การไปท่องเที่ยวประเทศกัมพูชาเป็นเรื่องง่ายในสมัยนี้ จึงมีคนไทยไปกันเยอะ เพราะอยู่ใกล้ไปมาสะดวกแถมไม่ราคาแพง ภาพที่หลายคนคิดไว้คงหนีไม่พ้น การไปเดินเที่ยวปราสาทขอมโบราณที่คนทั่วโลกสนใจกันมาอย่างยาวนาน และทั่วทั้งปราสาทเรามักจะพบเห็นนางอัปสราสาวสวยมาตั้งหลายพันปี แต่ในวันนี้เราจะพาคุณทั้งหลายไปรู้จักวิถีชีวิตอันเรียบง่ายของคนกัมพูชา การเดินทางของคนนี้ ส่วนใหญ่เลือกใช้บริการตุ๊กตุ๊ก เพื่อความสนุกลุกนั่งสบาย นอกจากจะปลอดภัยไปกับคนขับส่วนตัวแล้ว คนขับตุ๊กตุ๊กยังพูดภาษาไทยได้อีกทำให้สนุกแก่เรายิ่งขึ้น แต่ในวันนี้เราเลือกการปั่นจักรยานในหมู่บ้านเล็กๆ ซึ่งไกด์จะมารับเราที่โรงแรมด้วยรถตู้ และพาไปที่หมู่บ้านแห่งนี้ และเราจะเริ่มขี่จักรยานกันที่นี่ หมู่บ้านแห่งนี้มีประชาชนประมาณร้อยกว่าหลังคาเรือนปลูกห่างกัน เขาจะพาเราปั่นพอให้ได้ออกกำลังกายเรียกเหงื่อ ไป-กลับ ประมาณ 20 กิโลเมตร แต่ได้สัมผัสวิถีชาวบ้าน และตลาดขายของพื้นเมือง โรงเรียนและวัดที่ยังสอนหนังสือให้เด็กๆ ในตลาดพื้นเมือง จะมีสินค้าที่วางขายกับพื้นดิน วางขายตั้งแต่ของสด เช่น หมู ปลาต่างๆ ทั้งตากแห้งและปลาสด แต่ราคาถูกว่าบ้านเรา ส่วนผักสดมากมายกองกับพื้น และของใช้ในบ้าน ปะปนกันไป ราคาสินค้าก็พอๆ กับเมืองไทย เราอยู่เที่ยวซื้อของและถ่ายรูปใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง เพราะในกลุ่มส่วนใหญ่จะเป็นฝรั่งก็จะตื่นเต้นกับสินค้า อาหารยอดฮิตแบบนี้จะมีขายกันทั่วทั้งเสียมราฐ และเป็นที่ชื่นชอบของคนพื้นถิ่น เป็นเหมือนของกินเล่นของคนที่นี่ มันคือหอยตากแห้ง ที่ถูกจับมาเอาไปผึ่งแดดจนตาย วางขายเมื่อโดนแดดสักพักพอให้สุกแบบกรุบๆ แล้วโรยเกลือราดน้ำจิ้มพริก มีทั้งแบบเผ็ดมาก เผ็ดน้อยและไม่ใส่พริก แต่ดูจากสายตาเราคงไม่กล้าลองกิน เพราะห่วงเรื่องอนามัยความสะอาด ราคาไม่แพงกระป๋องล่ะ1 USD ที่แห่งนี้คือทะเลสาบน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้คือ “โตนเลสาบ ” หรือนักท่องเที่ยวเรียกว่าหมู่บ้านบนน้ำ หรือ Kompong Khleang เป็นอีกหนึ่งแหล่งเที่ยวที่เสียมราฐขึ้นชื่อ เนื่องจากหมู่บ้านแห่งนี้ตั้งอยู่ติดกับแหล่งน้ำและดำรงชีพด้วยการเป็นชาวประมงในทะเลสาบน้ำจืดนี้เอง ไฮไลท์ที่นี่คือวิถีชีวิตที่ใกล้ชิดกับน้ำ มีลักษณะคล้ายคลึงกับเรือนแพของเมืองไทย หมู่บ้านแห่งนี้ประชาชนที่อาศัยเป็นจำนวนมาก แต่คนที่อาศัยอยู่กลับกลายเป็นประชาชนคนของประเทศลาว จึงมีโรงเรียนสอนถึงสองแห่ง ที่อยู่ใกล้ๆ กัน แห่งหนึ่งสอนให้เด็กชาวกัมพูชา อีกโรงเรียนหนึ่งสอนเด็กชาวลาว ไกด์เล่าให้ฟังว่า ที่นี่จะมีระเบียบการจับปลาแบบชัดเจน เพราะคนแถบนี้เขาทำการประมงกันเป็นอาชีพหลัก ในวันที่ไปเที่ยว กรุ๊ปเรามีผู้หญิงฝรั่งได้นำดินสอสี และปากกาไปแจกเด็กๆ ในเวลาที่พวกเราจอดรถยนต์ลงข้างทาง ที่ปากทางหมู่บ้านทั้งสองข้างทางมีบ้านปลูกติดกัน จากเด็กน้อยสามคมที่เราเริ่มแจกของให้ สิ่งที่น่าอัศจรรย์มาคือใช้เวลาแค่ห้านาที ได้มีเด็กเข้ามารับของแจกเพิ่มในเวลารวดเร็วเกือบห้าสิบคน การเดินมาหาอย่างรวดเร็วของพวกเด็กๆ จำนวนมาก โดยที่ไม่มีใครมีโทรศัพท์โทร. ตามเลย ในที่สุดของที่เตรียมไว้ก็ไม่พอแจก เพราะเด็กเยอะมาก ทำให้รู้สึกเสียดายว่าน่าจะเตรียมของมาเยอะกว่านี้ เพราะการที่เรานำของไปแจกกับผู้ที่ไม่มี ทำให้ผู้แจกมีความสุขจริง จึงอยากแนะนำให้คนที่จะไปเที่ยว ลองเตรียมของไปเยอะเพราะเด็กที่นี่เยอะจริงๆ คุณราเชล เป็นผู้หญิงรูปร่างท้วมผมยาวใบหน้าเปื้อนยิ้มตลอดเวลา เธอตังใจที่จะนำพวกดินสอสี ปากกา มาแจกเพราะเธอรับรู้ว่าเด็กชาวกัมพูชายังขาดแคลนอยู่ คุณราเชลมาจากออสเตรเลีย และเธอทำงานด้านช่วยเหลือผู้ติดแอลกอฮอล์ การกระทำของเธอในครั้งนี้แม้จะไม่ได้ยิ่งใหญ่มากมาย แต่เธอได้สร้างรอยยิ้มความตื่นเต้นที่มีคนแปลกหน้าหยิบยื่นให้แก่เด็กๆ มากมายหลายสิบคน จึงขอแนะนำสำหรับคนที่ไปเที่ยว ลองหาซื้อของจากเมืองไทยไปแจกจำพวก สมุด ดินสอ ยางลบ สีต่างๆ เพราะในวันนั้นราเชลสามารถแจกให้เด็กๆ ได้ คนละแท่งเดียวก็หมดแล้ว เมื่อของไม่พอเธอจึงเสนอให้เด็กเอาของมาแชร์กัน จากการพูดคุยกับไกด์นำเที่ยวในครั้งนี้ ได้เล่าให้ฟังว่า “ชาวบ้านมีลูกเยอะ ๆ เพื่อจะได้มีลูกเหลืออยู่ติดบ้าน ในยามที่ลูกคนอื่นออกไปทำงานส่งเงินกลับมา ลูกคนที่เหลืออยู่บ้านก็จะได้ดูแลพ่อแม่ตอนแก่นั่นเอง” ทำให้ชาวบ้านแต่ละครอบครัวมีลูก 5-6 คน จนเดินไปทางไหนก็เจอแต่เด็กๆ ค่าใช้จ่าสำหรับการท่องเที่ยวในครั้งนี้ราคา 49 US รวมทั้งค่าอาหารกลางวัน และเครื่องดื่มหลังจากปั่นจักรยาน ค่ารถตู้และค่าเรือ จึงเป็นอีกหนึ่งอาชีพที่ทำเงินได้ จากการพานักท่องเที่ยวชมวิถีชาวบ้าน ถ้าเมืองไทยคิดจะจัดแบบนี้น่าจะทำได้เช่นกัน... ภาพโดยผู้เขียน