จวงล่าง 《庄浪县》ตอนที่3 ภาพปกจาก https://www.pexels.com กลับมาพบกันอีกครั้งนะครับ มาถึงตอนที่ 3 แล้ว ต้องขอบคุณสำหรับการติดตามและคำแนะนำต่างๆ ครับ เรามาเริ่มกันเลยครับ เนื่องจากในยุคสมัยนี้สังคมเริ่มเข้าสู่สังคมสูงวัย(老龄化社会) นั่นหมายความว่า ลูกหนึ่งคนที่เป็นผลมาจากการควบคุมประชากร (计划生育)ในสมัยก่อนของจีนนั้น จะทำให้ลูกหนึ่งคนที่ว่านี้ต้องดูแลคนอย่างน้อยสี่คน นั้นคือ พ่อ แม่ ตัวเองและลูก ยังไม่นับบางครอบครัวหากยังคงยึดธรรมเนียมปฏิบัติดั้งเดิมที่ล้าสมัย(封建)โดยในผู้หญิงอยู่กับเหย้าเฝ้ากับเรือน ภาระหน้าที่ในการหาเลี้ยงครอบครัวจะยิ่งหนักมากขึ้น ปัญหาอีกส่วนหนึ่งที่ชัดเจนคือปัญหาการถูกทอดทิ้งและการศึกษาในเด็ก (留守儿童)ปัญหานี้จะส่งผลระยะยาวและส่งผลโดยตรงกับการพัฒนาภายในประเทศของจีนเอง ซึ่งต่อมาประเทศจีนได้เห็นถึงปัญหาดังกล่าว และเล็งเห็นว่าสังคมจีนได้เปลี่ยนไปมากจึงตัดสินใจปรับนโยบายการเกิดของประชากรครั้งใหม่ เพื่อเพิ่มการป้อนแรงงานและลดแรงกดดันจากสังคมผู้สูงวัยโดยผลักดันนโยบายลูกคนที่สองทั่วประเทศ (二孩政策) แต่ผลการสำรวจของหน่วยงานด้านสถิติของจีนแสดงชัดเจนว่าคนส่วนใหญ่ตอนนี้ในจีนไม่ต้องการมีลูกเพิ่มเนื่องจากปัญหาค่าใช้จ่ายการคลอดลูก ภาระทางเศรษฐกิจ ภาระการเลี้ยงดู จึงเกิดปรากฎการณ์ครอบครัวส่วนหนึ่งในจีน “ไม่กล้ามีลูก ไม่อยากมีลูก” (不敢生,不愿生)นอกจากนี้นโยบายลูกคนที่สองของจีนยังมีนัยสำคัญถึงเรื่องความสมดุลทางเพศระหว่างเพศชายหญิงของประชากรอีกด้วย ดังนั้นการมาจวงล่างในวันที่สามนี้เราจะมาติดตามถึงนโยบายของรัฐบาลจีนและการช่วยเหลือของโรงเรียนในเขตเมืองกับการพัฒนาการศึกษาในเขตชนบทนี้ วันที่สามในจวงล่าง อากาศยามเช้านั้นสดใสเช่นเดิม มีหมอกในตอนเช้า บรรยากาศหลังที่พักโอบล้อมไปด้วยเขาสูง ไม่แปลกใจเลยที่ที่นี่อากาศจะร่มรื่นได้ขนาดนี้ เพราะโรงงานอุตสหกรรมขนาดใหญ่นั้นบางตาเหลือเกิน มองออกไปทอดยาวนั้นมีเพียงป่าเขา แม้จะมีการขุดเจาะถนนอยู่บ้างแต่ถือได้ว่าอากาศที่นี่ดีกว่าปักกิ่งอยู่มากโข ในวันที่สามนี้เราได้มีโอกาสเข้าไปโรงเรียนประถมขนาดเล็กของเมือง (庄浪县柳梁小学)ที่นี่ได้รับการช่วยเหลือทางด้านการศึกษาจากรัฐบาลจีนและทางมหาลัยที่พวกเราศึกษาอยู่อย่างมหาวิทยาลัยหนานไค (南开大学)ก็ได้เป็นกำลังหลักในการจัดการพัฒนาการศึกษา ไม่ว่าจะเป็นการจัดอบรมให้กับนักเรียนในท้องที่(教育培训) การสร้างห้องสมุดเล็กของมหาวิทยาลัยหนานไค(南开书屋)ในโรงเรียน การบริจากสื่อการเรียนการสอน (教育具贡献)รวมไปถึงการแลกเปลี่ยนคณาจารย์(支教)เพื่อเดินทางมาช่วยเหลือเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนที่จวงล่างแห่งนี้ด้วย แต่มหาวิทยาลัยหนานไคนั้นยังไม่เพียงแต่เลือกที่จะมาช่วยเหลือมณฑลกานซู เมืองชนบทอย่างจวงล่างนี้เท่านั้น ทางมหาวิทยาลัยเองยังคงมีการสนับสนุนการช่วยเหลือ (贡献)ไปยังเขตการศึกษาในแถบตะวันตกอย่างซินเจียง (新疆)และทิเบต (西藏)แต่เดี๋ยวก่อนครับจวงล่างกับปัญหาการศึกษานั้นยังไม่จบ ตามต่อได้ตอนที่ 4 ครับ รูปประกอบทั้งหมดโดย เจ้าของบทความ