ถ้าจะเอ่ยถึง จังหวัดพัทลุง หลายท่านคงจะนึกถึงเรื่องเล่า และสถานที่ท่องเที่ยวอีกมากมาย เนื่องจากจังหวัดพัทลุง เป็นจังหวัดหนึ่งของภาคใต้ที่มีเรื่องเล่ามายาวนาน และแต่ละเรื่องต่างเป็นเรื่องที่มีความสำคัญต่อจังหวัด อีกทั้งในช่วงหลายปีที่ผ่านมาจังหวัดพัทลุงเองได้มุ่งเน้น และพัฒนาให้จังหวัดเป็นจังหวัดท่องเที่ยวที่มีสถานที่ต้อนรับนักท่องเที่ยวมากมาย เชื่อว่าหลายท่านคงได้มาเยือนจังหวัดพัทลุงบ้างแล้ว และคงชื่นชอบหลายๆอย่างดังคำขวัญของจังหวัดพัทลุง ที่ว่า เมืองหนังโนรา อู่นาข้าว พราวน้ำตก แหล่งนกน้ำ ทะเลสาบงาม เขาอกทะลุ น้ำพุร้อน และสำหรับท่านที่ยังไม่มีโอกาสได้มาเยือนจังหวัดพัทลุง ครั้งหน้าผู้เขียนจะเขียนเล่าเรื่องราวของจังหวัดพัทลุงในหลายๆสถานที่ให้เหมือนกับท่านได้มาเที่ยวด้วยตัวเอง สำหรับบทความนี้ผู้เขียนอยากเล่าถึง 1 สถานที่ ที่ได้ไปเยือนมาและอยากจะเล่าต่อให้ทุกท่านได้อ่านถือเป็นการเชิญชวนให้ทุกท่านมาเที่ยวพัทลุง ถ้าพูดถึงอ่างเก็บน้ำเขาหัวช้าง เชื่อว่าหลายท่านคงเคยได้ยินและเคยได้มาเยี่ยมชมแล้วเช่นกัน แต่มีอีกมุมที่น้อยคนมากเคยได้เข้าไปเยี่ยมชมและพักผ่อน คือ ท้ายอ่างเขาหัวช้าง เนื่องจากทางเข้าเป็นสถานที่ส่วนบุคคล ที่ต้องมีคนในพื้นที่พาเข้าไปและต้องใช้ความชำนาญในการเดินทาง จึงทำให้ท้ายอ่างเป็นสถานที่ปิด แต่ในปัจจุบันทางชาวบ้านและคนในพื้นที่ได้มีการร่วมมือร่วมใจ เปิดเส้นทางให้นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางเข้าไปได้ง่ายขึ้น แน่ขอแนะนำว่าให้ติดต่อเจ้าหน้าที่หน้าอ่างหรือคนในพื้นที่เป็นคนนำทางเข้าไป การเดินทางครั้งนี้ได้รับการบอกเล่าจากคนในพื้นที่ว่า ถือเป็นคนภายนอกทีมแรกที่เข้ามาในสถานที่แห่งนี้ที่เข้ามาพักผ่อนอย่างจริงจัง โดยมีการกางเต้นและนอนพักแรม เนื่องจากได้รับการเชิญชวนจากน้องในพื้นที่ และถือว่าเป็นการเปิดพื้นที่ให้คนภายนอกได้รู้จักว่า อ่างเก็บน้ำเขาหัวช้างยังมีอีกมุมที่สวยงามแบบธรรมชาติ เนื่องจากด้านหน้าเป็นอ่างน้ำมองผ่านไปถึงหน้าอ่างและด้านหลังเป็นเทือกเขาบรรทัด และบริเวณลานกางเต้นคือทุ่งหญ้าที่ก่อนหน้านี้เคยอยู่ใต้น้ำในช่วงน้ำเต็มอ่าง ในการเดินทางมาในครั้งนี้ทางทีมงานเลือกที่จะหลามข้าว แทนหุงข้าวด้วยหม้อสนาม เนื่องจากคุณแม่ของน้องแอมเจ้าของพื้นที่ ที่ได้เชิญชวนทีมงานเราเข้ามาพักผ่อนที่นี่ ท่านมีความเชี่ยวชาญในการหลามข้าวด้วยกระบอกไม้ไผ่ ซึ่งทางผู้เขียนและน้องแอมก็ได้ขอเรียนรู้วิชาหลามข้าวมาเป็นที่เรียบร้อย การหลามข้าวในกระบอกไม้ไผ่จะทำให้ข้าวมีความหอมและไม่เปียก มีความน่ารับประทานมากยิ่งขึ้น แต่เนื่องจากการหลามข้าวต้องใช้เวลาและต้องใช้ฟืนเป็นจำนวนมาก เรียกว่ากว่าจะได้รับประทานต้องใช้เวลาตั้งแต่เริ่มต้นกระบวนการจนจบกระบวนการประมาณ 5 - 6 ชม. เลยทีเดียว อีกทั้งไม่อยากก่อไฟลงพื้นหญ้าในบริเวณลานกางเต้น ทางทีมงานเลยเลือกที่จะหลามข้าวมาให้เรียบร้อยจากที่บ้าน ส่วนอาหารจะมีอุปกรณ์สนามในการหุงต้ม วิธีการนี้จะช่วยให้พื้นที่ลานกางเต้นยังคงความสวยงามได้ เมื่อข้าวหลามพร้อมรับประทานก็ได้เวลาในการเดินทางเข้าไปในพื้นที่ อย่างที่เรียนไว้ตอนต้นครับเนื่องจากทางเข้ายังเป็นพื้นที่ส่วนบุคคลการเดินทางก็ต้องยากนิดนึง รถเล็กหรือรถต่ำไม่สามารถเดินทางเข้าพื้นที่ได้ต้องใช้รถกระบะหรือมอเตอร์ไซค์เท่านั้นที่จะเดินทางเข้าไปได้ เมื่อมาถึงทุกคนก็ต่างแยกย้ายทำหน้าที่ของตนเองไม่ว่าจะแกงเต้น จัดของใช้ในการทำอาหาร และทีมทำอาหาร พี่ๆในทีมอีก 2 - 3 ท่านแยกออกไปหามุมถ่ายภาพสวยๆ และอีก 1 อย่างที่พวกเราได้พบที่นี่คือความมีน้ำใจของคนในพื้นที่ เนื่องจากที่กำลังจัดเตรียมทำอาหารเย็นนั้นมีน่าท่านนึงเป็นชาวประมงพื้นบ้านและเป็นคนในพื้นที่ได้ขับเรือเข้าจอดบริเวณท่าจอดเรือซึ่งเป็นจุดเดียวกันที่พวกเรากางเต้นในคำคืนนี้ ท่านบอกว่าท่านได้ปลามาจำนวนนึงและมากเกินพอที่จะเอากลับไปทำอาหารเย็นที่บ้าน ท่านเลยจัดการแบ่งปลากระทิง ให้กับพวกเรามา 3 ตัว เมนูค่ำคืนนี้เลยมีเพิ่มมาอีก 1 อย่าง เมนูอาหารในค่ำคืนนี้เลยเป็นเมนูแบบบ้านๆ ที่รับประทานร่วมกับผองเพื่อนที่ชื่นชอบในธรรมชาติเช่นเดียวกัน รูปแบบของอาหารและที่หลับที่นอนเลยไม่ใช่เรื่องใหญ่เลยสำหรับพวกเรา คำคืนนี้เลยเป็นช่วงเวลาของการนั่งพูดคุยและบอกเล่าและสั่งที่อยากให้เกิดกับที่นี้ การพัฒนาและการปรับปรุงเพื่อต้อนรับนักท่องเที่ยวที่จะมาในอนาคตเสียมากกว่า วันนี้ถึงแม้ว่าจะมีผู้นำทั้งในและน้องพื้นที่ เข้าไปร่วมบริหารจัดการพื้นที่แห่งนี้เพื่อนำนักท่องเที่ยวเข้าไปพักผ่อนหรือสูดอากาศยามเช้าที่นี่ ไม่ว่าท่านจะเดินทางมากับทีมนำเที่ยวนอกหมู่บ้านหรือทีมในหมู่บ้าน แต่สิ่งที่ชุมชนนี้อยากเห็นมากที่สุดคือ การมาของท่านจะไม่ทำร้ายความสวยงามของชุมชน เรื่องขยะจึงเป็นสิ่งสำคัญ นำกลับทุกชิ้นที่พาเข้ามาครับที่นี้ไม่มีใครเป็นเจ้าของโดยตรง ที่นี่ไม่มีพ่อบ้านหรือแม่บ้าน เราทุกคนที่มาคือเจ้าของพื้นที่ เราทุกคนคือคนที่จะทำให้ความสวยงามของสถานที่ยังอยู่เส้นทาง การเดินทางไปยังอ่างเก็บน้ำเข้าหัวช้าง ต้องใช้เส้นทาง อำเภอกงหลา - อำเภอป่าบอน หรือถ้าใช้เส้นทางพัทลุงสายหลักมาจากตัวเมืองพัทลุงใช้เส้นพัทลุง - ตรัง และเลี้ยวซ้ายที่ป้ายเข้าอำเภอกงหลา จังหวัดพัทลุง ขับตรงไปจะมีป้ายบอกตลอดเส้นทางภาพถ่ายโดย : ผู้เขียนพิกัด : https://goo.gl/maps/bH6XtKUPgUx7Us9Y9🗺 แชร์ที่เที่ยวใหม่ๆ ไม่ว่าจะเที่ยวสายไหนก็มาแวะแชร์กับทรูไอดีคอมมูนิตี้ “ท่องเที่ยว”