“เก็บเรื่องมาเล่า โดยหนุ่ม สุทน” ทักทายกันวันจันทร์ที่ 13 มิถุนายน 2565 วันนี้หนุ่ม-สุทน อยู่ที่จังหวัดชัยนาทเป็นอีกหนึ่งจังหวัดที่มีสถานที่ท่องเที่ยวสัมผัสวิถีชีวิตชุมชนริมน้ำเจ้าพระยานั้นคือ ตลาดเก่าอายุเกิน 100 ปีหรือ รศ.120 เรียกกันว่า "ตลาดเก่าสรรพยา" ตำบลสรรพยา อำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท ตลาดเก่าสรรพยา"ตลาดเก่าสรรพยา" เป็นตลาดเก่าริมน้ำเจ้าพระยาสันนิษฐานกันว่าชาวจีนน่าจะอพยพเข้ามาเมื่อครั้งแผ่นดินอาณาจักรกรุงรัตนโกสินทร์สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ตอนปลายเริ่มเข้ามาสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ดังนั้นเรื่องราวของตลาดเก่าสรรพยาหนุ่ม-สุทนพาทุกท่านไปเที่ยวชมด้วยกันครับ หากมีโอกาสได้ไป "ตลาดเก่าสรรพยา" ควรจะต้องแวะตามจุดต่าง ๆ โดยเริ่มต้นที่ตลาดเก่าสรรพยา ไปเดินเล่น เดินชิลกันครับจุดที่ 1 พอจอดรถยนต์แล้วเข้ากราบขอพรองค์พระพุทธรูปประจำชุมชนตลาดเก่าสรรพยาคือองค์พระพุทธรูป "หลวงพ่อพระพุทธพิทักษ์ธรรมจักร" เป็นพระพุทธรูปปางปฐมนิเทศขอพรได้ขอให้ประสบผลสำเร็จเรื่องโชคลาภ หน้าที่การงาน การค้าขาย การลงทุน กราบขอพร "องค์หลวงพ่อพระพุทธพิทักษ์ธรรมจักร"จุดที่ 2 อาคารโรงพักเก่า เมื่อครั้งสมัยแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เป็นอาคารไม้ดั้งเดิมทุกวันนี้เรียกสถานีตำรวจภูธรน่าชมศึกษาข้อมูลประวัติความเป็นมาของโรงพัก แล้วถ่ายภาพโพสท่าได้ตามสะดวก มีโรงพักเก่าเป็นฉากหลังสวยงามคลาสสิคไปอีกแบบครับอาคารโรงพักเก่า ตลาดเก่าสรรพยาจุดที่ 3 เดินเข้าตัวตลาดเก่าสรรพยา รศ.120 มีร้านกาแฟโบราณเรียกร้านโอเลี้ยงห้องขัง ส่วนบ้านเรือนส่วนใหญ่เป็นห้องแถวไม้สองชั้นโบราณเก่าแก่แท้จริงหันหลังให้แม่น้ำเจ้าพระยาแล้วตัวห้องแถวสองชั้นหันหน้าเข้าหากันเป็นแถวยาวเหยียดมีถนนกั้นกลางดูแคบ ๆ แต่คึกคักด้วยผู้คนเพราะเคยเป็นย่านการค้ามาก่อนเมื่อครั้งอดีต จุดนี้ต้องถ่ายภาพไว้เป็นที่ระลึกได้มุมสวย ๆ อีกหลายมุมตลาดเก่าสรรพยา เดินเล่นชิล ๆ ช้อป ชิมของอร่อยได้ครับจุดที่ 4 มีร้านค้าตลาดเก่าจำหน่ายขนมโบราณของท้องถิ่น เช่น ขนมงากุยหลีหรือเปี๊ยะสูตรโบราณของชาวจีนดั้งเดิมที่อพยพเข้ามาตั้งบ้านเรือนริมน้ำเจ้าพระยาบอกว่าเป็นสูตรจากเมืองจีนแผ่นดินใหญ่ของบรรพบุรุษถ่ายทอดให้ลูก ๆ ถึงทุกวันนี้เรียกของดีเมืองชัยนาทและข้าวเกรียบลอยน้ำเลือกซื้อได้ครับขนมงากุยหลีหรือเปี๊ยะสูตรโบราณของชาวจีนดั้งเดิมอีกหนึ่งกิจกรรมสามารถ "นั่งเรือชมวิวทิวทัศน์ในแม่น้ำเจ้าพระยา" โดยเฉพาะช่วงเวลาแสงตะวันอ่อน ๆ คงจะสวยงามมาก ๆ ครับ น่าสนใจไปเดินเล่นแบบชิล ๆ เดินชมตลาดเก่าสรรพยาฟิล ๆ สบายใจแล้วถ่ายภาพหรือจะถ่ายแบบคู่กับห้องแถวเก่า ๆ ย้อนวันวานในบรรยากาศริมน้ำเจ้าพระยา ตำบลสรรพยา อำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท ท่านผู้อ่านทุกท่านไปสัมผัสวิถีชุมชนเมื่อครั้งสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เชื่อว่าเคยเป็นย่านการค้าที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งในลุ่มน้ำเจ้าพระยา เพราะสินค้าน่าจะล่องเรือมาจากเมืองหลวงกรุงรัตนโกสินทร์จากลุ่มน้ำเจ้าพระยาเข้าลำน้ำน้อยผ่านเขตเมือง เช่น กรุงศรีอยุธยา เมืองวิเศษชัยชาญ เมืองสิงห์บุรีแล้วเชื่อมลุ่มน้ำเจ้าพระยาแวะท่าเรือตลาดเก่าสรรพยาส่งสินค้าต่อไปถึงเมืองปากน้ำโพหรือเมืองนครสวรรค์ นั่งเรือชมวิวทิวทัศน์ในแม่น้ำเจ้าพระยาท่านผู้อ่านทุกท่านไปท่องเที่ยวกันได้ครับ "ตลาดเก่าสรรพยา" อำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท ในช่วงเชื้อโรคโควิด19 ระบาดทำให้ตลาดเก่าสรรพยาดูเงียบเหงาแต่ทุกวันนี้ในวันเสาร์และวันอาทิตย์ต้นเดือนเริ่มมีผู้คนเข้าไปท่องเที่ยวสัมผัสวิถีชีวิตชุมชนชาวตลาดเก่าสรรพยากันมากขึ้นไปท่องเที่ยวกันครับ แล้วฝากติดตามฟังรายการ "กินเที่ยวทั่วไทยไปกับพี่หนุ่ม-สุทน รุ่งธัญรัตน์" ทางคลื่นข่าว fm 100.5 mhz ฟังเรื่องเล่าประวัติศาสตร์ วิถีชุมชน วัฒนธรรมและอาหารถิ่นของชุมชนได้ทุกวันอาทิตย์เวลา 10.10-11.00 น. "กินเที่ยวทั่วไทย เที่ยวเมืองไทยไม่ไปไม่รู้ ถ้าอยากรู้ต้องออกเดินทางไป...กับ...ผมหนุ่ม-สุทน” ขอบคุณและสวัสดีครับอาคารไม้เก่าแก้เคยเป็น "โรงพัก" เมื่อครั้งอดีต ไปชมกันได้ที่ "สรรพยา"เรื่องและภาพโดย : หนุ่ม-สุทน รุ่งธัญรัตน์แฟนเพจเฟซบุ๊ค : https://www.facebook.com/sutonfm100.5/#ติดตามฟังเรื่องราวการเดินทางเที่ยวทั่วไทยทางคลื่นข่าว100.5fm ทุกวันอาทิตย์เวลา 10.10-11.00 น. #ติดต่อวิทยากรด้านการท่องเที่ยวได้ที่ได้ที่แฟนเพจเฟซบุ๊ค#เที่ยวเพลิน #เก็บเรื่องมาเล่าโดยหนุ่มสุทน #bigmaptravel #Tourism local life ชุมชนเพื่อการท่องเที่ยวไทยยั่งยืน *STAR COVER"อย่ามัวแต่ดูมาดังกัน"*ทรูไอดีคอมมูนิตี้ ขอชวนทุกคนมาสนุกโคฟเวอร์ พร้อมลุ้นรับเงินรางวัลมูลค่ารวมกว่า 7,000 บาท (5 รางวัล) โคฟคนที่ใช่ ไลค์คนที่ชอบ`ร่วมสนุกได้ที่ ทรูไอดีคอมมูนิตี้ ห้อง cover บนแอปทรูไอดี`คลิกเลย >> https://ttid.co/UAnK/7y9jfqkqอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >> https://bit.ly/3O1cmUQร่วมสนุกตั้งแต่วันที่ 10 มิถุนายน 2565 - วันที่ 3 สิงหาคม 2565