกรุงรัตนโกสินทร์ในปัจจุบันนั้น ก็ได้เกิดเป็น กรุงสุโขทัย กรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี และกรุงรัตนโกสินทร์ตามลำดับ อีกทั้งจังหวัดอยุธยานี้ได้หลงเหลือความเป็นศิลปะวัฒนธรรมของกรุงศรีอยุธยาไว้มากที่สุด อาธิเช่น สถาปัตยกรรมการก่อสร้างวัดและเจดีย์ต่าง ๆ ในสมัยนั้น , วิธีการดำเนินชีวิตของชาวกรุงศรี เป็นต้น และยังได้รวบรวมศิลปะการหล่อพระจากเมืองอื่น ๆ มาประดิษฐานไว้ในวัดเหล่านี้ จนเรียกได้ว่าเป็นเมืองโบราณของไทย ที่หากแขกไปใครมาก็คงต้องเดินทางมาเยี่ยมชมจังหวัดนี้ แม้แต่ชาวต่างชาติเองที่อยากจะมาชื่นชมความเป็นไทยอันวิจิตรงดงามหรือการดำเนินชีวิตแบบไทย ๆ ก็คงเป็นที่ไหนไปไม่ได้นอกจาก อยุธยา Cr.Picture : ภาพถ่ายโดย icon0.com 1. วัดพระศรีสรรเพชญ์ ( Wat Phra Si Sanphet ) Cr.Picture : https://pixabay.com Cr.Picture : https://pixabay.com วัดพระศรีสรรเพชญ์ มีความโดดเด่นในเรื่องของพระสถูปเจดีย์ทั้งสามองค์ ซึ่งภายในพระสถูปเจดีย์นั้นถูกบรรจุด้วยพระอัฐิของพระมหากษัตริย์องค์สำคัญของกรุงศรีอยุธยา ในช่วงปี พ.ศ. 2035 - 2043 โดยพระสถูปเจดีย์จะมีการเรียงตัวจากทิศตะวันออกทอดยาวไปจนถึงทางทิศตะวันตก นอกจากจะเป็นสถานที่ที่มีความศักดิ์สิทธิ์แล้ว ยังเป็นสถานที่ที่ชวนให้รำลึกถึงพระมหากษัตริย์อันเป็นที่รักของคนไทยอีกด้วย ที่อยู่ : ต.ประตูชัย อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา 13000 เปิด : ทุกวัน เวลา 08.00 - 18.00 น. 2. วัดธรรมิกราช ( Wat Thammikarat ) Cr.Picture : https://www.canva.com Cr.Picture : https://pixabay.com วัดธรรมิกราช เป็นวัดที่เก่าแก่อีกวัดหนึ่งในจังหวัดอยุธยา ได้พบหลักฐานชิ้นสำคัญในสมัยกรุงศรีอยุธยา นั่นก็คือ เศียรพระพุทธรูปสำริดที่มีความสำคัญอย่างมากในประเทศไทย ซึ่งในปัจจุบันหลักฐานชิ้นนี้ได้ถูกนำไปเก็บไว้ ณ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ แต่เราก็ยังสามารถเดินทางไปเยี่ยมชมศิลปะอันงดงามภายในวัด ที่โดดเด่นเรื่อง "สิงห์" และ "วิหารเก้าห้อง" มีความเก่าแก่โบราณไม่แพ้กับตัววัดเลย ที่อยู่ : ถ.อู่ทอง ต.ท่าวาสุกรี อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา 13000 เปิด : ทุกวัน เวลา 08.30 - 16.30 น. โทร : 035 - 328 - 555 3. วัดมหาธาตุ ( Wat Mahathat ) Cr.Picture : https://pixabay.com Cr.Picture : https://pixabay.com วัดมหาธาตุ เป็นวัดที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในสมัยกรุงศรีอยุธยาและเป็นวัดที่เป็นศูนย์กลางของกรุงศรีอยุธยา เนื่องจากเป็นวัดที่ใช้ในการจัดพระราชพิธีในสมัยนั้นแล้ว ยังเป็นที่ประดิษฐานของพระบรมสารีริกธาตุอีกด้วย และเป็นวัดที่มีผู้สร้างขึ้นถึง 2 พระองค์ เนื่องด้วยพระองค์แรกยังสร้างไม่ทันแล้วเสร็จก็ได้เสด็จสวรรคตไปเสียก่อน แต่ก็ได้มีพระองค์ที่สองมาปลูกสร้างต่อจนแล้วเสร็จ ที่อยู่ : ถ.นเรศวร ต.ท่าวาสุกรี อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา 13000 เปิด : ทุกวัน เวลา 08.30 - 16.30 น. โทร : 035 - 322 - 685 4. วัดใหญ่ชัยมงคล ( Wat Yai Chaimongkol ) Cr.Picture : https://pixabay.com Cr.Picture : https://pixabay.com วัดใหญ่ชัยมงคล จุดเด่นของวัดนี้ก็คงจะเป็นอะไรไปไม่ได้นอกจาก พระเจดีย์องค์ใหญ่อลังการ ที่ว่ากันว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งชัยชนะของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ที่เปิดให้ผู้คนเดินขึ้นบันไดเข้าไปเยี่ยมชมภายในเจดีย์ได้ อีกทั้งภายในวัดยังเป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธชัยมงคล พระนอนองค์ใหญ่ และศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช วัดค่อนข้างเก่าแก่แต่ยังไม่มากนัก ภายในวัดมีความสงบร่มรื่น กว้างขวางใหญ่โต ที่อยู่ : 40/3 ม.3 ต.คลองสวนพลู อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา 13000 เปิด : ทุกวัน เวลา 08.00 - 17.00 น. โทร : 035 - 242 - 640 5. วัดไชยวัฒนาราม ( Wat Chaiwatthanaram ) Cr.Picture : https://pixabay.com Cr.Picture : https://pixabay.com วัดไชยวัฒนาราม เป็นวัดที่ถูกสร้างขึ้นในช่วงปี พ.ศ. 2173 ภายในวัดมีความใหญ่โตตระการตา มีการวางผังวัดอย่างเป็นระเบียบอยู่ในจุดเดียวและเป็นสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์อย่างมาก เนื่องจากเป็นสถานที่ที่ใช้ในการตั้งค่ายรับศึก ในครั้งที่เสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง อีกทั้งยังเป็นวัดที่ใช้ในการถวายพระเพลิงศพของพระบรมวงศานุวงศ์แทบทุกพระองค์ในช่วงสมัยนั้น ที่อยู่ : ต.บ้านป้อม อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา 13000 เปิด : ทุกวัน เวลา 08.00 - 18.30 น. วัดที่ตั้งอยู่ในจังหวัดอยุธยาแห่งนี้ ต่างมีความสวยงาม ความโดดเด่น และประวัติศาสตร์ที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งภายในแต่ละวัด ต่างก็มีการเล่าเรื่องราวผ่านการวาดบ้าง ผ่านการเขียนบ้าง ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ของผู้สร้าง แต่ท้ายที่สุดแล้วผู้สร้างทุกท่านก็คงมุ่งหวังที่จะสร้างวัดเหล่านี้ เพื่อเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจให้กับสามัญของตน และเป็นอนุสรณ์สถานให้กับประชานชนรุ่นหลังอย่างพวกเราในปัจจุบัน Cr.ภาพปก : https://pixabay.com