“เก็บเรื่องมาเล่า โดยหนุ่ม สุทน” ทักทายกันวันพฤหัสฯที่ 13 มกราคม 2565 วันสบาย ๆ อีกหนึ่งวันนี้ที่ "อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ" อำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ ใครชอบเที่ยวชมหรือศึกษาเรื่องราวเมืองโบราณสมัยขอมเรืองอำนาจไปชมได้เมืองศรีเทพ หนุ่ม-สุทนพอได้ไปเที่ยวมาแล้วต้องมาเขียนเล่าเรื่องให้ท่านผู้อ่านทุกท่านอ่านเช่นเดิมครับ อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพเมื่อเดินทางมาถึงอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพแล้วก็ต้องถือปฏิบัติตามระเบียบของ อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ ครับ แล้วเข้าภายในอุทยานโดยเริ่มต้นเข้าชมตามจุดต่าง ๆ โดยเริ่มต้นที่จุดที่ 1 อาคารศูนย์ข้อมูลประวัติศาสตร์ศรีเทพ ภายในอาคารจัดแสดงนิทรรศการภาพถ่ายและสิ่งของที่ขุดพบเช่นศิลาแลง เทวรูปสมัยขอมและองค์พระพุทธรูปมหายานค้นพบในบริเวณพื้นที่เมืองโบราณหรือเมืองศรีเทพในเนื้อที่ดิน 2,800 ไร่ ส่วนอายุของเมืองโบราณแห่งนี้ประมาณ 1,700 ปี ผู้ที่พบเห็นเมืองโบราณขอมคือสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพพบในปี พ.ศ. 2447 ครั้งกระนั้นเสด็จตามลำน้ำป่าสักเพื่อเข้ามณฑลเพชรบูรณ์หรือเมืองเพชรบูรณ์ตามประวัติกล่าวว่ามณฑลเพชรบูรณ์เป็นป่าไม้หนาทึบมากด้วยไข้ป่าหรือไข้มาลาเรีย สมเด็จพระเจ้าบรมเธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้สำรวจในพื้นที่ลุ่มน้ำป่าสักจึงพบเมืองโบราณขนาดใหญ่แล้วก็ถ่ายภาพบันทึกไว้ซึ่งยังคงเก็บรักษาไว้อย่างดีทุกวันนี้ ต่อมาก็พบว่าเมืองนี้ชื่อเมืองศรีเทพในหนังสือตราสารของเมืองศรีเทพ อาคารศูนย์ข้อมูลประวัติศาสตร์ศรีเทพนั่งรถรางเข้าชมอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพจุดที่ 2 นั่งรถรางชมภายในพื้นที่ดิน 2,800 ไร่ แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ เมืองชั้นนอกและเมืองชั้นในโดยเริ่มต้นที่ เมืองชั้นในครับจุดแรกเจ้าหน้าที่พาแวะให้ชมคือหลุมฝังศพ ตามความเชื่อเมื่อ 1,700 ปี เสร็จแล้วมา จุดที่ 2 องค์ปรางค์สองพี่น้องหรือถ้าตามหลักพระพุทธศาสนาจะเรียกพระปรางค์สองพี่น้อง องค์ปรางค์น้องมีทับนารายณ์ดั้งเดิมยังคงสวยงามมาก ๆ สำหรับปรางค์องค์พี่เมืองชั้นในสุดสันนิษฐานว่าเป็นเทวลัยใช้ประกอบพิธีทางศาสนาพราหมณ์-ฮินดูและพุทธมหายานถือว่าเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์มีบ่อน้ำเล็ก ๆ ใช้ประกอบในพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์เมื่อครั้งกระนู้น ถัดไปคือ คลังในหรือองค์เจดีย์ใหญ่ ส่วนด้านล่างขององค์เจดีย์มีรูปปั้นคนแคระล้อมรอบยกตัวเจดีย์ขึ้นไว้เป็นความเชื่อของคนสมัยนั้นว่าคนแคระนี้มีทางสวรรค์อันวิเศษคล้าย ๆ ผู้มีพลัง องค์ปรางค์สองพี่น้องทับหลังนารายณ์บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ตามความเชื่อคลังในหรือองค์เจดีย์ใหญ่ด้านล่างขององค์เจดีย์มีรูปปั้นคนแคระสำหรับพื้นดินชั้นนอก ชาวเมืองน่าจะประกอบอาชีพเกษตรกรรม เช่น ปลูกผักผลไม้เพราะมีอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่เพื่ออุปโภคบริโภคหรือใช้ด้านเกษตรนี่คือด้านศึกษาเรื่องราวภายในและด้านนอกเมืองศรีเทพ พื้นที่ชั้นนอกเชื่อว่าใช้เป็นพื้นที่เกษตรกรรมส่วนจุดสุดท้ายพลาดโอกาสไม่ได้ คือ จุดที่ 3 ต้องแวะคือ "ศาลเจ้าพ่อศรีเทพ" เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของเมืองโบราณศรีเทพองค์เจ้าพ่อศรีเทพสันนิษฐานกันเองว่าชาวบ้านที่เข้ามาพบร่องรอยเมืองโบราณแห่งนี้แล้วพบเทวรูปแกะสลักด้วยหินทรายจึงจัดสร้างศาลไม้เล็ก ๆ เพื่อประดิษฐานแล้วเรียก "ศาลเจ้าพ่อศรีเทพ" ดูลักษณะแล้วน่าจะเป็นองค์เทพหญิงต่อมาองค์ที่พบเจอก็หายไปส่วนองค์เจ้าพ่อศรีเทพองค์ปัจจุบันได้สร้างขึ้นมาใหม่แต่คงศักดิ์สิทธิ์เช่นเดิมและทุกปีของเดือนสามจะมีพิธีบวงสรวงองค์เจ้าพ่อศรีเทพชาวประชามาร่วมงานกันมากครับ "ศาลเจ้าพ่อศรีเทพ"ท่านที่สนใจท่องเที่ยวโบราณสถานเมืองเก่าเมื่อครั้งขอมเรืองอำนาจใกล้ ๆ ลุ่มน้ำป่าสักอำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ ไปเที่ยวเพื่อศึกษาประวัติความเป็นมากันได้นะครับหรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานพิษณุโลก-เพชรบูรณ์ โทรศัพท์ 055-252742 ได้ทุกวันตั้งแต่เวลา 08.30-16.30 น. ขอขอบคุณ ผอ.ญาติกา แก้วบริสุทธิ์ ผู้อำนวยการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานพิษณุโลก ที่ให้การต้อนรับคณะสื่อมวลชนชมรมนักข่าวท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยเดินทางไปเก็บข้อมูลเรื่องท่องเที่ยวมาประชาสัมพันธ์ให้ผู้สนใจเดินทางไปเที่ยวกันเองนะจ๊ะ "เที่ยวเมืองไทยไม่ไปไม่รู้ ถ้าอยากรู้ต้องออกเดินทางไป...กับ...ผมหนุ่ม-สุทน” ขอบคุณและสวัสดีครับมาท่องเที่ยวพร้อมศึกษาเรื่องราวประวัติศาสตร์กันครับ "อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ" ครับเรื่องและภาพโดย : หนุ่ม-สุทน รุ่งธัญรัตน์แฟนเพจเฟซบุ๊ก : https://www.facebook.com/sutonfm100.5/#ติดตามฟังเรื่องราวการเดินทางเที่ยวทั่วไทยทางคลื่นข่าว100.5fm ทุกวันอาทิตย์เวลา 10.10-11.00 น. #ติดต่อวิทยากรด้านการท่องเที่ยวได้ที่แฟนเพจเฟซบุ๊ก#เที่ยวเพลิน #เก็บเรื่องมาเล่าโดยหนุ่มสุทน #bigmaptravel #Tourism local life ชุมชนเพื่อการท่องเที่ยวไทยยั่งยืนอัปเดตบทความท่องเที่ยวตามสถานที่อันหลากหลาย โหลดเลยที่ App TrueID ฟรี !