เมื่อพูดถึงแลนด์มาร์คสำคัญของเมืองเกียวโตแล้ว จะหนีไม่พ้นที่วัดทอง หรือคนญี่ปุ่นเรียกว่า วัดคินคะคุจิ Kinkaku-ji ที่ได้รับการยกย่องให้เป็นมรดกโลกจากยูเนสโก ซึ่งที่นี่เป็นวัดที่เนืองแน่นไปด้วยผู้คนและนักท่องเที่ยวเยอะมาก ประกอบกับเป็นวัดที่มีชื่อเสียงอย่างมาก การเดินทางคนนิยมจะมาช่วงเช้าที่ถ่ายรูปเห็นแสง และดอกไม้ต้นไม้สวย ๆ ของสวนโบราณของวัดทองและมาทุก ๆ ฤดูเนื่องจากมีต้นไม้ใบไม้ที่สวยแตกต่างกันไป พิกัด: Kinkakuji (Rokuonji) Temple, Kyoto, Japan Google maps: คลิก การเดินทางมาที่วัดวัดคินคะคุจิ: บริการแท็กซี่สำหรับนักท่องเที่ยวไทยสามารกเรียกรถแท็กซี่มาได้เลยง่ายมากที่เว็บไซต์ แท็กซี่เมืองเกียวโต คลิก แต่สำหรับนักท่องเที่ยวถ้าแต่งตัวสวมใส่ชุดกิโมโนหรือเป็นนักท่องเที่ยวไม่แต่งชุดก็ได้จะมีส่วนลดอีก 10% รถแท็กซี่ของเกียวโตจะสตาร์ทที่ 590 เยนต่อ 1.7 กิโลเมตรแรก (ประมาณ 175 บาท) และเพิ่มขึ้น 80 เยน (24 บาท) ทุก ๆ ระยะทาง 324 เมตร โดยรถไฟ จากสถานีเกียวโต ขึ้นรถบัสที่ป้าย Kyotoeki-mae สาย 101 หรือ 205 แล้วไปลงที่ป้าย Kinkakuji-michi ราคารถบัส เริ่มต้นที่ 210 เยน หรือ 63 บาท เวลาเปิด-ปิด : วัดทองคินคะคุจิเปิดทำการทุกวัน 09.00 – 17.00 น. ค่าเข้าชม : 400 เยน หรือ 120 บาทโดยชมภายนอกได้แต่ไม่สามารถเข้าไปในตัวอาคารได้ บัตรเข้าชมก็จะมีลักษณะเหมือนยันต์จีนหน่อย ๆ แบบนี้ ประวัติความเป็นมาสู่การเป็นมรดกโลก: วัดคินคะคุจินี้เป็น 1 ใน 17 สถานที่ที่อยู่ในเมืองเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น ที่ได้รับการยกย่องยกย่องให้เป็นมรดกโลกจากองค์กรยูเนสโก การมาที่นี่ของผู้เขียนคือจะตื่นเต้นมาก ๆ เพราะเป็นครั้งแรกด้วย ยิ่งมารู้ประวัติวัดทองคินคะคุจิ จากไกด์ยิ่งทำให้รู้สึกถึงความเก่าแก่และมีประวัติศาสตร์อันยาวนานของที่นี่จริง ๆ ไกด์เล่าให้ฟังว่าที่นี่ เมื่อก่อน เป็นคฤหาสน์ของโชกุนอาชิคางะ โยชิมิสึ ที่อุทิศให้ให้เป็นวัดในนิกายเซน ซึ่งต่อมาหลังจากที่เขาเสียชีวิต ลูกชายจึงได้ตั้งวัดในนิกายเซนชื่อว่า วัดคินคะคุจิ ซึ่งการสร้างวัดทองคินคะคุจิ ต่อมาหลานของ โยชิมิทสึ ก็มีแรงบันดาลใจจากการที่สร้างวัดทองไปสู่ วัดเงิน หรือที่เรียกว่าวัดวัดกินคาคุจิมาคู่กัน ที่วัดทองคินคะคุจิ เคยเกิดความเสียหายหลายครั้ง เช่นในปี ค.ศ.1950 มีพระรูปหนึ่งพยายามฆ่าตัวตายโดยการจุดไฟเผาตัวเองในศาลาสีทอง ทำให้อาคารได้รับความเสียหายอย่างหนัก ซึ่งอาคารหลักของวัดทองคินคะคุจิที่เห็นอยู่ในปัจจุบันนี้เป็นอาคารที่ได้ก่อสร้างขึ้นมาใหม่ในปี ค.ศ.1955จุดชมที่ 1 : วัดทองคินคะคุจิเป็นอาคารงดงามมาก โดยหันหน้ามาทางสระน้ำขนาดใหญ่ทำให้เห็นอาคารสะท้อนน้ำเป็นสีทองด้วย ซึ่งในวันที่ผู้เขียนไปทัวร์ค่อนข้างมาเยอะ และทำให้เห็นว่าสีทองของวัดทองคินคะคุจิ เป็นสีทองอร่ามแบบไม่สว่างมาก แต่ให้ความรู้สึกเหมือนสีทองเข้ม ๆ เหมือนแผ่นทองคำเปลว งดงามมากเลยทีเดียว วัดทองคินคะคุจิสร้างขึ้นเพื่อ แสดงให้เห็นถึงความเจริญความหรูหราของวัฒนธรรมคิตายาม่า ซึ่งเป็นวัฒนธรรมของชนชั้นสูง ของเกียวโต ในสมัยของ โยชิมิทสึ ซึ่งเราจะเห็นได้ว่าในแต่ละชั้นมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบสถาปัตยกรรมทำให้แต่ละชั้นมีสถาปัตยกรรมไม่เหมือนกัน1. ชั้นที่ 1 เป็น สถาปัตยกรรมแบบชินเด็น เป็นงานสถาปัตยกรรมที่ใช้ก่อสร้างพระราชวังในสมัยเฮอัน โดยจะสังเกตว่าเป็นปูนพลาสเตอร์สีขาว และใช้เสาไม้จากธรรมชาติ ซึ่งการก่อสร้างเป็นสีขาวนี้เพื่อขับให้สีทองที่อยู่ด้านบนมีความเด่น และสว่าง อร่ามเด่นชัดมากขึ้น ภายในตัวศาลาจะมีพระพุทธเจ้าผู้ก่อตั้งศาสนาพุทธ และมีรูปปั้นของโชกุนอะชิคางะ โยชิมิทสึ ผู้ที่มอบคฤหาสน์แห่งนี้เพื่อวัดในนิกายเซนนั่นเอง ซึ่งในปัจจุบันไม่ให้คนนอกเข้าชมภายในตัวศาลาแล้ว แต่ก็ให้คนที่มาเที่ยวได้มองลอดผ่านหน้าต่างที่เปิดไว้ได้เสมอ2. ชั้นที่ 2 ของอาคารนี้ สร้างขึ้นโดยใช้รูปแบบจากสถาปัตยกรรมบัคเค ที่ใช้ในการก่อสร้างที่อยู่ของซามูไร โดยภายนอกก็ได้รับการตกแต่งจากแผ่นทองคำเปลว จนเป็นสีทองอร่ามทั่วชั้น ซึ่งภายในชั้นสองก็มีรูปปั้นพระแม่กวนอิมนั่งและมีรูปปั้นของท้าวจตุมหาราช ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ดูได้ในโบรชัวร์แจก ผู้คนไม่สามารถเข้าไปเยี่ยมชมหรือดูได้เช่นกัน3. ชั้นที่ 3 เป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมแบบนิกายเซน ของประเทศจีน โดยจะปิดทองทั้งภายในและภายนอกอาคารโดยด้านบนอาคารมีรูปปั้นหงส์ยืนอยู่จุดชมที่ 2 : สวนของวัดที่ยังคงรักษารูปแบบดั้งเดิมไว้ ตั้งแต่สมัยของโยชิมิทสึจุดที่ 3 : อดีตที่พำนักของเจ้าอาวาส (โฮโจ - hojo) สถานที่แห่งนี้ไม่เปิดให้คนภายนอกเข้าชมแต่ก็สามารถเห็นประตูเลื่อนและลวดลายที่สวยงามของตัวอาคารได้จากภายนอกจุดที่ 4 : เรือนน้ำชาเซคคาเทเป็นเรือนไม้ที่มีความขลังและโบราณมาก ความประทับใจและความรู้ที่ได้ที่มาวัดทอง (วัดคินคะคุจิ Kinkaku-ji) : การได้มาเห็นวัดทองที่นี่ทำให้รู้สึกอยากชมวัดเงิน ที่เป็นวัดคู่กัน ทำให้รู้ว่าสมัยก่อนวัฒนธรรมการสร้างวัดและการนับถือนิกายเซน มีความเจริญกรุงเรืองมาก ๆ ดั่งจะเห็นได้จากการออกแบบงานสถาปัตยกรรม และการจัดวางรูปปั้นเคารพต่าง ๆ วัฒรธรรมที่เก่าแก่นี้ กับการอนุรักษ์ไว้จนปัจจุบัน ไม่แปลกใจว่าเสน่ห์ที่นี่ และความสมบูรณ์ความลงตัว จึงทำให้ได้รับการยกย่องว่าเป็นมรดกโลก ภาพ 1, 3-5,7-16 และภาพปกโดยผู้เขียน ภาพที่ 2,6 จาก Pixabay2 และ Pixabay6