ตามรอยครูบาเจ้าศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนาไทย วันนี้ผู้เขียนจะพาท่านไปเที่ยวชม ความสวยงาม และ ตามรอยครูบาศรีวิชัย ที่ วัดบ้านปาง อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน วัดบ้านปาง สร้างขึ้นได้ 100 กว่าปี จนได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์จากครูบาเจ้าศรีวิชัย เมื่อครั้งอายุได้ 24 ปี ได้นำ พระสงฆ์ สามเณร มาร่วมกันพัฒนา สร้างบันไดทางขึ้นจากด้านล่างสู่บนวัดบ้านปาง โดยครูบาได้ให้ชาวบ้านช่วยกันสร้างรั้วด้วยหิน ยาวประมาณ 2 กิโลเมตร เพื่อเป็นสิ่งที่ช่วยป้องกันอันตรายแก่ หมู่บ้าน และ วัด จนมีหลงเหลือให้เห็นบางส่วนในปัจจุบัน และท่านได้นำชาวบ้าน คหบดี พ่อค้า พระเณร ช่วยกันสร้างวิหารหลวง พระอุโบสถ พระเจดีย์ และ กุฏิ ต่าง ๆ เพื่อเป็นที่ปฏิบัติศาสนกิจ เป็นสถาปัตยกรรมล้านนา ในยุคครูบาเจ้าศรีวิชัย เมื่อท่านเดินทางมายังวัดแห่งนี้ ท่านจะได้พบกับปราสาทหินอ่อนท่าสร้างขึ้นในจุดที่ครูบาศรีวิชียมรณภาพ และ ยังมีพิพิธภัณฑ์ครูบาเจ้าศรีวิชัย ที่แสดงเครื่องอัฐบริขาร และ ข้าวของเครื่องใช้ของครูบาเจ้า ไว้ เช่น รถยนต์ที่ครูบาศรีวิชัยใช้ในการปฏิบัติศาสนกิจนอกสถานที่ และ ยังเป็นรถยนต์ที่เปิดทางขึ้นวัดพระธาตุดอยสุเทพ , ตู้เก็บพระคัมภีร์ , โต๊ะรับแขก , เก้าอี้ , เตียงจำวัด ของครูบาเจ้าศรีวิชัย และยังมีภาพถ่ายหายากในอดีตให้ชมอีกด้วย ในพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ ผู้เขียนมาหลายครั้ง ทุก ๆ ครั้งที่มา ต้องใช้เวลาอยู่ในนี้นานมาก เพราะเรื่องราวในอดีตที่บันทึกในห้องนี้ ล้วนแต่มีความหมาย มีคุณค่า เช่น รถที่จัดแสดง เป็นรถในประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับทางขึ้นดอยสุเทพ โดยครูบาเจ้าศรีวิชัยได้เป็นผู้ริเริ่มสร้างขึ้นจนได้สัญจรมาจนถึงทุกวันนี้ อีกมุมหนึ่งจะมีรูปภาพเหตุการณ์ในอดีต ซึ่งน่าสนใจและน่าค้นหามาก ผู้เขียนได้ลองมองดูภาพแล้วนึกย้อนกลับไปรู้สึกประทับใจมาก เพราะทุกรูปล้วนมีความสำคัญ เกี่ยวเนื่องกับปัจจุบันด้วยกาลเวลา และ เทคโนโลยี ถึงเปลี่ยนแปลงมามาก แต่บางจุดยังคงซึ่งหลงเหลือร่องรอยในอดีตให้ได้เห็นอยู่ ท่านได้เข้ามาชม เป็นต้องชื่นชอบ และ สนใจเป็นแน่ ด้วยครูบาเจ้าศรีวิชัย ได้รับยกย่องให้เป็น นักบุญแห่งล้านนาไทย และเป็นที่เคารพบูชาของพุทธศาสนิกชนทั้งคนในภาคเหนือ และ ต่างจังหวัด จึงแนะนำให้ท่านเดินทางมาท่องเที่ยวและตามรอย ณ วัดบ้านปางแห่งนี้ ด้วยเป็นวัดที่ร่มรื่น สงบ อยู่บนเนินเขา มีหุ่นขี้ผึ้งจำลองของครูบา ประดิษฐานให้พุทธศาสนิกชนได้กราบไหว้ หมู่บ้านแห่งนี้เป็นดินแดนที่ครูบาคลอด ส่วนวัดเป็นที่ศึกษาพระธรรมวินัย วิชาอาคม และได้ปกครองวัดและภิกษุสามเณร มีลูกศิษย์มากมายทั่วบ้านทั่วเมือง จนถึงวัยชรา ครูบาก็ได้พำนักอยู่ที่วัดแห่งนี้ จนมรณภาพลง ทางวัดจึงได้ทำปราสาทหินอ่อน พิพิธภัณฑ์ เพื่อให้ชนรุ่นหลังได้ศึกษาชีวประวัติของท่าน ตลอดจนเป็นจุดศูนย์รวมของพุทธศาสนิกชนที่มากราบ สักการะ ขอพรให้เป็นสินิมงคลต่อตนเองและครอบครัว หมายเหตุ ผู้เขียนเป็นผู้ถ่ายรูปเองทั้งหมด