ประวัติศาสตร์ อัฟกานิสถาน Afghanistan แดนแห่งสงคราม และอารยธรรมโบราณของโลก
แม้จะเป็น 1 ในประเทศที่อันตรายที่สุดในโลก แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าครั้งหนึ่ง อัฟกานิสถาน เคยเป็นหนึ่งในดินแดนที่รุ่มรวยด้วยอารยธรรมโบราณ และประวัติศาสตร์โลกที่น่าสนใจ ด้วยความที่ตั้งอยู่บริเวณรอยต่อระหว่างทวีป ทั้งเอเชียกลาง เอเชียตะวันตก และเอเชียใต้ เป็นหนึ่งในเส้นทางสายไหมโบราณที่สำคัญในการเดินทางค้าขายจากจีนสู่ตุรกี และยังมีสถานที่ที่ผสมผสานสถาปัตยกรรมหลากหลายรูปแบบเข้าด้วยกัน ไม่ว่าจะกรีก, เปอร์เซีย, อินเดีย เอาเป็นว่าเรามาลองทำความรู้จักกับประวัติศาสตร์ของประเทศนี้ให้มากขึ้นกันดีกว่าครับ
ประวัติศาสตร์ ประเทศอัฟกานิสถาน
ข้อมูลเบื้องต้น ที่ตั้ง ประเทศอัฟกานิสถาน
กรุงคาบูล อัฟกานิสถาน
คำว่า อัฟกานิสถาน (Afghanistan) หมายถึง ดินแดนของชาวอัฟกัน (คำว่า สถาน หรือ สแตน (Stan) หมายถึงที่ดิน หรือดินแดน) ประชากรประมาณ 31 ล้านคน (ปี 2020) มีพื้นที่ประมาณ 647,500 ตารางกิโลเมตร ไม่มีทางออกสู่ทะเล (land-locked country) ถูกล้อมรอบด้วยประเทศต่าง ๆ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูง และเทือกเขา มีเมืองหลวงคือ กรุงคาบูล (Kabul) ซึ่งเคยเป็นเมืองที่มีการเติบโตเร็วที่สุดอันดับห้าของโลกในปี 2012 และยังเป็นหนึ่งในเมืองหลวงที่ตั้งอยู่สูงที่สุดในโลกด้วย
====================
ภาพรวมอัฟกานิสถานในยุคโบราณ
ในอดีต พื้นที่บริเวณอัฟกานิสถานมีกลุ่มคนอาศัยอยู่กันมาอย่างยาวนานแล้ว มีหลายชนเผ่า หลากเชื้อชาติที่เข้ามาตั้งถิ่นฐาน กระทั่งโลกได้ก้าวเข้าสู่ยุคจักรวรรดินิยม หลายดินแดนพากันออกขยายอำนาจ แผ่อิทธิพลไปให้กว้างไกล บริเวณแถบนี้จึงเริ่มตกเป็นของเปอร์เซียในศตวรรษที่ 6 ก่อน ค.ศ. ชนกลุ่มใหญ่ในอัฟกานิสถานจึงเริ่มนับถือศาสนาอิสลาม และฝังรากลึกอย่างมั่นคงมาจวบจนทุกวันนี้
ต่อมา พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช ราชันย์ผู้ยิ่งใหญ่แห่งมาซิโดเนีย ก็ปราบจักรวรรดิเปอร์เซียแล้วเข้ายึดครองดินแดนแถบนี้ต่อในช่วงศตวรรษที่ 4 ก่อน ค.ศ. และเริ่มนำเอาวัฒนธรรมแบบกรีกเข้ามาด้วย ปัจจุบันเราจะยังพอได้พบเจอชาวอัฟกันรูปร่างสูง ตาสีฟ้า ผมค่อนไปทางสีทองปะปนอยู่บ้าง ซึ่งก็เป็นเชื้อสายมาจากทหารสมัยพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชนี่เอง
ซากโบราณสถานที่เมืองเฮรัต อัฟกานิสถาน
จากนั้น ดินแดนนี้ก็ถูกพิชิตโดยอินเดียสมัยราชวงศ์เมารยะ ทำให้ศาสนาพุทธ และฮินดูเริ่มแพร่หลายเข้ามาในพื้นที่นี้มากขึ้น จากแต่เดิมที่จะมีเพียงบางเมืองเท่านั้นที่พอจะรับเอาอิทธิพลจากศาสนาพุทธมาบ้าง จากนั้นก็ถูกรุกรานโดยกองทัพมองโกลที่นำโดยเจงกิสข่าน ในช่วงปี พ.ศ. 1762 จะเห็นว่านี่เป็นสาเหตุที่เราจะสามารถพบเห็นสถาปัตยกรรมที่ผสมผสานจากหลากหลายวัฒนธรรมได้ในอัฟกานิสถาน
และในที่สุดก็มีการสถาปนากรุงคาบูล เป็นเมืองหลวงของอัฟกานิสถาน ในสมัยจักรวรรดิโมกุล (แยกมาจากราชวงศ์ตีมูร์แห่งเติรโก-มองโกล (Turco-Mongol) ที่มีเชื้อสายจากมองโกล และเติร์ก) ที่เข้าปกครองดินแดนแถบนี้ไว้ได้ ซึ่งปัจจุบันดินแดนในครอบครองของจักรวรรดินี้กลายเป็นประเทศปากีสถาน บังคลาเทศ อัฟกานิสถาน และอินเดีย
====================
จุดเปลี่ยนสำคัญของอัฟกานิสถาน
ภาพกองกำลังชาวอัฟกัน วาดโดยเจ้าหน้าที่สหราชอาณาจักร
ช่วงสำคัญที่ทำให้ชาติอัฟกานิสถานเริ่มเดินเข้าสู่สงครามมาจนถึงปัจจุบัน คือช่วง ค.ศ. 1826 - 1919 ที่นี่กลายมาเป็นศึกแย่งชิงอำนาจของ 2 ประเทศ ระหว่างสหราชอาณาจักร และจักรรวรรดิรัสเซีย กองทัพสหราชอาณาจักรเข้ามาทำสงครามกับอัฟกานิสถาน 2 ครั้ง เพื่อลดทอนอิทธิพลของกองทัพจักรวรรดิรัสเซีย จนเข้ามามีอำนาจเหนือกรุงคาบูลในที่สุด
หลังจากนั้นมาอัฟกานิสถานก็มีสงครามภายในเกิดขึ้นอีกบ่อยครั้ง สุดท้ายในปี ค.ศ. 1919 สหราชอาณาจักรจึงยอมยกเลิกการควบคุมกิจการต่างประเทศของอัฟกานิสถาน ชาวอัฟกันจึงยกวันที่ 19 สิงหาคมเป็นวันชาติ
ต่อมาอัฟกานิสถานก็มีกษัตริย์ขึ้นมาปกครอง นั่นคือราชวงศ์บารัคไซ แต่ด้วยการคอรัปชั่น ทำให้ประชาชนไม่พอใจ จนทำให้เกิดกบฏโค่นล้มราชวงศ์ในปี ค.ศ. 1973 ทำให้อัฟกานิสถานกลายเป็นประเทศคอมมิวนิสต์อยู่ชั่วระยะหนึ่ง แต่ด้วยการปราบปรามผู้เห็นต่างอย่างเลวร้าย โซเวียตจึงตัดสินใจส่งทหารเข้ามาและใช้เวลาเพียง 3 วันก็ยึดรัฐบาลได้สำเร็จ จากนั้นก็ทำการจัดตั้งรัฐบาลขึ้น และตอนนี้เองจึงเกิดกลุ่มต่อต้านโซเวียตที่เป็นที่รู้จักมากที่สุด นามว่า มูจาฮีดีน โดยมีอเมริกา และชาติพันธมิตรคอยอำนวยความสะดวกให้
By Кувакин Е. (1987); scanned and processed by User:Vizu (2009); размещено согласно Permissions - own scan photo E.Kuvakin by personal collection, CC BY-SA 3.0
สุดท้ายแล้ว ด้วยสภาพภูมิประเทศที่ปกครองได้ยากลำบาก และมวลชนที่เข้าร่วมกับกลุ่มมูจาฮีดีนมากขึ้นเรื่อยๆ โซเวียตจึงตัดสินใจถอนทหารออกไปในปี ค.ศ. 1989 พร้อมๆ กับเป็นช่วงที่สหภาพโซเวียตล่มสลายในปี ค.ศ. 1991 รัฐบาลอัฟกันที่ตั้งโดยโซเวียตไม่อาจดำรงได้ต่อไป จึงประกาศสละอำนาจ ยอมแพ้ยกให้กลุ่มมูจาฮีดีนขึ้นมาปกครอง แต่ประเทศก็ยังไม่สงบเสียทีด้วยความพยายามแย่งชิงอำนาจกันเองในกลุ่ม จนทำให้เกิดกองกำลัง ตาลีบัน ขึ้นมาต่อสู้กับรัฐบาล และยึดประเทศสำเร็จไปในปี ค.ศ. 1996
====================
สงครามอัฟกานิสถาน
พระพุทธรูปแห่งบามิยัน อัฟกานิสถาน สมัยยังไม่ถูกทำลายโดยตาลีบัน
หลังจากตาลีบันขึ้นปกครองประเทศแล้ว ก็ออกกฎหมายที่มีความเข้มงวด เคร่งครัดกว่าประเทศอิสลามทั่วไป ผู้หญิงถูกลดบทบาททางสังคม ห้ามทำงานให้อยู่แต่ในบ้าน ห้ามมีโรงหนัง ห้ามแสดงดนตรี ทำลายรูปเคารพศาสนาอื่น ฯลฯ ประชาชนจึงเริ่มไม่สนับสนุนตาลีบัน ประกอบกับที่อเมริกาเกิดเหตุการณ์ 9/11 ในปี ค.ศ. 2001 โดยฝีมือกลุ่มก่อการร้ายอัลเคดา นำโดย อุซามะฮ์ บิน ลาดิน ซึ่งตั้งฐานอยู่ในอัฟกานิสถาน อเมริกาจึงบุกเข้ามาทำสงคราม และเอาชนะรัฐบาลตาลีบันได้ในที่สุด และจัดตั้งรัฐบาลใหม่ขึ้นมา คล้ายกับเมื่อครั้งที่โซเวียตเข้ามานั่นเอง
ปัจจุบัน อเมริกาตัดสินใจถอนทหารออกจากอัฟกานิสถานในปี ค.ศ. 2021 ตาลีบันจึงกลับมาได้เปรียบ และเข้ายึดกรุงคาบูลได้เป็นผลสำเร็จในวันที่ 15 สิงหาคม ก้าวเข้าสู่ศักราชใหม่ของอัฟกานิสถาน ในมือของรัฐบาลตาลีบันอีกครั้ง
====================
ตามติดเทรนด์เที่ยว อัพเดทที่พักสวย
แชร์ทริปสุดชิล โพสต์ภาพสุดปัง ของคุณได้แล้วที่ แอปทรูไอดี
คลิกเลย >> TrueID Travel Community <<