รับมือ แผ่นดินไหว วิธีป้องกันภัยจากแผ่นดินไหว ไปไหนต้องรู้ไว้ก่อน

ในการเดินทางท่องเที่ยว บางจังหวะอาจต้องเผชิญกับภัยธรรมชาติอย่างกะทันหัน เช่น แผ่นดินไหว ซึ่งไม่สามารถทราบเวลาล่วงหน้าได้เป๊ะๆ เพราะฉะนั้นเราต้องเตรียมพร้อมไว้เผื่อเกิดเหตุฉุกเฉินค่ะ ตามเรามาดู วิธีรับมือ แผ่นดินไหว วิธีป้องกันภัยจากแผ่นดินไหวเดินทางไปเที่ยวไหน หากเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินขึ้น เราจะได้ถูกต้องเพื่อเซฟตัวเองได้อย่างถูกต้อง และไม่ตื่นตระหนกตกใจนั่นเอง
- รวมเหตุการณ์แผ่นดินไหวในประเทศไทย 50 ปีย้อนหลัง
- รวมรอยเลื่อนในประเทศไทย ที่ทำให้เกิด แผ่นดินไหว และ รอยเลื่อนประเทศเพื่อนบ้าน
แผ่นดินไหว ต้องทำยังไง
วิธีรับมือ แผ่นดินไหว เตรียมพร้อมก่อนเดินทาง
ช่วงระหว่างเกิดแผ่นดินไหว
- อย่าตื่นตกใจ ตั้งสติเป็นอันดับแรก พยายามควบคุมสติอยู่อย่างสงบ ถ้าอยู่ในตัวบ้าน หรือ โรงแรม ก็ให้อยู่ที่เดิม หากอยู่ด้านนอกก็ให้อยู่ด้านนอกค่ะ เพราะการบาดเจ็บส่วนใหญ่เกิดจากการวิ่งเข้าๆ ออกๆ นั่นเอง
- ถ้าอยู่อาคาร ให้ยืนหรือหมอบอยู่ในส่วนของอาคารที่มีโครงสร้างแข็งแรง ที่สามารถรับน้ำหนักได้มาก และให้อยู่ห่างจากประตู ระเบียง และหน้าต่างเข้าไว้ เช่น ปกป้องร่างกายด้วยการหลบอยู่ใต้โต๊ะที่แข็งแรง ออกห่างจากเฟอร์นิเจอร์ที่ล้มง่าย และมีด้านที่ทำจากแก้ว
- หากอยู่ในอาคารสูง ควรตั้งสติให้มั่น และรีบออกจากอาคารโดยเร็ว หนีให้ห่างจากสิ่งที่จะล้มทับได้
- ถ้าอยู่ในที่โล่งแจ้ง ให้อยู่ห่างจากเสาไฟฟ้า และสิ่งห้อยแขวนต่างๆ เอากระเป๋าหรือสัมภาระติดตัวมาบังศีรษะไว้ และอยู่ห่างจากของที่สามารถตกลงมาได้ เช่น กระเบื้อง กระจก หรือป้าย
- อย่าใช้เทียน ไม้ขีดไฟ หรือสิ่งที่ทำให้เกิดเปลวหรือประกายไฟ เพราะอาจมีแก๊สรั่วอยู่บริเวณนั้น
- ถ้ากำลังขับรถอยู่ ให้ชะลอรถยนต์ ห้ามหยุดรถยนต์โดยทันที หาที่จอดข้างทางบริเวณโล่งแจ้ง ไม่ติดอาคาร ภูเขา และริมทะเล ที่มีความเสี่ยง แล้วหาที่กำบังจนกว่าการสั่นสะเทือนจะหยุดลง
- ห้ามใช้ลิฟต์โดยเด็ดขาดขณะเกิดแผ่นดินไหว
- หากอยู่ชายหาด ให้อยู่ห่างจากชายฝั่ง เพราะอาจเกิดคลื่นขนาดยักษ์ซัดเข้าหาฝั่งได้
- ระวังการอยู่ใกล้เขื่อน
Suttisak Soralump / Shutterstock.com
สิ่งที่ไม่ควรทำ เมื่อเกิดแผ่นดินไหว
อย่าขับรถ
ให้หยุดรถก่อน และอยู่ภายในรถ จนกระทั่งการสั่นสะเทือนจะหยุด
ห้ามใช้ลิฟท์ โดยเด็ดขาด
เพราะเมื่อสายไฟขาด ลิฟต์จะติด และควันไฟจะเข้ามาในลิฟต์
อย่าอยู่ใกล้ชายฝั่ง
เพราะอาจจะเกิดคลื่นขนาดใหญ่ซัดเข้ามาชายฝั่ง หรือตลิ่ง
อย่าใช้เทียน ไม้ขีดไฟ
หรือสิ่งที่ทำให้เกิดเปลวไฟ หรือประกายไฟ เพระาอาจมีแก๊สรั่วอยู่ในบริเวณนั้น
ช่วงหลังเกิดแผ่นดินไหว
- ตรวจตัวเองและคนข้างเคียงว่าได้รับบาดเจ็บหรือไม่ ให้ทำการปฐมพยาบาลเบื้องต้นก่อน
- ควรรีบออกจากอาคารที่เสียหายทันที เพราะหากเกิดแผ่นดินไหวตามมาอีกครั้ง อาคารอาจพังทลายได้
- ใส่รองเท้าหุ้มส้นเสมอ เพราะอาจมีเศษแก้ว วัสดุแหลมคมอื่นๆ หรือสิ่งที่หักพังลงมา แทงเท้าได้
- หากอยู่ในสถานที่ท่องเที่ยว ห้างร้านต่างๆ ให้ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าหน้าที่หรือเสียงประกาศตามสายภายในอาคาร (อาจมีการเคลื่อนย้ายคนให้ไปในที่ปลอดภัย)
- หากอยู่ภายในบ้าน ตรวจสายไฟ ท่อน้ำ ท่อแก๊ส ถ้าแก๊สรั่วให้ปิดวาล์วถังแก๊ส ยกสะพานไฟ อย่าจุดไม้ขีดไฟ หรือก่อไฟจนกว่าจะแน่ใจว่าไม่มีแก๊สรั่ว โดยถ้าได้กลิ่นให้เปิดประตูหน้าต่างทุกบาน
- ให้ออกจากบริเวณที่มีสายไฟขาด และวัสดุที่สายไฟพาดพิง
- ติดตามข่าวสารข้อมูล และคำแนะนำเกี่ยวกับภัยพิบัติฉุกเฉิน อย่าใช้โทรศัพท์นอกจากจำเป็นจริงๆ เนื่องจากอาจเกิดการแย่งช่องสัญญาณกัน ผู้ที่จำเป็นเร่งด่วนต้องการขอความช่วยเหลืออาจโทรศัพท์ไม่ติดได้ จึงขอให้ใช้เท่าที่จำเป็นเท่านั้น
- หากอยู่ภายในบ้าน ให้สำรวจดูความเสียหายของท่อส้วม และท่อน้ำทิ้งก่อนใช้
- อย่าเป็นไทยมุง หรือเข้าไปในเขตที่มีความเสียหายสูงหรืออาคาร
- อย่าเผยแพร่ข่าวลือ
- เฝ้าระวังการเกิดแผ่นดินไหวซ้ำ (After Shock)
- หากติดอยู่ในซากอาคาร อย่าติดไฟ ให้อยู่อย่างสงบ ใช้ผ้าปิดหน้า เคาะท่อ ฝาผนัง ใช้นกหวีด เพื่อเป็นสัญญาณต่อหน่วยช่วยชีวิต แทนการตะโกนซึ่งอาจสูดสิ่งอันตรายเข้าร่างกาย
กระเป๋าฉุกเฉิน ควรมีอะไรบ้าง เตรียมรับมือ แผ่นดินไหว?
- ไฟฉายและแบตเตอรี่สำรอง
- ชุดปฐมพยาบาล และคู่มือปฐมพยาบาล
- อาหารและน้ำดื่มฉุกเฉิน
- มีดอเนกประสงค
- เงินสด เหรียญและธนบัตร
- รองเท้าผ้าใบ
วางแผนการติดต่อสื่อสารในยามฉุกเฉิน
- ในกรณีที่สมาชิกในครอบครัว ไม่ได้อยู่ที่เดียวกันในระหว่างแผ่นดินไหว ซึ่งมีความเป็นไปได้สูง ควรมีการวางแผนสถานที่นัดพบหรือสถานที่รวมตัวหลังเกิดภัยพิบัติแล้ว
- สมาชิกในครอบครัวทุกคน ควรมี ชื่อ ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ ของญาติ เพื่อน หรือบุคคลใกล้ชิดไว้ เพื่อสามารถติดต่อกันได้ง่าย หลังเกิดเหตุภัยพิบัติแล้ว
ขอบคุณข้อมูลจาก สำนักเฝ้าระวังแผ่นดินไหว กรมอุตุนิยมวิทยา และ Tokyo Fire Department