รวมเหตุการณ์แผ่นดินไหวในประเทศไทย 50 ปีย้อนหลัง

ประเทศไทยเราแม้จะไม่ได้ตั้งอยู่ใกล้ขอบแผ่นเปลือกโลกแบบประเทศในแนว Ring of Fire แต่แผ่นดินไหวก็เกิดขึ้นอยู่เป็นครั้งคราว วันนี้เราจะมาดู ข้อมูลสถิติแผ่นดินไหวในอดีตของไทย เพื่อให้เข้าใจภาพรวม และแนวโน้มของเหตุการณ์แผ่นดินไหวในประเทศของเรา
- รับมือแผ่นดินไหว วิธีป้องกันภัยจากแผ่นดินไหว
- รวมรอยเลื่อนในประเทศไทย ที่ทำให้เกิด แผ่นดินไหว และ รอยเลื่อนประเทศเพื่อนบ้าน
แผ่นดินไหวในอดีตของประเทศไทย 50 ปีย้อนหลัง
I love photo / Shutterstock.com
จากข้อมูลของกรมอุตุนิยมวิทยาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แผ่นดินไหวในประเทศไทยที่บันทึกไว้ส่วนใหญ่จะมีขนาดอยู่ในระดับเล็กถึงปานกลาง (โดยส่วนมากไม่เกิน 6.0 ริคเตอร์) และเหตุการณ์ที่ประชาชนรับรู้ได้มักเกิดในพื้นที่ภาคเหนือ เช่น เชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ลำพูน และพะเยา ซึ่งมีรอยเลื่อนที่มีพลังอยู่ในบริเวณนั้น
(ข้อมูลนี้ได้รับการยืนยันจากกรมอุตุนิยมวิทยา
สถิติแผ่นดินไหวในอดีต
- 17 กุมภาพันธ์ 2518 – ขนาด 5.6 ริคเตอร์ (อ.ท่าสองยาง จ.ตาก)
เกิดจากรอยเลื่อนเมย-อุทัยธานี - 22 เมษายน 2526 – มีขนาด 5.6 ริคเตอร์ (อ.ศรีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรี)
เกิดจากรอยเลื่อนศรีสวัสดิ์ - 11 กันยายน 2537 – ขนาด 5.1 ริคเตอร์ (อ.พาน จ.เชียงราย)
เกิดจากรอยเลื่อนใน จ.เชียงราย - 9 ธันวาคม 2538 – ขนาด 5.1 ริคเตอร์ (อ.ร้องกวาง จ.แพร่)
- 21 ธันวาคม 2538 – ขนาด 5.2 ริคเตอร์ (อ.พร้าว จ.เชียงใหม่)
- 5 พฤษภาคม 2557 - ขนาด 6.3 ริคเตอร์ (อ.พาน จ.เชียงราย)
เกิดจากรอยเลื่อนพะเยา - *28 มีนาคม 2568 - ขนาด 8.2 ลึก 10 กม. พิกัดประเทศเมียนมา
เกิดจากรอยเลื่อนสะกาย ซึ่งส่งผลกระทบรุนแรงถึงอาคารสูงในประเทศไทย บริเวณภาคเหนือ ภาคกลาง รวมถึงกรุงเทพมหานคร
Naypong Studio_Shutterstock.com
ทำไมภาคเหนือถึงได้รับผลกระทบมากกว่า?
พื้นที่ภาคเหนือของไทยมีลักษณะทางธรณีวิทยาที่เอื้อต่อการเกิดแผ่นดินไหว เนื่องจากมีรอยเลื่อนที่มีพลังอยู่ในบริเวณนั้น นอกจากนี้ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา มีแผ่นดินไหวที่รับรู้ได้โดยประชาชนประมาณปีละ 8 ครั้ง ซึ่งส่วนใหญ่เกิดในภาคเหนือ
แม้ว่าประเทศไทยจะไม่ได้เผชิญกับแผ่นดินไหวที่รุนแรงมากนัก แต่ประวัติแผ่นดินไหวในอดีตของเรานั้นชี้ให้เห็นถึงแนวโน้มและพื้นที่ที่มีความเสี่ยงอยู่เป็นประจำ ข้อมูลเหล่านี้ไม่เพียงแต่ช่วยให้เรามีความรู้และตระหนักถึงภัยธรรมชาติ แต่ยังเป็นฐานข้อมูลสำคัญในการพัฒนาระบบเตือนภัยและการก่อสร้างอาคารที่มีความปลอดภัยยิ่งขึ้น
====================