สวัสดีครับ วันนี้ผู้เขียนจะมาเขียนบรรยายประสบการณ์ในการไปเที่ยวและซื้อของที่ตลาดแถวบ้านๆของผู้เขียน หลายคนมักอยากจะเดินทางมาเที่ยวหรือซื้อของกันอยู่เป็นประจำ ยิ่งถ้าเป็นวันพฤหัสบดีคนจะเยอะเป็นพิเศษเพราะเป็นวันตลาดนัดซึ่งจะมีร้านค้ามาตั้งแผงขายจำนวนมาก ตลาดที่ว่านี้ก็คือ ตลาดลานสักหรือที่ชาวบ้านแถวนั้นเรียกกันติดปากว่า ตลาดปากเหมือง นี่เองครับ ภาพถ่ายโดยนักเขียน ภาพถ่ายโดยนักเขียน ภาพถ่ายโดยนักเขียน ภาพถ่ายโดยนักเขียน ตลาดลานสัก เป็นตลาดสดขนาดใหญ่แห่งหนึ่งและเป็นตลาดประจำอำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานีซึ่งอยู่ห่างจากศูนย์ราชการอำเภอลานสักประมาณ 5 กิโลเมตร ตลาดสดแห่งนี้เริ่มสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2475 ขณะนั้นมีบุคคลสำคัญที่เป็นผู้บุกเบิกและนำพาความเจริญสู่อำเภอลานสัก บุคคลท่านนั้นคือ นายทวีศักดิ์ จิวานุพันธ์ ครับ ตลาดแห่งนี้มีพื้นที่ขายบริเวณกว้างขวาง มีร้านค้าต่างๆจำนวนมากซึ่งขายสินค้าประเภทต่างๆ อาทิ กับข้าวสำเร็จรูป อาหารสด ผลไม้สด ผักสด อาหารแช่แข็ง วัตถุดิบที่ใช้ในการประกอบอาหาร เช่น หอม กระเทียม พริกไทย เป็นต้น เสื้อผ้า รองเท้า กระเป๋า ฯลฯ ทำให้ผู้คนที่เดินทางมาตลาดสามารถเลือกชมสินค้าและซื้อสินค้าได้ตามความต้องการและความสะดวกอีกด้วย รวมทั้งมีร้านอาหารและร้านเครื่องดื่มเอาไว้ให้บริการแก่ลูกค้าเพื่อเข้าไปใช้บริการได้อย่างครบครัน บรรยากาศส่วนใหญ่นักท่องเที่ยวมักจะเดินทางมาซื้อของในตอนกลางวันเป็นจำนวนมาก ยิ่งถ้าเป็นช่วงวันหยุดยาวหรือช่วงเทศกาลสำคัญ นักท่องเที่ยวมักจะเดินทางมาจับจ่ายใช้สอยกันอย่างคึกคักเป็นพิเศษแน่นอนครับ ภาพถ่ายโดยนักเขียน ภาพถ่ายโดยนักเขียน ภาพถ่ายโดยนักเขียน ภาพถ่ายโดยนักเขียน นอกจากนี้บริเวณภายนอกของตลาดลานสักจะมีแถวตึกอาคารซึ่งเป็นที่ตั้งของร้านค้าต่างๆ จำนวนมาก อาทิ ร้านสะดวกซื้อ ธนาคาร ร้านขายของชำ ร้านโทรศัพท์ ร้านอินเทอร์เน็ต ร้านขายยา ฯลฯ พวกเราสามารถเลือกเข้าไปใช้บริการได้ตามความสะดวกและครบครันทุกความต้องการเลยทีเดียว บริเวณถนนภายนอกของตลาดสดทั้ง 2 ข้างทางมีสถานีบริการน้ำมันจำนวนหลายแห่ง เพื่อให้นักท่องเที่ยวสามารถแวะเติมน้ำมันรถ พักผ่อนและซื้อของในร้านสะดวกซื้อหรือร้านค้าได้อย่างสะดวกรวมทั้งมีแถวตึกอาคารร้านค้าต่างๆ หลายแห่งเช่นเดียวกับบริเวณทางเข้าตลาดสดนั่นเอง จุดที่สำคัญของตลาดแห่งนี้ คือ บริเวณข้างร้านค้าปลีกส่งขนาดใหญ่จะเป็นที่ตั้งของอนุสาวรีย์นายทวีศักดิ์ จิวานุพันธ์ เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้มาขอพรสิ่งศักดิ์สิทธิ์อันเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต และบริเวณตรงข้ามร้านค้าปลีกส่งขนาดใหญ่จะเป็นลานจอดรถซึ่งเป็นพื้นที่ขนาดใหญ่กว้าง เพื่อให้นักท่องเที่ยวสามารถจอดรถบริเวณได้อย่างสะดวกและเป็นระเบียบเรียบร้อย เป็นที่ตั้งแผงร้านค้าต่างๆในช่วงที่เป็นงานมหกรรมต่างๆและเป็นสถานที่จัดกิจกรรมที่สำคัญของชาวอำเภอลานสักได้อีกด้วยครับ ภาพถ่ายโดยนักเขียน ภาพถ่ายโดยนักเขียน ช่วงเช้าทุกวันพฤหัสบดีเป็นวันตลาดนัดปากเหมือง ในวันนั้นจะมีนักท่องเที่ยว ชาวบ้านและคนต่างจังหวัดเดินทางมาเป็นจำนวนมาก มีร้านค้าจำนวนหลายร้านที่ตั้งแผงบริเวณ 2 ข้างทางโดยเริ่มตั้งแต่หน้าห้างเทสโก้ โลตัส เอ็กซ์เพรส สาขาลานสักยาวไปจนถึงลานจอดรถหน้าตลาดสดลานสัก ทำให้บรรยากาศในการจับจ่ายใช้สอยคึกคักและหนาแน่นมากเป็นพิเศษ มีสินค้ามาขายหลากหลายชนิดทั้งของกินและของใช้ นักท่องเที่ยวสามารถเลือกชมสินค้าและซื้อสินค้าได้ตามความต้องการและครบครัน ส่วนใหญ่นักท่องเที่ยวมักจะหาของกินเล่นระหว่างเดินเที่ยวตลาดนัด เช่น ขนมโตเกียว ปลาหมึกย่าง ไส้กรอกอีสาน ขนมปังเบเกอรี่ ผลไม้แช่อิ่ม น้ำปั่น กาแฟ ชา เป็นต้น ทำให้พวกเราได้มีอรรถรสในการเดินตลาดนัดมากขึ้น นอกจากนี้ยังมีต้นไม้นำมาขายหลายต้น เพื่อให้นักท่องเที่ยวสามารถเลือกซื้อเพื่อนำต้นไม้นั้นกลับไปปลูกที่บ้านได้ บริเวณข้างในปั๊ม ปตท.สาขาลานสัก เป็นที่จอดรถสำหรับนักท่องเที่ยวที่นำรถจักรยานยนต์เดินทางมาตลาดนัดแห่งนี้ โดยจะเก็บค่าบริการคันละ 10-20 บาทรวมทั้งแถวตึกอาคารที่เป็นร้านค้าจะมีนักท่องเที่ยวมาใช้บริการในวันนั้นจำนวนมากเช่นกันครับ ยิ่งในช่วงวันหยุดยาวและเทศกาลสำคัญ นักท่องเที่ยวจะมาจับจ่ายใช้สอยที่ตลาดนัดแห่งนี้กันอย่างเป็นจำนวนมากและคึกคักเป็นพิเศษด้วยครับ ภาพถ่ายโดยนักเขียน ภาพถ่ายโดยนักเขียน การเดินทางมาตลาดสดลานสัก สามารถเดินทางได้หลายวิธี ได้แก่ รถส่วนตัว รถโดยสารประจำทางมีทั้งหมด 2 สาย คือ รถสองแถวจากอุทัยธานี-ลานสักและรถสองแถวจากหนองฉาง-ปากเหมือง โดยอัตราค่าโดยสารของรถทั้ง 2 คันจะเริ่มต้นที่ราคา 10-50 บาทขึ้นอยู่กับระยะทางตามที่อยู่ของนักท่องเที่ยว เปิดให้บริการทุกวันนะครับ เป็นอย่างไรกันบ้างครับ สำหรับบทความที่เขียนบรรยายในวันนี้หวังว่าผู้อ่านจะถูกใจและชอบไปเดินตลาดสดแห่งนี้มากขึ้นนะครับ ถ้าใครมีโอกาสสามารถเดินทางมาท่องเที่ยวที่ตลาดสดลานสักได้ตลอดเวลาครับ หากบทความเรื่องนี้มีข้อผิดพลาดประการใด ผู้เขียนขออภัยมา ณ โอกาสนี้ด้วยครับ สำหรับวันนี้ผู้เขียนขออนุญาตจบการเขียนบรรยายในบทความเรื่องนี้แล้วนะครับ ขอบคุณครับ