คุณผู้อ่านอาจจะเคยได้ยินชื่อนี้ "ดินเเดนลังกาสุกะ" ที่เราอ่านผ่านตาบ่อย ๆ ในตำราเรียนวิชาประวัติศาสตร์ ที่จริงเเล้วลังกาสุกะกับปัตตานี คือสถานที่เดียวกันเเค่ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น "ปัตตานี" เท่านั้นเอง ผู้เขียนเรียนจบสาขาวิชามลายูศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (วิทยาเขตปัตตานี) ก็พอจะมีความรู้ติดตัวมาบ้างเกี่ยวกับเรื่องประวัติความเป็นมาของจังหวัดปัตตานี วันนี้ผู้เขียนเลยถือโอกาสจะมารีวิว " 3 เเหล่งประวัติศาสตร์ ณ.ดินเเดนลังกาสุกะ (ปัตตานี) " พร้อมเเล้วเรามาเรียนรู้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ... 1.มัสยิดกรือเซ๊ะ ตั้งอยู่ริมถนนสายปัตตานี-นราธิวาส บ้านกรือเซ๊ะ หมู่ 2 ตำบลตันหยงปูโล๊ะ อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี ห่างจากตัวเมืองปัตตานีประมาณ 7 กิโลเมตรมัสยิดกรือเซ๊ะเป็นมัสยิดเก่าเเก่มีอายุราว 200 ปีเเล้วค่ะ ชาวปัตตานีสันนิฐานว่าเป็นศาสนสถานร่วมสมัยกับอยุธยา อีกอย่างหนึ่งที่สำคัญก็คือ มัสยิดกรือเซ๊ะมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "มัสยิดปีตูกรือบัน" ชื่อนี้เรียกตามรูปทรงของประตูมัสยิด ซึ่งมีลักษณะโค้ง เเหลม เเบบชาวยุโรป คำว่า "ปีตู เเปลว่า ประตู" เเละ "กรือบัน เเปลว่า ประตูที่มีรูปโค้ง" มัสยิดกรือเซ๊ะมีตำนานเล่าขานกันมาในหลากหลายรูปเเบบ ประวัติศาสตร์ไทยจารึกไว้ว่าสาเหตุที่มัสยิดกรือเซ๊ะสร้างไม่เสร็จจนถึงปัจจุบันนี้ก็เพราะว่าถูกฟ้าผ่าจากคำสาปเเช่งของเจ้าเเม่ลิ้มกอเหนี่ยว เเต่ทางประวัติศาสตร์อิสลามนั้นจารึกไว้ว่าสมัยนั้นศาสนาอิสลามได้เเพ้การทำสงครามกับสยาม จึงทำให้สยามมีสิทธิทำลายล้างเเหล่งศาสนสถานที่คนอิสลามสร้างไว้โดยการเผามัสยิดกรือเซ๊ะ "คนอิสลามจึงมีความคับเเค้นใจจนถึงปัจจุบันเเละมีความตั้งใจที่จะสร้างไม่เสร็จ ให้กลายเป็นจุดเด่นขแงศาสนสถาน" ทั้งนี้ผู้เขียนก็ไม่ทราบสาเหตุที่เเท้จริงว่าเกิดอะไรขึ้นกันเเน่? เเต่เหตุผลหลัก ๆ ที่มัสยิดกรือเซ๊ะได้กลายเป็นเเหล่งท่องเที่ยวที่ผู้คนนิยมกันมาก็เพราะว่า "มัสยิดกรือเซ๊ะเป็นศาสนสถานที่เเปลกตา สวยงาม มีจุดเด่นคือ สร้างด้วยอิฐดั้งเดิม มีประวัติศาสตร์ที่ซับซ้อน น่าสนใจ เหมาะสมกับการศึกษา ค้นคว้า หาความรู้" ผู้เขียนเล่าประวัติโดยย่อเท่านั้นจากข้อมูลที่คนเเก่เล่าต่อกันมา ถ้าคุณผู้อ่านอยากรู้รายละเอียดมากกว่านี้ เเนะนำให้ไปศึกษาด้วยตนเองน่ะค่ะ วันนี้ผู้เขียนมีรูปมาฝากด้วยเป็นรูปเมื่อ 2 ปีที่เเล้วที่ผู้เขียนได้ลงพื้นที่พรีเซ้นงานที่มัสยิดกรือเซ๊ะค่ะ ภาพถ่ายโดยผู้เขียน... 2.วังเก่าจะบังตีกอ ตั้งอยู่ที่ตำบลจะบังตีกอ อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี มีประตูวังเเละกำเเพงวังยังคงเดิม เป็นวังโบราณของเจ้าเมืองปัตตานี สร้างขึ้นประมาณปี พ.ศ.2582 โดยสถาปนิกชาวจีนเป็นผู้สร้าง ในสมัยของ ตนกูบือซา หรือ ตนกูมูฮำหมัด ซึ่งอพยพจากรัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซียเข้าสู่ประเทศไทย นั่นก็คือบริเวณวังเก่าจะบังตีกอที่อยู่ในตัวเมืองปัตตานี ด้วยความเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่นของกำเเพงวัง ที่ก่อด้วยอิฐดั้งเดิม สัมผัสได้ถึงอารยธรรมที่สวยงามในยุคนั้น จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้ชาวปัตตานียังคงรักษาศาสนสถานเเห่งนี้ เเต่ในตัววังนั้นเปลี่ยนเเปลงจากเดิมมาก เนื่องจากมีลูกหลานของตนกูบือซาได้มาตั้งหลักเเหล่งที่นี่เเละไม่อนุญาติให้ชาวบ้านเข้าไปชม "ในส่วนของกำเเพงวังเท่านั้นที่กลายเป็นเเหล่งท่องเที่ยว ปัจจุบันนี้วังเก่าจะบังตีกอกลายเป็นเเหล่งท่องเที่ยวที่เลื่องลือของผู้คนในต่างพื้นถิ่น เช่น มาเลเซีย อินโดนีเซีย เป็นต้น ภาพถ่ายโดยผู้เขียน... 3.กูโบร์รายอ หรือเเปลในภาษาไทยว่า "สุสานของกษัตริย์" เป็นสุสานที่สร้างขึ้นโดยกษัตริย์ที่ปกครองหัวเมืองปัตตานี เเละเป็นสถานที่ฝั่งศพของท่าน ปัจจุบันที่นี่กลายเป็นเเหล่งประวัติศาสตร์ที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวมุสลิมในจังหวัดปัตตานี เพื่อระลึกถึงท่าน ฮัจยีฮาเซ็ม อาเเด เป็นอีหม่ามของหมู่บ้านนี้ ท่านจึงเเต่งเติมเเละพัฒนาบริเวณสุสานให้สะอาดอยู่ตลอดเวลาเพื่อรองรับผู้คนที่จะเข้ามาเยี่ยมชมศาสนสถานเเห่งนี้... ภาพถ่ายโดยผู้เขียน... "ผู้เขียนขอรีวิวเเค่ 3 สถานที่น่ะค่ะ ที่จริงเเล้วปัตตานีมีหลากหลายสถานที่มาก ๆ ที่เป็นเเหล่งประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจเเต่เกรงว่า ถ้าเขียนไปเเล้วจะยาวเป็นขบวนรถไฟ เดี่ยวจะเบื่อค่ะ ผู้เขียนขอจบการรีวิวเพียงเท่านี้ก่อน ขอบคุณค่ะ..."