รีเซต

ภูเขาไฟระเบิด ฟิลิปปินส์ วิธีรับมือกับภูเขาไฟระเบิด และเหตุฉุกเฉิน Pray for Philippines

ภูเขาไฟระเบิด ฟิลิปปินส์ วิธีรับมือกับภูเขาไฟระเบิด และเหตุฉุกเฉิน Pray for Philippines
เอิงเอย
14 มกราคม 2563 ( 11:13 )
30K
2

     หลังจากเหตุการณ์ ภูเขาไฟระเบิด ที่ ฟิลิปปินส์ เหตุเกิดจาก ภูเขาไฟตาอัล (Taal) เริ่มปะทุเมื่อวันที่ 12 มกราคม 2563 ที่ผ่านมา สถานการณ์ล่าสุดจาก ประกาศของทางสถานเอกอัครราชทูต ประจำกรุงมะนิลา (Royal Thai Embassy, Manila) มีดังนี้ค่ะ

 

Ezra Acayan / Getty Images

 

      ภูเขาไฟตาอัล ยังคงมีลาวาปะทุขึ้นมาเป็นบางช่วง รวมทั้งมีไอน้ำสูง 2 กม. และเกิดแผ่นดินไหวเป็นระยะ เป็นสัญญาณของการที่แมกมาแทรกตัวขึ้นมาจากชั้นหิน (magma intrusion) ทั้งนี้ มีเถ้าภูเขาไฟตกหนักโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ Cuenca, Lemery, Taal จังหวัด Batangas ซึ่งเถ้าภูเขาไฟเป็นอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจ และอาจมีกลิ่นของซัลเฟอร์ จึงขอให้สวมใส่หน้ากากกรองฝุ่น N95 หรือผ้าชุบน้ำปิดจมูกหากต้องอยู่กลางแจ้ง

      เขตที่มีการประกาศงดการเรียนการสอนในวันที่ 14 มกราคม 2563 แล้วได้แก่ เมือง Lipa City จ. Batangas เมือง Binan City และ Santa Rosa City จังหวัด Laguna เมือง Antipolo City และ San Mateo จ. Rizal และ Manila City

      ท่าอากาศยาน Ninoy Aquino International Airport เริ่มเปิดให้ทำการบินบางส่วนเมื่อเวลาประมาณ 12.00 น. ของวันที่ 13 มกราคม 2563 โดยให้ความสำคัญกับเที่ยวบินที่ออกจากกรุงมะนิลาก่อน เพื่อระบายเครื่องบินและผู้โดยสารที่ตกค้าง

      แม้ว่าสายการบินต่างๆ ได้เริ่มปรับกำหนดการบิน อย่างไรก็ดี หลายสายการบินยังคงประกาศยกเลิกเที่ยวบินภายในประเทศและระหว่างประเทศ จึงขอแนะนำให้ผู้โดยสารติดต่อเปลี่ยนเที่ยวบินให้เรียบร้อยและตรวจสอบให้แน่ใจว่าเที่ยวบินที่จะเดินทางเปิดให้บริการก่อนที่จะเดินทางไปสนามบิน เนื่องจากยังคงมีความเป็นไปได้ที่เถ้าภูเขาไฟอาจเป็นอุปสรรคต่อการบินอีก

ขอบคุณข้อมูลจาก สถานเอกอัครราชทูต ประจำกรุงมะนิลา

 

Ezra Acayan / Getty Images

 

      นอกจากนี้ ทางการฟิลิปปินส์ยังยกระดับการเตือนภัยเป็นขั้นที่ 4 และสั่งอพยพผู้คนใน 3 เมืองใกล้ภูเขาไฟตาอัลแล้ว สำหรับนักท่องเที่ยวไทย หรือ คนไทยในฟิลิปปินส์ เรามี วิธีการรับมือภูเขาไฟระเบิด มาฝากกันไว้ เพื่อความปลอดภัยของทุกคน ตามนี้ค่ะ

 

วิธีการรับมือภูเขาไฟระเบิด

 

ภูเขาไฟระเบิด ฟิลิปปินส์

TED ALJIBE via AFP

 

  • คอยรับฟังข่าวเตือนภัยเกี่ยวกับภูเขาไฟที่ออกโดยหน่วยสังเกตการณ์สภาพอากาศ

  • หาช่องทางติดต่อสื่อสารเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน ตกลงกันในครอบครัวว่าจะติดต่อกันอย่างไรด้วยวิธีไหน ถ้าเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินจะไปเจอกันที่ไหน

  • ในสถานการ์ที่ภูเขาไฟสงบลงแล้ว จะมีเถ้าภูเขาไฟ กลิ่นของซัลเฟอร์ อาจส่งผลต่อหลอดลม ทำให้หายใจไม่สะดวก และระคายตา จึงควรหลีกเลี่ยงการอยู่กลางแจ้ง หรือนอกอาคาร

  • ปิดประตูและหน้าต่างให้สนิท โดยอาจใช้ผ้าเปียกปิดขอบประตูและหน้าต่างอีกชั้นหนึ่ง

  • สวมหน้ากากกรองอากาศและแว่นตาเพื่อกันฝุ่น

Dante Diosina Jr via Anadolu Agency

  • สํารวจตรวจสอบสถานที่หลบภัย และเส้นทางหลบภัย

  • เมื่อมีประกาศให้อพยพหลบภัย ควรรีบอพยพโดยด่วน

  • จัดของใช้เฉพาะที่จําเป็น เอาติดตัวไปด้วยตอนอพยพ เช่น ยาสำหรับโรคประจำตัว อาหารยามฉุกเฉิน น้ำดื่ม เป็นต้น

  • ขับรถด้วยความระมัดระวัง เปิดไฟเพื่อเพิ่มทัศนวิสัย เถ้าภูเขาไฟที่ปกคลุมอาจทำให้ผิวถนนลื่น ควรปฏิบัติตามมาตรการและคำแนะนำด้านการจราจรอย่างเคร่งครัด
  • หลีกเลี่ยงการเปิดเครื่องปรับอากาศในรถยนต์

  • เมื่อเถ้าภูเขาไฟที่รวมตัวกับน้ำฝน เมื่อมีปริมาณมาก น้ำหนักของเถ้าภูเขาไฟอาจทําให้หลังคาบ้านพังลงมาได้

Ezra Acayan / Getty Images

 

      ทั้งนี้ ควรติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดจากช่องทางข่าวสารของรัฐบาล และปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด

กรณีฉุกเฉินสามารถติดต่อ สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงมะนิลา ได้ที่หมายเลข +63 2 8815 4219-20, +63 917 806 3977 และ +63 917 805 8863

https://www.facebook.com/rtemnl