อุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์ เป็นอีกสถานที่ที่เป็นอุทยานประวัติศาสตร์ของประเทศไทย อุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์นี้ สร้างขึ้นเพื่อเป็นจุดศูนย์รวมของพระพุทธศาสนา อุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์หรือเรียกอีกอย่างว่า ปราสาทเมืองสิงห์ พูดได้ว่ามีสถาปัตยกรรมและปฎิมากรรมมีความคล้ายคลึงกับสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ราวๆ พ.ศ. 1720 - 1760 แล้วค่อยบูรณะมาเรื่อยๆ แล้วสร้างเสร็จเป็นอุทยานประวัติศาสตร์ เมื่อ พ.ศ. 2530 จึงทำให้ปราสาทเมืองสิงห์นี้สวยงามและคงความเก่าแก่อย่างที่เราได้เห็นในปัจจุบันนี้นั้นเอง ภาพประกอบโดย : Jab narapol ปราสาทเมืองสิงห์ถูกล้อมรอบด้วยภูเขามากมายแต่เป็นภูเขาเล็กๆ บริเวณโบราณสถานที่ปราสาทเมืองสิงห์นั้น มีกำแพงและคูคันดินเป็นชั้นๆ ซึ่งกำแกงนั้นจะมีลักษณะเป็นกำแพงสี่เหลี่ยมที่ไม่สมมาตรเท่าไหร่นักเมื่อก่อนนั้นมีแม่น้ำแควน้อยไหลผ่านบริเวณนี้ทางทิศใต้จึงทำให้พื้นที่ตรงนั้นขยายออกไปตามแนวของแม่น้ำแควน้อย แล้วด้านทิศตะวันออก ทิศเหนือและทิศตะวันตกจะมีแนวกำแพงต่อกันเป็นกรอบ รอบๆกำแพงจะเป็นคูคันดินล้อมรอบอยู่ กำแพงและคูคันดินนี้ จะล้อมรอบโบราณสถานต่างๆ ประกอบด้วย โบราณสถานหมายเลข 1 - 4 คือ กำแพงและประตู คูคันดิน สระน้ำ และสิ่งก่อสร้างอื่นๆ ภาพประกอบโดย : Jab narapol โบราณสถานหมายเลข 1 ตั้งอยู่บริเวณใจกลางโบราณสถาน ประกอบด้วย ปรางค์ประธาน ระเบียงคด โคปุระ กำแพงแก้ว บรรณศาลา หรือ บรรณาลัย โบราณสถานหมายเลข 2 ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของโบราณสถาน หมายเลข 1 หันหน้าไปทางทิศตะวันออก ประกอบไปด้วย ปรางค์ประธาน ระเบียง โคปุระ และกำแพงแก้ว ซึ่งมีความคล้ายกับโบราณสถานหมายเลข 1 แต่แค่มีขนาดเล็กกว่า โบราณสถานหมายเลข 3 ตั้งอยู่นอกกำแพงแก้ว เป็นโบราณสถานขนาดเล็ก สร้างขึ้นด้วยสิลาแลง อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของโบราณสถานหมายเลข 1 มีลักษณะเป็นฐานสี่เหลี่ยม ก่อขึ้นไป ซึ่งทั้งหมดนี้สร้างขึ้นด้วยอิฐ ฐานเจดีย์องค์นี้สภาพชำรุดมากจนไม่สามารถบอกขนาดและลักษณะแน่นอนได้ โบราณสถานหมายเลข 4 เป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าเป็นส่วนเรียงเป็นแถวเป็นแนว การก่อสร้างอาคารนี้ใช้วัสดุศิลาแลงเป็นหลัก ตั้งอยู่ บนฝั่งแม่น้ำแควน้อยทางทิศเหนือในเขต ตำบล เมืองสิงห์ อำเภอ ไทรโยค จังหวัด กาญจนบุรี ภาพประกอบโดย : Jab narapol เชื่อเลยว่าถ้ามีโอกาสได้ไปที่แห่งนี้จะได้ความสุขสบายใจกลับบ้านอย่างแน่นอน ได้รู้ได้เห็นเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของประเทศไทยเรา ซึ่งมีความสวยงามและมีความเก่าแก่เป็นอย่างมาก ภาพประกอบหน้าปกโดย : pixabay ( https://pixabay.com/th/photos/สถาปัตยกรรม-กำแพงอิฐ-รูปแบบ-เนื้อ-185105 )