ป่าฝนเขตร้อนเดนทรี ที่ลี้ภัยสุดท้ายของป่าฝนออสซี่ “เดนทรี (Daintree)” ได้รับการตั้งชื่อตาม “นาย ริชาร์ด เดนทรี” นักธรณีวิทยาและช่างภาพชาวออสเตรเลีย (พ.ศ. 2375 – 2421) ประกอบด้วยอุทยานแห่งชาติเดนทรี กับบางส่วนของพื้นที่ป่าของรัฐ และพื้นที่ที่เป็นกรรมสิทธิ์ของเอกชน รวมถึงชุมชนที่อยู่อาศัยที่มีประชากรไม่น้อยกว่า 5 ราย พื้นที่ที่เป็นกรรมสิทธิ์ของเอกชนบางแห่งทางตอนเหนือของคาบสมุทรกำลังถูกซื้อรวบรวมเรื่อยๆ เพื่อการอนุรักษ์ภายใต้โครงการของรัฐบาลที่ใช้งบประมาณ 15 ล้านดอลลาร์ เกิดการร่วมด้วยช่วยกันทั้งเทศบาล (สภาภูมิภาคแคนส์) ที่ประกอบด้วยอดีตสภาดักลาสไชร์, รัฐบาลของรัฐควีนส์แลนด์ และรัฐบาลสหพันธรัฐออสเตรเลีย เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2554 อสังหาริมทรัพย์กว่า 72% ได้รับการจัดสรรเพื่อการซื้อคืนแล้ว พื้นที่ป่าดงดิบเขตร้อนที่จะซื้อคืนเหล่านี้ประกอบด้วยที่ดิน 215 แปลง ซื้อโดยหน่วยงานอุทยานและสัตว์ป่าของรัฐควีนส์แลนด์ และ 13 แปลง ซื้อโดยหน่วยงานอนุรักษ์ของเอกชน ใน “เดนทรี (Daintree)” สามารถพบสิ่งมีชีวิตได้หลากหลายชนิด อาทิ สายพันธุ์กบ, สัตว์เลื้อยคลาน และสัตว์มีกระเป๋าหน้าท้อง (30% ของสายพันธุ์ในออสเตรเลีย), สายพันธุ์ค้างคาวและผีเสื้อ (90% ของสายพันธุ์ในออสเตรเลีย) และสายพันธุ์นกในประเทศ (7% ของสายพันธุ์ในออสเตรเลีย) นอกจากนี้ยังมีแมลงมากกว่า 12,000 สายพันธุ์ ซึ่งความหลากหลายของสิ่งมีชิวิตทั้งหมดนี้อยู่ในพื้นที่เพียง 0.2% ของทวีปออสเตรเลีย ส่วนหนึ่งของ “เดนทรี (Daintree)” ได้รับการคุ้มครองโดยอุทยานแห่งชาติเดนทรี และยังมีน้ำค่อยๆ ไหลออกสู่แม่น้ำเดนทรี ถนนทางตอนเหนือของแม่น้ำเดนทรีตัดผ่านพื้นที่ป่าอันเขียวชอุ่มและได้รับการออกแบบมาเป็นพิเศษเพื่อลดผลกระทบต่อระบบนิเวศแห่งนี้ ระบบนิเวศแบบป่าฝนเขตร้อนของ “เดนทรี (Daintree)” เป็นพื้นที่ที่มีความซับซ้อนที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ความหลากหลายของพืชพรรณต่างๆ และความซับซ้อนเชิงโครงสร้างนั้นหาใครเทียบไม่ได้ในทวีปออสเตรเลีย และแสดงให้เห็นต้นกำเนิดของพืชต่างๆในทวีปออสเตรเลีย หลายล้านปีที่ผ่านมา ทวีปออสเตรเลียมีสภาพอากาศอบอุ่น มีความชื้น และปริมาณน้ำฝนอุดมสมบูรณ์ ในช่วงเวลานี้มีป่าฝนที่เจริญงอกงามอยู่หลายแห่ง เช่น Uluru region (Ayers Rock) ขณะที่ทวีปออสเตรเลียเริ่มแห้งแล้งมากขึ้น ป่าฝนในที่ต่างๆ ก็อยู่รอดได้น้อยลง แต่อย่างไรก็ตามการที่ “เดนทรี (Daintree)” นี้มีสภาพภูมิอากาศและภูมิประเทศที่เป็นอุดมคติจึงเปรียบเสมือนที่ลี้ภัยสุดท้ายสำหรับป่าฝน และภายในที่ลี้ภัยนี้ สิ่งมีชีวิตหลายสายพันธุ์สามารถใช้ชีวิตอยู่ได้อย่างสบาย ลูกหลานจำนวนมากของสิ่งมีชีวิตเหล่านั้นที่ดำรงอยู่ในทุกวันนี้ยังคงรักษาลักษณะดั้งเดิมของบรรพบุรุษไว้ บางชนิดนับอายุย้อนหลังไปได้ถึง 110 ล้านปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งที่ถูกค้นพบในปี พ.ศ. 2513 คือ “Idiospermum australiense”หรือที่รู้จักกันทั่วไปว่า “ผลไม้งี่เง่า” เป็นหนึ่งในพืชที่หายากและดั้งเดิมที่สุดในกลุ่มพืชดอก นับเป็นการค้นพบทางพฤกษศาสตร์ที่สำคัญที่สุดของออสเตรเลีย ทำให้นักวิทยาศาสตร์ตระหนักถึงความโบราณของป่าเหล่านี้เพิ่มมากขึ้น ตระกูลของพืชดอกดั้งเดิม 12 ตระกูล จาก 19 ตระกูล ที่มีอยู่ทั้งหมดบนโลกนี้อยู่ใน “เดนทรี (Daintree)” ทำให้บริเวณนี้มีความหนาแน่นของพืชดอกสูงสุดในโลก ตระกูลพืชโบราณเหล่านี้อาจเป็นประโยชน์สำหรับการศึกษาต้นกำเนิดของพืชดอกในอนาคตก็เป็นได้ รูปภาพที่ 1/ รูปภาพที่ 2/ รูปภาพที่ 3/ รูปภาพที่ 4