สะพานป่าดินสอ เป็นสะพานอิฐโบราณ ที่ยังหลงเหลือให้เห็นโครงสร้างอยู่จนถึงปัจจุบัน สะพานป่าดินสอนี้ เป็นสะพานข้ามคลองฉะไกรน้อย ลักษณะสะพานปูพื้นด้วยอิฐ เรียงสันอิฐเป็นก้างปลา มีซุ้มโค้งใต้สะพานรูปกลีบบัว สันนิษฐานว่าได้รับอิทธิพลทางสถาปัตยกรรมมาจากทางตะวันตก สะพานนี้ตั้งอยู่บริเวณหน้าวัดบรมพุทธาราม (วัดกระเบื้องเคลือบ)ขื่อสะพานป่าดินสอ สันนิษฐานว่าน่าจะถูเรียกตามแหล่งผลิต และค้าขายแถวนั้น ถนนย่านป่าดินสอ ป่าสมุด ป่าจาน และย่านบ้านแห แต่บริเวณที่อยู่ใกล้สะพาน เป็นย่านขายเครื่องเขียน เช่น สมุด ดินสอขาว ดินสอเหลือง ดินสอดำ ศิลา ฯลฯ เพื่อใช้เป็นอุปกรณ์เครื่องเขียนแก่พระภิกษุ สามเณร เจ้าพนักงาน อาลักษณ์ กวี รวมไปถึงบุตร หลาน ผู้ที่ต้องการศึกษาเล่าเรียนในสมัยก่อนเมื่อเดินข้ามสะพานป่าดินสอ อีกฝากหนึ่งจะถึงวัดบรมพุทธราม วัดนี้สร้างขึ้นในรัชสมัยของสมเด็จพระเพทราชาแห่งราชวงศ์บ้านพลูหลวง ใช้เวลา 3 ปีเศษ ในการก่อสร้าง พระอุโบสถมีจุดเด่นตรงที่ไม่มีเสารองรับเครื่องบนหลังคาเหมือนพระอุโบสถในสมัยอยุธยาตอนต้น ผนังพระอุโบสถจึงมีการก่ออิฐอย่างแข็งแรง เพื่อรองรับเครื่องบนหลังคาแทนเสา ภายในพระอุโบสถ ประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย ที่มีการบูรณะซ่อมแซม และบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ยังมีร่องรองของภาพจิตรกรรมฝาผนังอยู่บ้างภายนอกพระอุโบสถยังคงเหลืองลวดลายปูนปั้นที่ยังดูสวย คม ปราณีต หลงเหลือให้ได้เห็นอยู่จากหน้าพระอุโบสถมองออกมาจะเห็น พระสถูปทรงปรางค์ 2 องค์ เรียงเป็นแนวตรงไปยังทิศเหนือ วัดบรมพุทธราม และสะพานป่าดินสอ ปัจจุบันตั้งอยู่ในพื้นที่ของ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา สามารถขับรถเข้ามาจอด และเดินเยี่ยมชมโบราณสถานทั้งสองได้ รูปปกรูปประกอบโดย : เจ้าของบทความสะพานป่าดินสอ ย่านเครื่องเขียนกรุงศรีอยุธยาวิธีเดินทาง : ตำบล ประตูชัย อำเภอ พระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พิกัด และแผนที่เปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !