รีเซต

29 สนามบินอันตรายที่สุดในโลก 2023 ดอนเมืองติดโผ

29 สนามบินอันตรายที่สุดในโลก 2023 ดอนเมืองติดโผ
Muzika
30 มิถุนายน 2566 ( 14:06 )
1.5K

     เราคงพูดได้ว่าการเดินทางด้วยเครื่องบินนั้นเป็นอะไรที่จำเป็นอยู่แล้วในการไปเที่ยวต่างประเทศ และสนามบินเองก็เหมือนปราการด่านแรกที่ทุกคนต้องผ่านมันไปให้ได้ ไม่ว่าจะต้องรีบเร่งฝ่ารถติดไปให้ทันเวลาไฟล์ท หรือกระทั่งนั่งสวดมนต์ภาวนาขอให้เครื่องบินร่อนลงจอดอย่างปลอดภัย เห็นมั้ยครับว่าเราต้องใช้พลังใจเยอะกว่าที่คิดกว่าจะไปเที่ยวแต่ละที และต่อไปนี้ก็คือ อันดับสนามบินที่อันตรายที่สุดในโลก 2023 ที่คุณควรรูัจักไว้ก่อนแพลนทริปครั้งหน้าจะเริ่มต้นขึ้น

 

globetrotters / Shutterstock.com

 

29 สนามบินอันตรายที่สุดในโลก 2023

รับส่วนลดประกันเดินทาง ท่องเที่ยวต่างประเทศ ที่นี่

 

อะไรเป็นปัจจัยที่ทําให้สนามบินอันตราย?

 

  1. ระดับความสูง – นับว่ามีส่วนสําคัญที่จะกำหนดวิธีที่เครื่องบินจะลงจอดหรือบินขึ้น ยิ่งสนามบินอยู่สูงมากๆ ความเร็วขณะลงจอดก็ยิ่งมากตาม และต้องใช้ระยะทางบนรันเวย์มากขึ้น
  2. สภาพอากาศ - แม้ว่าความปั่นป่วนของกระแสลมจะเป็นเรื่องปกติระหว่างเที่ยวบิน แต่ก็ส่งผลกระทบอย่างมีนัยสําคัญต่อการขึ้น และลงจอดของเครื่องบิน 
  3. ความยาวรันเวย์ – ความยาวรันเวย์ปกติจะอยู่ระหว่าง 1,800-2,400 เมตร แต่ยิ่งเครื่องบินมีขนาดใหญ่ ก็ยิ่งต้องการพื้นที่สําหรับการลงจอดมากขึ้น
  4. ตําแหน่งรันเวย์ – โดยทั่วไปสนามบินต้องการพื้นที่โล่งให้มากที่สุด เพื่อให้แน่ใจว่าเครื่องบินจะลงจอดอย่างปลอดภัยโดยไม่มีสิ่งกีดขวาง อย่างไรก็ตามมีสนามบินหลายแห่งที่ไม่ปฏิบัติตามแนวทางนี้ ตั้งแต่หาดทรายไปจนถึงกลางเมืองที่มีคนอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น
  5. ความไม่สงบทางการเมือง/สังคม – ปัญหาด้านความมั่นคงของประเทศเองก็อาจมีผลต่อสนามบินได้เช่นกัน ตั้งแต่การถูกโจมตี ไปจนถึงการประท้วงที่รุนแรง จนอาจทําให้เที่ยวบินล่าช้าหรือโดนเลื่อนไปโดยปริยาย

 

29 สนามบินที่อันตรายที่สุดในโลก

 

1. Kansai International Airport (Japan)

     แม้ว่าสนามบินกลางทะเลสีฟ้าอันกว้างใหญ่นี้จะดูสวยเมื่อเรามองจากบนฟ้า แต่สนามบินนานาชาติคันไซก็มีปัจจัยแวดล้อมหลายอย่างที่อาจเป็นอันตรายได้ ตั้งแต่แผ่นดินไหวไปจนถึงการที่ตัวสนามบินอยู่ใกล้กับระดับน้ำทะเลมาก ทำให้หลายครั้งเวลาที่เกิดภัยพิบัติต่างๆ เช่น พายุไต้ฝุ่น แผ่นดินไหว สนามบินแห่งนี้จะต้องประกาศปิดใช้งานอยู่บ่อยๆ

     ในปี 2018 สนามบินแห่งนี้ต้องปิดเป็นเวลาสิบวันเนื่องจากน้ำท่วมที่เกิดจากไต้ฝุ่น นักท่องเที่ยว และเจ้าหน้าที่หลายพันคนติดอยู่ในสนามบินในชั่วข้ามคืนเนื่องจากมีเรือถูกพายุไต้ฝุ่นพัดมาชนเข้ากับสะพานเชื่อมระหว่างสนามบินกับแผ่นดินฝั่งโอซาก้า

 

2. Barra International Airport (Scotland)

     สนามบินแห่งนี้อยู่ติดกับอ่าวที่สวยงามของอ่าว Barra แต่ด้วยสภาพอากาศที่แปรปรวน ทําให้สนามบินต้องยกเลิกเที่ยวบินจํานวนมากในแต่ละปีเนื่องจากลมแรง และรันเวย์ที่มีน้ำทะเลท่วมขังจนเครื่องบินไม่สามารถลงจอดได้

 

3. Wellington International Airport (New Zealand)

     ด้วยรันเวย์ที่สั้นมาก (ระหว่าง 1,828-2,012 เมตร) และสภาพอากาศที่น่ากลัว การนำเครื่องบินลงจอดในสนามบินแห่งนี้เลยค่อนข้างท้าทายความสามารถของนักบินมากๆ ในฐานะที่เป็นหนึ่งในเมืองที่มีลมแรงที่สุดในโลก สนามบินนิวซีแลนด์แห่งนี้จึงมีแต่นักบินที่มีชั่วโมงบินสูงแล้วเท่านั้น

 

4. Princess Juliana International Airport (Saint Martin)

     ท่าอากาศยานนานาชาติปรินเซสจูเลียนา เป็นที่รู้จักในฐานะศูนย์กลางของเที่ยวบินระหว่างประเทศของเซนต์มาร์ติน อย่างไรก็ตามรันเวย์ที่นี่ค่อนข้างแคบ และยังตั้งอยู่บนแถบพายุเฮอริเคนด้วย ซึ่งในปี 2017 ก็เคยเกิดความเสียหายจากพายุเฮอริเคนเออร์มา (Irma) มาแล้ว

 

5. Lukla Airport (Nepal)

     สนามบิน Lukla ตั้งอยู่ระหว่างภูเขาเอเวอเรสต์ เป็นอาคารขนาดเล็กที่ตั้งอยู่ใกล้กับ base camp ของภูเขาที่สูงที่สุดในโลก สนามบิน Lukla ถือเป็นสนามบินที่ดีที่สุดสําหรับผู้แสวงหาการผจญภัย พิชิตยอดเขาเอเวอเรสต์ แต่ด้วยความสูงขนาดนี้ ทำให้สนามบินต้องออกข้อกําหนดต่างๆ อย่างเข้มงวด 

 

6. Paro Airport (Bhutan)

     1 ในสนามบินที่ที่มีนักบินเพียงไม่กี่คนบนโลกที่มีคุณสมบัติ และได้รับการรับรองให้ลงจอดที่สนามบินพาโร ซึ่งอยู่กลางหุบเขา และมีกระแสลมแรงตลอดเวลา การต้องหักหัวเครื่องบินลง 45 องศาก่อนที่จะลงจอดบนรันเวย์นั้นต้องอาศัยทักษะของนักบินอย่างมาก

 

7. Santos Dumont Airport (Brazil)

     สนามบินที่ใหญ่เป็นอันดับสองในริโอเดอจาเนโร ประเทศบราซิล และล้อมรอบด้วยน้ำทะเลสีฟ้าที่อุดมสมบูรณ์ แม้ว่าจะดูเป็นภาพที่สวยงามเวลาบินผ่าน แต่รันเวย์นั้นสั้นมากสําหรับการลงจอด 

 

8. McMurdo Station (Antarctica)

     สนามบินที่ไม่สามารถเข้าถึงได้สําหรับคนทั่วไป เพราะเป็นพื้นที่ลงจอดเครื่องบินที่เจ้าหน้าที่ที่ทํางาน หรือสังกัดงานวิจัยในแถบนี้เท่านั้น ภูมิประเทศที่เป็นน้ำแข็งปกคลุมนั้นยากที่จะบินเข้ามา เนื่องจากสภาพอากาศที่รุนแรง และกระแสลมที่แปรปรวน

 

9. Svalbard Airport (Norway)

     อีกโซนการบินที่มีสภาพอากาศหนาวจัด สนามบินสฟาลบาร์ดนั้นแทบจะปกคลุมด้วยหิมะตลอดเวลา นอกจากนี้ยังเคยเกิดอุบัติเหตุทางการบินที่เลวร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์ของนอร์เวย์ด้วย ซึ่งคร่าชีวิตผู้คนไป 141 คนในปี 1996

 

10. Gustaf III Airport (Caribbean)

     ด้วยทําเลที่ตั้งบน Saint Barthelemy แม้จะเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ที่งดงามมากๆ แต่ด้วยสภาพอากาศทำให้การลงจอดทำได้ค่อนข้างยาก รันเวย์มีขนาดค่อนข้างเล็ก (เพียง 640 เมตร) 

 

11. Saba Airport (Dutch Caribbean)
12. Gisborne Airport (New Zealand)
13. Madeira Airport (Portugal)
14. Narsarsuaq Airport (Greenland)
15. Gibraltar International Airport (Gibraltar)
16. San Diego International Airport (California, USA)
17. Toncontín International Airport (Honduras)
18. Aspen/Pitkin County Airport (Colorado, USA)
19. Alejandro Velasco Astete Cusco International Airport (Peru)
20. Kai Tak Airport (Hong Kong)
21. Agatti Aerodrome/Airport (India)
22. Cleveland Hopkins International (Cleveland, USA)
23. Telluride Regional Airport (Colorado, USA)
24. Congonhas-São Paulo Airport (Brazil)
25. Courchevel Airport (France)
26. Don Mueang International Airport (Thailand)
27. Tioman Island Airport (Malaysia)
28. Shimla Airport (India)
29. Damascus International Airport (Syria)

====================