เมื่อพูดถึงสถาปัตยกรรมงานศิลปะที่สร้างวัดวาอารามต่าง ๆ ในของไทยก็จะมีแบบของต้นเอง ซึ่งของประเทศลาว ประเทศเพื่อนบ้านของเราก็มีสถาปัตยกรรมแบบล้านช้าง สวยสดงดงามมาก ที่นี่เองเป็นเหมือนแลนด์มาร์ค ของนักท่องเที่ยวว่าต้องมาชมงานสถาปัตยกรรม งานประติมากรรมให้ได้ นั่นก็คือที่วัดเชียงทอง เมืองหลวงพระบาง เมืองมรดกโลกทางวัฒนธรรม ในปี พ.ศ. 2538 นั่นเอง พิกัด : วัดเชียงทอง แขวงหลวงพระบาง ประเทศลาว Google maps: คลิก เวลาเปิด-ปิด : 06.00-17.00 น. เปิดทุกวัน การเดินทาง : มีบริการรถรับจ้างท้องถิ่นทั้งจากสนามบินและตัวเมือง หรือจ้างมอเตอร์ไซต์ในการท่องเที่ยว วันละประมาณ 100,000 กีบ หรือ 360 บาทไทย ค่าเข้าชม : 20,000 กีบ หรือประมาณ 80 บาท จุดที่ 1 : อุโบสถวัดเชียงทองนี่คือแลนด์มาร์คที่สวยงามที่สุด และเป็นวัดที่สร้างขึ้น พ.ศ. 2102-2103 สมัยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช เรียกว่ากว่า 460 ปีผ่านมาแล้ว มีการบูรณะมาอย่างต่อเนื่อง ร่องรอยที่เห็นในปัจจุบันจึงไม่ใช่ร่องรอยตั้งแต่สมัยเริ่มสร้างแต่อย่างใด วัดนี้เป็นวัดที่ขึ้นชื่อเรื่องความงามว่างดงามที่สุดในประเทศลาว ซึ่งจากฟังจากไกด์เล่าคือวันนี้ ได้รับการอุปถัมภ์จากเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวงศ์ และ เจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวัฒนา กษัตริย์ 2 องค์สุดท้ายของลาวนั่นเอง สิมวัดเชียงทอง : ที่อยู่ตรงกึ่งกลางหลังคาสีทอง ๆ นั่นเลย ได้รับอิทธิพลมาจากสถาปัตยกรรมล้านนา เพราะมีการนำช่างหลวงจากเชียงใหม่มา และได้ต้นแบบมาจาก วิหารวัดโลกโมฬี เชียงใหม่ ซึ่งตรงกับยุคสมัยล้านนาหรือเชียงแสนของไทย หลังคา : มีการก่ออิฐถือปูนมีจุดเด่นที่หลังคา ซ้อน 3 ตับซึ่งเป็นแบบทอดลงต่ำ และมีความเชื่อว่าแต่ละชั้นคือ นรก โลกมนุษย์ และสวรรค์ หน้าบัน : จะแกะสลักเป็นรูปลายดวงอาทิตย์ (ที่เห็นเป็นกลม ๆ ) ที่ผนังของอุโบสถ จะเป็นลายรดน้ำปิดทองบนพื้นสีดำ เรียกว่า "ลายฟอกคำ" โหง่ หรือช่อฟ้า : เป็นรูปเศียรพญานาคชูคออ่อนช้อย ลายประดับต้นทอง : จะเห็นได้ที่ประตูต่าง ๆ มีลวดลายของต้นทองประดับคู่กับสัตว์หลากหลายชนิด ซึ่งเมืองเชียงทองในอดีตมีต้นทองอยู่เป็นจำนวนมาก ด้วยเหตุนี้จึงมีการทำลวดลายต้นทองเพื่อระลึกถึงต้นทองยักษ์ในอดีตที่มีอยู่จำนวนมากที่วัด จุดที่ 2 : เจดีย์บัวเหลี่ยม และมีเจดีย์เหลี่ยมแบบลาว มีทรงระฆังที่ได้รับอิทธิพลจากล้านนาอยู่ด้วย เจดีย์นี้จะอยู่รอบ ๆ วัดเชียงทอง เจดีย์ส่วนใหญ่ใช้เก็บ อัฐของพระมหากษัตริย์และเจ้านาย จุดที่ 3 : หอพระม่าน มีการประดับตกแต่งลายประติมากรรมกระจกสีอย่างสวยสดงดงาม และผนังเป็นสีกุหลาบ ซึ่งจากงานจิตรกรรมบนผนังทำให้เห็นว่า คนลาวมีความเชื่อว่า เมืองเชียงทองตั้งอยู่ตำแหน่งศูนย์กลางของโลกใบนี้ ซึ่งงานจิตรกรรมประดับกระจกสีที่นี่จะทำเป็นเรื่องราวความเชื่อ ประเพณี วิถีชีวิตของชาวเมืองลาว ซึ่งหน้าต่างและลายแกะสลักต่าง ๆ โดยช่างฝีมือลาวชื่อเพียตันเช่นเคยนอกจากนี้ยังมีประพุทธรูปปางต่าง ๆ บริเวณภายในอีกด้วย จุดที่ 4 : โรงเมี้ยนโกศ สร้างขึ้นเพื่อใช้เก็บโกศและพระราชรถ ในนั้นมีภาพสลักเรื่องรามเกียรติ์หลากหลายตอน ที่สลักขึ้นโดย “เพียตัน” ช่างฝีมือคนดังของลาว เป็นสกุลช่างของศิลปะลาว สร้างผลงานแบบศิลปะแบบล้านช้าง นอกจากนี้ภายในยังมีเศียรของพญานาค 5 เศียรยื่นมาตรงด้านหน้าราชรถ ดูสวยงามและขลังมาก จุดที่ 5 : การตักบาตรข้าวเหนียว ทุก ๆ เช้าเจ้าอาวาสวัดเชียงทอง จะนำขบวนไปตักบาตรข้าวเหนียว ซึ่งเป็นวิถีของชาวพุทธเมืองหลวงพระบางความประทับใจ : จากการมาเยี่ยมชมที่นี่ทำให้เห็นวัฒนธรรมของประเทศลาวทั้งสถาปัตยกรรมแบบล้านช้างและแบบลาว คติความเชื่อเรื่องนรก สวรรค์ และการตัดบาตรข้าวเหนียว ซึ่งทำให้อดชื่นชมไม่ได้ว่าเมืองหลวงพระบางที่ได้รับเป็นเมืองมรดกโลกจากยูเนสโก้ เพราะที่นี่ยังคงมีเสน่ห์ ความงาม วิถีวัฒนธรรมที่ดีงามไม่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมจริง ๆ ภาพที่ 1-4, 6-10, 12-18 และภาพปกโดยผู้เขียน ภาพที่ 5, 11 และภาพปกจาก flickr, flickr