มีพาสปอร์ต มีตั๋วเดินแล้วก็ใช่ว่าจะเข้าประเทศปลายทางได้แน่ๆ นะ ด่านต่อไปก็คือการตอบคำตม. หรือก็คือด่านตรวจคนเข้าเมือง เป็นด่านที่ทำให้บางคนเกิดความกังวลได้เลย บางประเทศก็ถามเยอะ ถามโหดจริง บางประเทศไม่ถามเลยสักประโยคก็มีนะคะ เช่น เวียดนาม มาเลเซียเป็นต้น แต่อย่างไรซะการเตรียมตัวไปตอบคำถามไว้ก่อนก็น่าจะดีกว่า และสำหรับคนที่พื้นภาษาไม่แน่น แต่อยากเที่ยวต่างประเทศแล้วกำลังกังวลอยากได้ไกด์ไลน์คำถามไปเตรียมตัวไว้ก่อนก็มาอ่านกันที่บทความนี้ได้เลยค่ะ 1. What's your name - วอท'ส ยัว เนมจริงๆ แล้วการถามชื่อนั้น ในสถานการณ์จริงก็ไม่ได้ถูกถามทุกครั้งนะ จากประสบการณ์ที่เคยๆ ไปมาเจอทั้งที่ไม่ถามชื่อแต่ถามอย่างอื่นเลย และเรียกชื่อเราเลย หรือเปลี่ยนจากการถามว่า What's your name เป็น Your name .......? และให้ตอบใช่ไม่ใช่แทน ยกตัวอย่าง ตม. : Your name Malee? ( ยัว เนว มาลี )คำตอบ : Yes หรือ No ถ้าอยากตอบแบบเต็มประโยคก็ตอบไปว่า Yes. My name is Malee. หรือ I'm Malee ที่เขาไม่ค่อยถามชื่อหรือประเทศของเรานั่นก็เพราะว่าเขาต้องรับเล่มพาวปอร์ตของเราไปประทับลงตรา และในเล่มมันก็มีทั้งชื่อเราและชื่อประเทศเราอยู่แล้วนั่นเอง 2. What’s the purpose of your visit? คำถามตม. ที่ตม. หลายๆ ประเทศจะถามแน่ๆ เลยก็คือ มาทำอะไรที่นี่ เขาก็ต้องอยากรู้เป็นธรรมดาว่าจุดประสงค์ที่มาเยือนที่ประเทศนั้นคืออะไร สิ่งที่เขาอยากรู้ก็คือวัตถุประสงค์ของคุณ ดังนั้นคีย์เวิร์ดที่เราต้องจำคือ purpose เพอเพิส ที่มีความหมายว่าวัตถุประสงค์ และคำว่า Visit วิสซิท เยี่ยมเยือน และที่สำคัญคือเราต้องตอบให้ตรงกับวัตถุประสงค์ของเราหรือตามวีซ่าที่เราได้รับไป ถ้ามาเที่ยวสามารถตอบได้ว่า Travel ( ทราเวล ) หรือ Vacation ( เวเคชัน ) ถ้ามาทำงานก็ตอบได้ว่า work เวิร์ค หรือ business บีสเน็ซ มาหาเพื่อนหรือครอบครัว visit my friends หรือ visit my parents เป็นต้น ยกตัวอย่าง ตม. : What’s the purpose of your visit?คำตอบ : Travel ( ทราเวล ) หรือ I am here for vacation ( ไอ แอม เฮีย ฟอร์ เวเคชัน )ซึ่งนอกเหนือจากการถามด้วยประโยค What’s the purpose of your visit? แล้วยังสามารถถามในแบบอื่นๆ ได้อีก ถ้าเราเจอตม. ที่เขาดูชิลๆ หน่อยเขาอาจจะไม่ใช้รูปประโยคทางการมากอาจถามง่ายๆ ว่า Why did you come here? หรือสั้นกว่านี้อีกก็ Why you come here? ซึ่งแปลตรงตัวเลยว่า คุณมาที่นี่ทำไม เราสามารถตอบสั้นๆ หรือตอบยาวๆ ได้แล้วแต่ใจชอบเลย 3. How long will you be staying? หรือ How long will you be stay here?ส่วนต่อมาที่นิยมถามเช่นกันคือ "อยู่นานแค่ไหนหรอ" เขาก็คงไม่อยากให้ใครมาตีเนียนอยู่กินเกินกำหนดหรอก คีย์เวิร์ดที่เราต้องจำคือ How long ( ฮาว ลอง ) ที่แปลว่า นานแค่ไหน กับ staying ( สเตอิ้ง ) หรือ stay here ( สเตเฮีย )ที่แปลว่า อยู่, พักอาศัย ถ้าได้ยินสองคำนี้ในประโยคเดียวกันก็คือเขากำลังถามว่าอยู่นานแค่ไหนนั่นเอง ส่วนนี้เราสามารถตอบจำนวนวันไปเฉยๆ หรือจะตอบจำนวนวันแล้วต่อด้วยการบอกว่ามีตั๋วกลับแล้วนะ และถามตม. กลับเลยว่าคุณอยากจะดูตั๋วไหมก็ได้นะ ซึ่งบางครั้งพอตม. เขาดูตั๋วกลับเสร็จแล้วไม่ถามอะไรต่อแล้วให้ผ่านเลยก็มีนะคะยกตัวอย่าง ตม. : How long will you be stay here?คำตอบแบบสั้น : 7 day หรือ 2 weeksคำตอบแบบยาว : 2 weeks. I have a return ticket, would you like to see my ticket? ( ทู วีค. ไอ แฮป อะ รีเทิร์น ทิกเก็ต, วูด ยู ไลก์ ทูซี มาย ทิกเก็ต? ) 4. Where will you be staying - แว วิว ยู บี สเตอิ้ง ประโยคนี้ก็มีคำว่า "สเตอิ้ง" แต่มันไม่มีคำว่าฮาวลอง แต่เป็น "แว" Where will you be staying ก็คือถามว่าพักที่ไหน คุณอยู่ที่ไหนในช่วงที่คุณมาท่องเที่ยว เขาถามก็เพื่อดูว่าคุณมาเที่ยวจริงๆ ใช่ไหม ถ้าเรามาเที่ยวยังไงเราก็ต้องจองที่พักมากันก่อนอยู่แล้ว หรือถ้าเราพักกับเพื่อนหรือแฟน ตม. เขาก็จะไปถามคำถามส่วนที่เกี่ยวข้องอื่นต่อไป ในกรณีที่เขาถามเราสามารถตอบชื่อโรงแรมและที่ตั้ง อาจตอบเป็นชื่อแขวง หรือถนนต่อจากชื่อโรงแรม หรือง่ายกว่านั้นก็ยืนหลักฐานการจองโรงแรมให้ตม. ดูเลย 5. Are you travelling alone? or with Someone? มาเที่ยวคนเดียวหรือมากับใคร ซึ่งเราสามารถตอบได้ว่า Alone อโลน ( เที่ยวคนเดียว ) หรือ with friend / family ถ้าเราไปเที่ยวกับเพื่อน หรือครอบครัว หรือที่เป็นกลุ่มอาจจะตอบแล้วจบ แต่สำหรับคนเที่ยวคนเดียวโดยเฉพาะผู้หญิงไทย ในบางประเทศอาจมีคำถามจุกจิกตามมา สาเหตุที่โดนเพ็งเล็งคิดว่าหลายคนน่าจะพอเดาได้ ซึ่งมันก็เป็นหน้าที่ของตม. ที่ต้องคัดกรองคน และการที่เขาถามจุกจิกต่อจากนั้น ส่วนตัวคิดว่าเขาอยากวัดการใช้ภาษาของเรา และเช็คพฤติกรรมการตอบคำถาม ถ้าเราไปเที่ยวจริงๆ เราก็แค่ค่อยๆ ตอบ ไม่ต้องลุกลี้ลุกลน กระวนกระวาย ค่อยๆ ตอบวางตัวดีๆ ถ้ามาเที่ยวจริงๆ ยังไงก็ผ่าน 6. Have you ever been here before? แฮป ยู เอฝเออะ บีน เฮีย บีฟอร์ Have you ever been here before คุณเคยมาที่นี่มาก่อนไหม คำถามนี้อาจจะมีถามและไม่ถาม ส่วนตัวไม่ค่อยเจอคำถามนี่เท่าไร เจออยู่แค่ครั้งเดียวที่อินเดียและไม่ใช่ครั้งแรกที่ไปด้วย นอกจากจะถามว่า Have you ever been here before แล้วยังสามารถถามในแบบอื่นได้อีก เช่น Is it the first time here? ( อีส อิท เดอะ เฟิร์ส ไทม์ เฮีย ) คำถามนี้เราสามารถตอบได้ว่า Yes, this is first time ( เยส ดิส อีส เฟิร์ส ไทม์ ) หรือ No, this is ...... time. 7. Do you know someone living here? ดู ยู โนว ซัมวัน เฮีย บางครั้งเขาก็จะถามว่าเรารู้จึกใครที่นี่ไหม มีคนรู้จักอยู่ที่นี่ไหม ถามมีก็ตอบ Yes แล้วตามด้วยสถานะของคนๆ นั้น เพื่อน แฟน ญาติ ก็ว่าไป หรือถ้าไม่มีใครก็ตอบ โน สั้นๆ ได้เลย8. What do you do for a living? วอท ดู ยู ดู ฟอร์ อะ ลีฟวิ่งการถามเรื่องอาชีพนั้นมีปัจจัยใหญ่ๆ สองปัจจัย คืออย่างแรกจะถามในกรณีที่เขาอาจจะมองเห็นถึงความไม่สอดคล้อง หรือข้อสงสัยในการใช้จ่าย หรือสงสัยในส่วนอื่นๆ เช่น ในกรณีฟรีแลนซ์หรือคนที่ไม่ต้องกังวลเรื่องวันลาก็จะสามารถอยู่ได้เป็นเดือน แล้วอยู่เป็นเดือนจะเอาเงินจากไหนใช้ก็อาจจะทำให้ตม. เกิดสงสัยได้เลยต้องถามหาหลักประกันการดำรงชีพของเรา หรือข้อสองคือเราไปในประเทศที่ค่าครองชีพสูงมาก และมีสถิติคนในประเทศเราไปทำผิด หนีไปทำงาน อยู่เกินวีซ่า หรือวีซ่าผิดประเภทเยอะ เขาก็จะต้องถามเพื่อประเมินว่าคุณจัดอยู่ในกลุ่มที่อาจจะกระทำผิดหรือเปล่านั่นเอง ส่วนการตอบก็ตอบชื่ออาชีพไปเลย แต่ในกรณีฟรีแลนซ์อาจจะตอบฟรีแลนซ์โต้งๆ ไม่ได้ ต้องอธิบายให้ชัดเจนหน่อย ถ้าทำหลายอย่างก็เลือกที่เด่นชัดที่สุดให้มันมีความเป็นรูปธรรมที่สุดเพื่อป้องกันไม่ให้เขารู้สึกว่าเราดูเลื่อนลอยไม่มีหลักประกันน่ะค่ะ9. Do you plan to work ดู ยู แพลน ทู เวิร์คDo you plan to work หรือบางครั้งอาจเปลี่ยนจาก work เป็น stay here แทน หรือก็คือ "คุณมีแผนจะทำงานหรืออยู่ที่นี่ไหม" อันนี้สำคัญมากนะ มันเป็นการหยั่งเชิงหลอกถามนะคะ อย่าได้หลงกลคิดว่าเขาอารมณ์ขันพูดเล่นด้วยแล้วตอบเยส มีแผนจะอยู่ประเทศเขาเชียวนะคะ ข้อนี้สำหรับคนไปเที่ยว ไปเยี่ยมคนรู้จักชั่วคราวตอบโนได้อย่างเดียวนะคะ ตอบเยสแล้วบอกจัสคิดดิ้งก็ไม่ควรตอบนะคะเดี๋ยวจะยุ่งเอาค่ะ10. How much money are you bringing? สุดท้ายแล้วคือ How much money are you bringing? คือการถามว่าคุณนำเงินมาเท่าไร เพราะในบางประเทศเขามีข้อกำหนดเรื่องการพกเงินเข้าประเทศนั่นเอง ข้อนี้ไม่ยากและไม่ได้เจอบ่อย การตอบก็ตอบตามจำนวนเงินที่คุณพกไป ถ้าพกน้อยเพราะเน้นใช้จ่ายผ่านบัตรก็บอกจำนวนเงินสดและหยิบการ์ดที่ใช้มาโชว์ให้เขารู้ด้วยก็ได้เช่นกันค่ะและนี่ก็เป็นประโยคที่มักจะได้ยินบ่อยๆ ในสถานการณ์จริงบางครั้งมันก็ไม่ได้มาครบทั้ง 10 คำถามนะ แต่ส่วนใหญ่ก็อยู่ในลิสต์ข้างต้นนี่แหละค่ะ หากใครเจอคำถามแปลกๆ นอกเหนือจากนี้อยากแชร์ก็มาแชร์กันได้ที่กล่องคอมเมนต์ข้างล่างนี้ได้เลยนะคะ สุดท้ายนี้หากใครชอบบทความนี้ก็สามารถแชร์ออกไปได้เลยนะคะ หรือถ้าอยากติดตามเรื่องราวอื่นๆ ของเราก็สามารถติดตามกันได้ที่Facebook : แบกกล้องชิวเที่ยวไปเรื่อยYouTube : I Tell You TryIG : i_am_solo_traveler_บทความ TrueID : หญิงเถื่อนเรียบเรียงเนื้อหาและภาพโดย หญิงเถื่อน ภาพพื้นหลังภาพปกจาก canva.com เปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !