สามเหลี่ยมปากแม่น้ำโอคาวังโก ความเป็นรองที่เหนือกว่า สามเหลี่ยมปากแม่น้ำโอคาวังโก (Okavango Deltas) ในอารูชา (Arusha) ประเทศแทนซาเนีย ได้รับการประกาศอย่างเป็นทางการว่าเป็นหนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ทางธรรมชาติของทวีปแอฟริกาเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 ด้วยการโหวตของผู้เชี่ยวชาญจากทั่วโลกโดยพิจารณาถึงนัยสำคัญทางสถิติ, เอกลักษณ์เฉพาะ และความงดงาม สามเหลี่ยมปากแม่น้ำโอคาวังโก (Okavango Deltas) เป็นพื้นที่คุ้มครองที่เสมือนกับการได้ลงทุนปกป้องสัตว์ป่าและเอกลักษณ์ของสัตว์เหล่านั้นไว้เพื่อให้ผู้มาเยือนทุกๆ คน ได้สัมผัสประสบการณ์ดีๆ ในทุกครั้งที่มาเยือนสถานที่แห่งนี้ โดยตั้งแต่เมื่อปี พ.ศ. 2548 พื้นที่คุ้มครองดังกล่าวได้รับการพิจารณาให้เป็นหน่วยอนุรักษ์สิงโตพร้อมกับอุทยานแห่งชาติฮวาเง (Hwange National Park) สามเหลี่ยมปากแม่น้ำโอคาวังโก (Okavango Deltas) เป็นทั้งบ้านถาวรและบ้านตามฤดูกาลให้กับสัตว์ป่านานาชนิดซึ่งปัจจุบันเป็นแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยม สัตว์ขนาดกลางและขนาดใหญ่ชนิดต่างๆ เช่น ละมั่งหลายสายพันธุ์, ช้างสะวันนา, สิงโต, วิลเดอบีสต์สีน้ำเงิน, กูดูใหญ่, ดุยเกอร์, สตีนบอก, เจมส์บอก, อิมพาลา, ม้าลายทุ่งหญ้า, ยีราฟแอฟริกาใต้, ควายแอฟริกา, ฮิปโปโปเตมัส, แรดดำ, แรดขาว, สุนัขป่าแอฟริกา, จระเข้แม่น้ำไนล์, เสือชีต้า, เสือดาวแอฟริกา, ลิงบาบูนชัคม่า, ไฮยีน่าสีน้ำตาล, ไฮยีน่าลายจุด, หมูป่าหน้าหูด และลิงกำมะหยี่ เป็นต้น นอกจากนี้สามเหลี่ยมปากแม่น้ำโอคาวังโก (Okavango Deltas) ยังเป็นที่อยู่อาศัยของนกกว่า 400 สายพันธุ์ อาทิ อินทรีปลาแอฟริกา, นกฮูกตกปลาของเพล, ห่านอียิปต์, นกอีแจวแอฟริกา, นกกระสามาราบู, นกกระเรียนหงอนพู่, นกอ้ายงั่วแอฟริกา, นกเงือก, นกกระเรียนเหนียงคอยาว, นกตะขาบทุ่งอกสีม่วง, นกกระจอกเทศ, นกหัวค้อนและนกช้อนหอย, นกกระสาปากอานม้า, นกกระยาง, นกกระเต็น และนกจาบคา เป็นต้น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ประมาณ 200,000 ตัว ในจำนวนนี้จะมีฝูงช้างและควายป่าจำนวนมากรวมแล้วประมาณ 30,000 ตัวที่อาศัยอยู่ภายในและโดยรอบๆ สามเหลี่ยมปากแม่น้ำโอคาวังโก (Okavango Deltas) ซึ่งส่วนใหญ่สัตว์เหล่านี้ไม่ได้อาศัยอยู่ตลอดทั้งปี โดยจะออกจากที่แห่งนี้เมื่อฤดูร้อนมาถึงเพื่อค้นหาทุ่งหญ้าและต้นไม้แหล่งใหม่สำหรับแทะเล็ม จากนั้นก็จะอพยพกลับมาเมื่อใกล้จะถึงฤดูหนาว สามเหลี่ยมปากแม่น้ำโอคาวังโก (Okavango Deltas) ถือเป็นพื้นที่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยเกิดขึ้นจากฝนที่ตกลงมาเติมสะสมในแม่น้ำโอคาวังโกซึ่งส่งไปยังแอ่งของทะเลทรายคาลาฮารี (Kalahari Desert) สาเหตุจากฤดูฝนที่เกิดขึ้นระหว่างเดือนมกราคมและเดือนกุมภาพันธ์ น้ำฝนเริ่มเติมลงสามเหลี่ยมปากแม่น้ำในเดือนมีนาคมและสะสมเพิ่มขึ้นจนสูงสุดในเดือนกรกฎาคมและเดือนสิงหาคม น้ำฝนที่ตกลงมาสะสมส่วนใหญ่สูญเสียไปจากการระเหยและการคายน้ำ ซึ่งพืช (การคายน้ำ) กับการระเหยคิดเป็น 60% และ 36% ของน้ำที่สูญเสียไป ตามลำดับ สามเหลี่ยมปากแม่น้ำโอคาวังโก (Okavango Deltas) นั้นมีลักษณะที่ค่อนข้างราบเรียบโดยมีการเปลี่ยนแปลงระดับความสูงไม่ถึง 2 เมตร และในทุกๆ ปี พื้นที่สามเหลี่ยมปากน้ำแห่งนี้มีน้ำไหลผ่าน 11 ลูกบาศก์กิโลเมตร หรือ 11 ล้านล้านลิตร แม้ว่าจะมีสามเหลี่ยมปากแม่น้ำสองแห่งในดินแดนของทวีปแอฟริกาที่ทัดเทียมและอาจเหนือกว่าสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโอคาวังโก (Okavango Deltas) ในเรื่องของขนาด แต่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำเหล่านั้นถูกทำให้ด้อยลงไปเนื่องจากมีการบุกรุกเข้าไปล่าสัตว์และสงครามในพื้นที่ รูปภาพที่ 1/ รูปภาพที่ 2/ รูปภาพที่ 3/ รูปภาพที่ 4