ศิลปะยืนยาว ชีวิตสั้น (ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี) ศิลปะเป็นสิ่งที่อยู่กับมนุษย์มาเนิ่นนานตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ “ศิลปะ”อยู่มาก่อนตัวหนังสือเสียอีก เพราะศิลปะเป็นสิ่งที่ช่วยจรรโลงและยกระดับจิตใจมนุษย์และเป็นวิถีชีวิตที่ไม่อาจแยกจากกันได้มองไปรอบตัวจะพบว่าทุกอย่างนั้นคือศิลปะ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (Bangkok Art & Culture Center) สถานที่ที่ให้ความสำคัญกับศิลปวัฒนธรรมและเปิดให้ผู้คนสามารถเข้าถึงได้อย่างทั่วถึง ตอนนี้หอศิลปได้กลับมาเปิดให้บริการอีกครั้งให้เราได้เข้ามาเดินเสพศิลป์กันหลังสถานการณ์ล็อกดาวน์โควิด 19 ที่ทำเอาเราอยู่บ้านกันมานาน ให้จิตใจได้รับการจรรโลงใจอีกครั้ง คิดถึงจังหอศิลป์ หอศิลป์กับสถานการณ์โควิด-19(Covid-19) การกลับมาเปิดให้บริการของหอศิลป์ในครั้งนี้มีมาตรการป้องกันและรับมือกับสถานการณ์เชื้อไวรัส โควิด-19 เพื่อให้ทุกคนเดินเสพศิลป์กันได้อย่างไร้กังวล เช่น ผู้เข้าชมต้องสวมหน้ากากเพื่อป้องกัน ล้างมือด้วยเจลที่มีให้บริการตามจุด Scan QR Code เพื่อ Check In เมื่อเข้า และ Check Out เพื่อออก ตรวจวัดอุณหภูมิร่างกาย ติดสติ๊กเกอร์เป็นสัญลักษณ์ รับบัตรเข้าชมงานนิทรรศการในแต่ละชั้นเพื่อจำกัดจำนวนผู้เข้าชม ห้องใหญ่ 70 คน ห้องเล็ก 5 - 10 คน เว้นระยะห่างอย่างน้อย 1.5 เมตร คลิกชมข้อตกลงและมาตรการแบบวิดีโอ แน่นอนว่าอาจจะต้องสละเวลานิดหน่อยทุกคนควรปฏิบัติตามกฎนั้น ๆ ด้วย :) หอศิลปกรุงเทพเป็นพื้นที่ที่เปิดกว้างสำหรับศิลปะร่วมสมัยในด้านต่าง ๆ ทั้งผลงาน นิทรรศการศิลปะ , ดนตรี, ภาพยนตร์, การแสดง , วรรณกรรม, การออกแบบสร้างสรรค์ และ กิจกรรมศิลปะเด็ก ช่วงที่เราได้มีโอกาสไปเดินหอศิลป์นั้นเป็นวันที่ 4 มิถุนายน 63 ซึ่งมีนิทรรศการมาจัดตามชั้นต่าง ๆ โดยส่วนใหญ่เป็นผลงานของศิลปินชาวไทย นิทรรศการ : นิทรรศการภาพถ่ายนานาชาติ พลวัตของภาพนิ่งเพื่อคุณภาพชีวิต โถง ชั้น 1 โดย เครือข่ายคณบดีและหัวหน้าภาควิชาทางด้านนิเทศศาสตร์และสื่อสารมวลชน นิทรรศการจัดแสดงที่ People Gallery พื้นที่จัดแสดงผลงานที่เปิดให้ศิลปินทุกท่าน(ไม่ว่าจะมีชื่อเสียงมากน้อยแค่ไหน)ได้เวียนมานำผลงานมาจัดแสดงห้องจัดแสดงแห่งนี้ที่ชั้น 2 และ ชั้น 3 - ที่พำนักแห่งจิต ห้อง P2 โดย นิตยา เหิรเมฆ - OVERLAPPING ห้อง P3 ยุทธ พฤฒาสัจธรรม นิทรรศการ : ”เส้นสายลายเส้น” ครั้งที่ 2 ผนังโค้ง ชั้น 3-4 ผลงานภาพวาดและภาพพิมพ์ธรรมชาติ สถานที่สถาปัตยกรรม และสัตว์ป่า กว่า 30 ภาพ โดยศิลปินแห่งชาติ คุณ นิธิ สถาปิตานนท์ นิทรรศการหลัก : นิทรรศการศิลปกรรมช้างเผือก ครั้งที่ 9 หัวข้อ “สยามเมืองยิ้ม” ชั้น 7 จัดแสดงงานศิลปะที่เกี่ยวข้องกับความสงบสุขร่มเย็นในประเทศไทยที่มีการผสมผสานเรื่องราวในอดีตและปัจจุบันเข้าด้วยกันผลงานจากศิลปินไทยหลายท่าน นิทรรศการหลัก : EARLY YEARS PROJECT #5 by MILLCON: 20/20 ‘เปลี่ยน’ (Fluidity of Change) ชั้น 9 ผลงานของศิลปินรุ่นใหม่ทั้ง 8 คน ที่ผ่านการคัดเลือกจากโครงการ Early Years Project มาจัดแสดง สนับสนุนโดย หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร สนับสนุนโดย บริษัท มิลล์คอน สตีล จำกัด มหาชน นิทรรศการจัดแสดงผลงานจาก โครงการจรัส ได้กลับมาเดินที่นี่อีกครั้งรู้สึกดีเพราะเป็นสถานที่ที่ทำให้เราสบายใจ อาจเพราะ งานศิลปะที่ได้ชื่นชม การได้เดินไปเรื่อย ๆ ไม่รีบในที่กว้าง ๆ แสงไฟ หรือ สีขาว ก๋วยเตี๋ยว หนังสือ ผู้คน ทุกองค์ประกอบของสถานที่แห่งนี้มันดีมาก ๆ เลยค่ะ :) ผลงานที่จัดแสดงอาจมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดนะคะ สามารถติดตามข่าวสารการจัดแสดงผลงานศิลปะได้ที่ช่องทางออนไลน์ของหอศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร BACC ซึ่งจะคอยอัปเดตข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับงานนิทรรศการและหอศิลป์ Website : https://www.bacc.or.th Facebook : https://www.facebook.com/baccpage Instagram : https://instagram.com/baccbangkok Twitter : http://www.twitter.com/baccnews นอกจากผลงานศิลปะจรรโลงใจก็ยังมีร้านค้าขายของ ทั้งอุปกรณ์ศิลปะ ร้านหนังสือ ของที่ระลึก ร้านขนม กาแฟ รวมไปถึงร้านอาหารอยู่ในหอศิลป์แห่งนี้ด้วยที่ ชั้น 1 - 4 ❚ ✎ ข้อมูลสถานที่หอศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร BACC ❚ ♡ 𝑇𝑒𝑙 : 02 214 6630 - 8 โทรสาร 02 2146639 ♡ 𝑂𝑝𝑒𝑛 - 𝐶𝑙𝑜𝑠𝑒 : Tuesday - Sunday 10.00 - 21.00 , Close Monday ♡ พิกัด : หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร 939 ถ.พระราม 1 แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน 10330 ♡ เพิ่มเติม : ✔ติด BTS ✔ที่จอดรถ ✔ร้านค้าอื่น ๆ ♡ การเดินทาง : สามารถลง BTS สนามกีฬาแล้วเดินไปถึงเลย หรือ ลง BTS สยามแล้วเดินมาทางห้าง MBK ข้ามสะพานทางเชื่อมเพื่อเข้าหอศิลปฯ เสพศิลป์จรุงใจ ดูแลตัวเองให้ปลอดภัยด้วยนะคะ Writer และ ผลงาน : thitha Credit Photo by : natthi.tha และขอบคุณเว็บไซต์ canva Fanpage : I Adore Eat และ The Space of nonsense Hashtag #หอศิลป์ #หอศิลปกรุงเทพฯ #BACC #บรรยากาศของหอศิลปกรุงเทพฯ BACC สามารถช่วยสนับสนุนผลงานนักเขียนได้โดยคลิกอ่านและร่วมเล่นกิจกรรมในบทความนี้ ภาพยนตร์กับกาลเวลา 8 เรื่อง หากคุณได้เวลาที่เคยเสียไปจะทำอะไรกับมัน? #EngagementCampaign