ก่อนอื่นต้องบอกก่อนเลยว่าผู้เขียนเคยอาศัยและศึกษาอยู่ประเทศอินโดนเซีย เลยได้มีโอกาศไปแวะเยือนสถานที่ท่องเที่ยวหลายๆที่ในเกาะชวา และหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติยอดฮิตที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวมายังเกาะชวาแห่งนี้ คือ ภูเขาไฟโบรโม่ นั่นเอง โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวจากประเทศไทยเนื่องจากเป็นประเทศอาเซียนที่สามารถเข้ามาได้โดยไม่ต้องขอวีซ่า และมีโปรโมชั่นเที่ยวบินให้เลือกตลอดปี ภูเขาไฟโบรโม่ตั้งอยู่ในเขตอุทยาน Bromo Tengger Semeru National Park อยู่ในเกาะชวาทางตะวันออกของประเทศอินโดนีเซียและได้รับฉายาว่าเป็น"อัญมณีแห่งชวาตะวันออก"ที่มีทิวทัศน์อันสวยงามแปลกตารายล้อมด้วยทะลทรายสีเทาดำจากเถ้าภูเขาไฟ นอกจากนี้ยังเป็นถิ่นฐานของชนเผ่า Tengger ซึ่งเคยเป็นดินแดนศูนย์กลางของอาณาจักรชวาฮินดูในยุคโบราณก่อนที่ยุคอิสลามจะมาถึง และปัจุบันในทุกๆปีชาว Tengger จะมีการทำพิธีบูชาเทพเจ้าภูเขาไฟ ( Yadnya Kasada ) โดยการโยนสัตว์เป็นๆ และพืชผักลงไปในบ่อภูเขาไฟที่ยังไม่ได้ดับมอดลงไป สำหรับการเดินทางครั้งนี้เริ่มต้นจากตัวเมือง Malang ในเวลาตีหนึ่งกว่าๆไปหมู่บ้าน Cemoro Lawang เพื่อเช่ารถจี๊บไปยังภูเขา Penanjakan ซึ่งเป็นจุดนัดพบแรกที่นักท่องเที่ยวทุกคนต้องมาเยือนเพื่อรอชมแสงแรกที่สาดส่องมาจากภูเขาไฟโบรโม่ ภูเขา Penanjakan อยู่สูงจากระดับน้ำทะเล 2770 เมตร ซึ่งอยู่สูงกว่าภูเขาไฟโบรโม่ อุณหภูมิจะค่อนข้างหนาวเย็นในช่วงเวลากลางคืนและช่วงเช้ามืด โดยจุดชมวิวจุดนี้จะสามารถมองเห็น Mount Bromo, Mount Batok, Mount Kursi และ Mount Semeru และเนื่องจากเป็นจุดชมวิวจุดแรกที่นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่มารอดูพระอาทิตย์ขึ้นในเวลาเดียวกันจึงทำให้จุดนั้นอัดแน่นด้วยผู้คนเต็มไปหมด เรียกได้ว่าเบียดกันถ่ายภาพเลยทีเดียว ใครดีใครได้ค่ะงานนี้ ใช้เวลาดูพระอาทิตย์ขึ้นได้สักพักหลังจากนั้นเราก็จะนั่งรถจี๊บลงมาข้างล่างไปจอดเนินราบเชิงภูเขาไฟซึ่งรถที่จี้บทังหมดจะต้องจอดตรงนั้นและต้องเดินขึ้นไปเอง จริงๆก็มีม้าให้บริการตลอดทางตั้งแต่จุดจอดรถจี๊บไปยังบันไดจุดที่ขึ้นไปปากปล่อง ราคาประมาณ 150K รูเปียห์ ด้วยความที่ว่ายังเป็นนักศึกษาก็ต้องจำกัดงบนิดหน่อย บวกกับเพื่อนๆที่มาด้วยทุกคนตกลงเป็นเสียงเดียวกันหมดว่าจะเดินขึ้นไป การเดินขึ้นไปยังปากปล่องภูเขาไฟโบรโม่นั้นใช้ระยะเวลาประมาณ 1 ชั่วโมงกว่าๆ แต่ถ้าขี่ม้าขึ้นไปจะย่นระยะทางและเวลาได้ครึ่งหนึ่งเลยและมีแรงขึ้นบันไดไปปากปล่องได้สบายๆ ส่วนเรากว่าจะถึจุดขึ้นบรรไดนั้นเอาซ่ะหอบกันเลยทีเดียว (จะขี่ม้าขึ้นไปก็ไม่ทันแล้ว ) ในระหว่างทางที่เดินขึ้นไปบนไหล่เขานั่นก็จะมีที่นั่งพักเหนื่อยเป็นจุดๆและจะมีพ่อค้าแม่ค้าขายของกินพวกมาม่า ไข่ต้ม ดอกไม้และแมสกันฝุ่นเพราะรอบๆภูเขาไฟจะเป็นทะเลทรายที่เต็มไปด้วยฝุ่นจากเถ้าภูเขาไฟและกลิ่นกำมะถันที่ลอยคลุ้งอยู่ในอากาศตลอดเวลา ถ้าหากใครที่นั่งม้าขึ้นมาก็จะมาหยุดตรงไหล่เขาจุดที่เป็นบันไดขึ้นไปบนปล่องภูเขาไฟ ( ตามจุด start ดังรูป ) ระยะทางประมาณ 200 เมตร บริเวณขอบปากปล่องภูเขาไฟจะมีลักษณะเป็นสันกว้างเดินต่อกันได้โดยรอบ แต่ก็ต้องใช้ความระมัดระวังในการเดินมากเนื่องจากผืนดินและทรายค่อนข้างลื่นค่ะ ในที่สุดก็เดินมาถึงบริเวณปล่องภูเขาไฟซึ่งเป็นไฮไลท์ของการเดินทางครั้งนี้ค่ะ จะมีควันสีขาวพวยพุ่งออกมาจากปล่องภูเขาไฟ ซึ่งควันเหล่านี้จะชาวเผ่า Tengger จะเรียกกันว่า "ลมหายใจของเทพเจ้า" นักท่องเที่ยวที่มาเป็นคู่ส่วนใหญ่จะซื้อดอกไม้จากชาวบ้านที่นำขึ้นมาขายโยนลงไปในปากปล่องภูเขาไฟ การโยนดอกไม้ลงปล่องภูเขาไฟนี้ได้รับความนิยมจากคู่รักหนุ่มสาวที่เดินทางมาเยือนที่นี่เพื่อขอให้สมหวังในความรักและได้ครองรักกันจนชั่วนิรันด์ เราและเพื่อนๆใช้เวลาเดินรอบๆปล่องได้ไม่นานค่ะเนื่องจากมีคนขึ้นมาตลอดและค่อนข้างจะเบียดกัน ถึงแม้รอบๆจะมีราวไม้กันแต่ถ้าพลาดขึ้นมาชีวิตจบตรงนั้นเลย ดังนั้นเซฟตัวเองไว้ก่อนดีกว่า หลังจากนั้นก็ใช้เวลาประมาน 45 นาทีเดินลงมาและแวะถ่ายภาพได้บางจุดเนื่องจากอากาศเรื่มจะร้อมและฝุ่นเกาะเต็มหน้าจนเหนื่อยล้ามาก ลงมาข้างล่างต่างคนต่างขึ้นรถแล้วก็กลับเลย สำหรับการมาเยือนอัญมณีแห่งชวาตะวันออกครั้งนี้เป็นการเดินทางครั้งแรกของผู้เขียนก่อนที่จะเริ่มต้นภาคการเรียนระดับอุดมศึกษาในประเทศอินโดนีเซีย โดยส่วนตัวผู้เขียนชอบการเดินทางแนวผจญภัยแนวนี้อยู่แล้ว การได้มาเห็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่ยังมีชิวิตอยู่ถือได้ว่าเป็นประสบการณ์ที่น่าจดจำ( โชคดีที่ไฟไม่มีการปะทุ )และได้เรียนรู้อะไรหลายๆอย่างตลอดการเดินทาง ได้ไปพจญภัยกับธรรมชาติที่สวยงามแล้ว ได้เรียนรู้ถึงพิธีกรรมและวิถีชีวิตของชนเผ่าที่อาศัยอยู่รอบๆภูเขาไฟแห่งนี้ ถือว่าเป็นการเดินทางที่คุ้มค่ามากๆ ภาพประกอบโดยผู้เขียน