ประวัติ ผู้ก่อสร้างสมเด็จพระเพทราชาแห่งราชวงศ์บ้านพลูหลวงในสมัยปลายกรุงศรีอยุธยา พ.ศ.2231-2232 และได้รับการบูรณะในสมัยรัชกาลพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ พ.ศ.2275-2301 มีการสร้างประตูไม้ประดับมุกไฟหนึ่งคู่ติดไว้ที่หอมณเฑียรธรรม วัดพระศรีรัตนศาสดารามอีกคู่ที่วัดเบญจมบพิตร และอีกคู่เก็บไว้ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ป้ายวัดอยู่ติดฟุตบาทถนนศรีสรรเพชญ์ พระอุโบสถ อาคารสี่เหลี่ยมผืนผ้าพนังเป็นอิฐแดงทั้งสี่ด้านมีเสาทรงกลมรองรับหลังคา(ชำรุด)ไม่มีให้เห็นพื้นปูด้วยอิฐแดงด้านนอกมีระเบียงคตล้อมรอบ ข้างในอุโบสถพระพุทธรูปปพระประธานประดิษฐานบนแท่นยกสูง ปางสมาธิ เพื่อให้พุทธศาสนิกชนได้กราบไหว้สักการะ ขนาดเล็กวัดส่วนบุคคลสมัยโบราณเชื้อพระวงค์นิยมสร้างวัดเพิ่มบารมีให้แก่ตนเองและครอบครัววงค์ตระกูล ด้านข้างโบสถ์มีประตูทางเข้า ระเบียงคตด้านขวาสร้างเป็นกำแพงไม่สูงแสดงขอบเขตความศักดิ์สิทธิหรืออาณาบริเวณ ด้านซ้ายเสามีระเบียงคตเช่นเดียวกันต้นเสาจริงเป็นอิฐแดงชำรุดใช้ปูนทาปิดทับยืดอายุต้นเสา สภาพภายในโบสถ์น่าจะใช้ประกอบพิธีกรรมเฉพาะบ้านบัวหลวงมีพระพุทธรูปเป็นพระประทานประดิษฐานบนแท่นสูงบ่งบอกถึงการตรัสรู้ธรรมอย่างแจ่มแจ้งควรค่าแก่การสักการะสภาพฝาผนังทรุดโทรมมาก ลักษณะเจดีย์สูงเพรียวโดยการยึดส่วนฐานให้สูงขึ้น เรือนธาตุมีขนาดเล็กมีซุ้มจระนำยื่นออกมาทั้งสี่ด้าน เหนือขึ้นไปเป็นส่วนยอดที่เป็นชั้นหลังคาซ้อนลดหลั่นกันขึ้นไป เดิมส่วนยอดของเจดีย์ได้พังทลายลงมา ต่อมาเมื่อกรมศิลปกรบูรณะจึงได้นำส่วนยอดขึ้นไปประกอบไว้ที่เดิม เจดีย์ สถาปัตยกรรมจากลังกา ตั้งอยู่บนฐานปูนสูงช่วงปลายเจดีย์ตกแต่งมุขเป็นชั้น(ชำรุดบางส่วน)มีการปรับปรุงซ่อมแซมโดยใช้ปูนยึดติดไม่ให้โครงสร้างหลักเสียหายมีบันได้ข้นไปเจดีย์ทั้ง 4 ด้าน เจดีย์ทรงปรางค์ ตั้งอยู่บนฐานประทักษิณมีระเบียงอยู่โดยรอบชำรุดเหลือเพียงส่วนฐานสัณนิษฐานว่างองค์เจดีย์เมื่อคร้้งสมบูรณ์น่าจะมีรูปแบบคล้ายกับเจดีย์ทรงปรางค์ที่ตั้งอยู่คู่กัน คลองเดินเรือ & สะพาน คลองน้ำตลาดดินสอ ในอดีตการเดินทางอาศัยคลองแทนถนนในการสัญจรไป-มา โดยทางเรือ ถัดจากบริเวณวัดพุทธารามจะเป็นตลาดขายเครื่องเขียนแหล่งใหญ่ของเมืองกรุงศรีอยุธยา สะพานข้ามคลอง มีคลองต้องมีสะพานข้ามสร้างด้วยอิฐแดงโบราณแข็งแรงคล้ายหินสภาพชำรุดเล็กน้อยแต่สะพานยังใช้งานได้ตามปกติ แต่ในอนาคตคงชำรุดไปเรื่อยๆ จากรากต้นไทรชอนไชแบบไม่เกรงใจใคร บริเวณพื้นที่ต้นไม้สูงเป็นตลาดเก่า ต้นไม้น่าจะอยู่มานาน(ไม่มีป้ายบอกอายุ)บรรยากาศในอาณาบริเวณใต้ร่มไม้สวยมีเสน่ห์อากาศเย็นจนหนาว วิหารใช้ประกอบการจัดพิธีกรรมต่างๆ พื้นยกสูงมีบันไดทางขึ้น ปัจจุบันพื้นที่ของวัดเป็นส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครศรีอยุธยาแหล่งเรียนรู้ทางโบราณคดี และสถาปัตยกรรมไทยโบราณที่นักท่องเที่ยวใช้เป็นจุดพัก & เก็บภาพ ภาพหน้าปก ผู้เขียน ภาพทั้งหมด ผู้เขียน อยากไปเที่ยวไหนหรือเปล่า? หาข้อมูลที่เที่ยวสุดปังได้ที่ App TrueID โหลดเลย ฟรี !