ภาพถ่ายโดยนักเขียน “วัดแพร่งขาหยั่ง" จังหวัดจันทบุรี จัดเทศกาลปิดทองฝังลูกนิมิต ผูกสีมา ตั้งแต่วันที่ 23 มกราคม ถึง วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2563 โดยผู้เขียนได้มาเที่ยวงานเทศกาลปิดทองฝังลูกนิมิต ผูกสีมา “วัดแพร่งขาหยั่ง" จังหวัดจันทบุรี แห่งนี้ ซึ่งเป็นวัดที่มาเที่ยวครั้งแรก ระหว่างเดินทางจะพบรถยนต์นักท่องเที่ยวเข้างานมากมาย ผู้เขียนก็นำรถไปจอดข้างถนนก่องถึง“วัดแพร่งขาหยั่ง" ประมาณ 500 เมตร ภาพถ่ายโดยนักเขียน เพราะที่จอดรถภายในบริเวณ“วัดแพร่งขาหยั่ง"เต็มไปด้วยรถมากมายจะขับไปหาที่จอดก็คงยากลงทุนเดินเข้าวัดยังดีกว่าออกกำลังกายไปในตัว แต่ก็ไม่เป็นเช่นนั้น ทาง“วัดแพร่งขาหยั่ง"มีรถซาเล้งคอยรับส่งนักท่องเที่ยวเข้า“วัดแพร่งขาหยั่ง"ไม่ต้องเดินให้เสียเวลา ภาพถ่ายโดยนักเขียน เมื่อเดินเข้ามาในบริเวณ“วัดแพร่งขาหยั่ง" โดยปกติงานเทศกาลปิดทองฝังลูกนิมิต ผูกสีมา จะมีของขายมากมาย แต่กับ“วัดแพร่งขาหยั่ง"จะพบโรงทานมากมายตั้งแต่ทางเข้า“วัดแพร่งขาหยั่ง"เลย ซึ่งจุดประสงค์ของการเดินทางมา“วัดแพร่งขาหยั่ง" เพื่อปิดทองฝังลูกนิมิต ผูกสีมา เป็นหลักส่วนเรื่องอาหารไว้รับประทานหลังทำกิจกรรมเสร็จแล้ว ภาพถ่ายโดยนักเขียน เมื่อเดินมาซักพักจะพบจุดถ่ายรูปสวย ๆ มากมาย ให้นักท่องเที่ยวได้เช็คอินได้ถ่ายรูป ดังคำกล่าวของ“วัดแพร่งขาหยั่ง" “สุขทุกนาที @แพร่งขาหยั่ง” ภาพถ่ายโดยนักเขียน เมื่อเดินทางมาถึงตัวงานของ“วัดแพร่งขาหยั่ง"ผู้เขียนไปสะดุดกับธงชนิดหนึ่งคือ ธงฉัพพรรณรังสี เป็นธง 6 สี มีสีที่เป็นมงคลของพุทธศาสนิกชน โดยแต่ละสีมีความหมายว่า 1.สีนีละ(สีน้ำเงิน) พระมหากรุณาธิคุณแห่งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อันแผ่ไพศาลไปทั่วสกลจักรวาล 2.สีปีตะ(สีเหลือง) มัชฌิมาปฏิปทาหรือทางสายกลาง คือ การหลีกเหลี่ยงความสุดโต่งทั้งปวง 3. สีโรหิตะ(สีแดง) การอำนวยพรให้ประสบความสำเร็จ สมบูรณ์พร้อมด้วยสติปัญญา คุณงามความดี ความเป็นผู้มีโชค และเกียรติยศทั้งปวง 4.สีโอทาตะ(สีขาว) ความบริสุทธิ์แห่งพระธรรม ซึ่งเป็นของที่ไม่จำกัดกาล (อกาลิโก) และนำชนไปสู่ความหลุดพ้น 5.สีมัญเชฏฐะ(สีแสด) พระปัญญาคุณแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า 6.สีประภัสสร(สีเลื่อมพรายเหมือนแก้วผลึก) ความจริงทั้งหมดในพระธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ภาพถ่ายโดยนักเขียน เมื่อได้ทราบความหมายของธงแล้วเมื่อมาถึงใน“วัดสมานมิตร"จะพบกิจกรรมต่าง ๆ มากมาย แต่กิจกรรมที่ควรทำเป็นอันดับแรก คือ กราบไหว้บูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำ “วัดแพร่งขาหยั่ง" โดยซื้อดอกไม้ ธูปเทียน และสิ่งอื่น ๆ ที่จำเป็นต่อการทำพิธี เช่น แผ่นทอง ใบเงิน ใบทอง เข็มกับด้าย คำอธิฐาน และเครื่องราง “วัดแพร่งขาหยั่ง" จะให้เครื่องรางเป็นพระประทานเมตตามหาลาภ ภาพถ่ายโดยนักเขียน เมื่อกราบไหว้บูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์และบริจาคปัจจัยเสร็จแล้ว ก็เข้าไปในโบสถ์ เพื่อปิดทองลูกนิมิตทั้ง 9 ลูกโดยลูกนิมิตลูกเอกจะอยู่ในโบสถ์ซึ่งภายในโบสถ์ของ“วัดแพร่งขาหยั่ง" มีการตกแต่งด้วยศิลปะที่สวยงามมากบอกเล่าเรื่องราวทางพระพุทธศาสนาได้เป็นอย่างดี โดยพระหลักจะเป็นพระประทานเมตตามหาลาภ ภาพถ่ายโดยนักเขียน เมื่อปิดทองลูกนิมิตลูกเอกเสร็จแล้วให้ออกจากโบสถ์ไปปิดทองลูกนิมิตทั้ง 8 ลูกรอบ ๆ โบสถ์ให้ครบโดยปิดทองเรียงกันไปจนถึงลูกที่ 9 ภาพถ่ายโดยนักเขียน เมื่อปิดทองจนครบแล้วรอบ ๆ โบสถ์มีกิจกรรมมากมายให้เลือกทำ เช่น ร่วมเป็นเจ้าภาพใบสีมา , โพธิ์จารึกชื่อ อธิฐานจิต หลุมลูกนิมิต ลูกเอก , บริจาคปัจจัยสร้างอุโบสถ , บริจาคปัจจัยซื้อรถยนต์ถวายวัด , ถวายสังฆทาน ทำพิธีสะเดาะเคราะห์ , รับพรรับน้ำมนต์จากพระอาจารย์ และกิจกรรมอื่น ๆ อีกมากมาย ภาพถ่ายโดยนักเขียน นอกจากนี้วัตถุมงคล “วัดแพร่งขาหยั่ง" จะเป็นพระยอดธงหลวงพ่อทองคำ ภาพถ่ายโดยนักเขียน เมื่อทำกิจกรรมจนเสร็จเรียบร้อยแล้วงานปิดทองฝังลูกนิมิตจะมีผู้ใจบุญทำอาหารมาแจกจ่ายให้รับประทานกันฟรี ๆ เพื่อให้นักท่องเที่ยวที่ทำกิจกรรมเสร็จแล้วได้รับประทานอาหารที่มีรสชาติท้องถิ่นของแต่ละจังหวัดอีกด้วย ขากลับออกจาก“วัดแพร่งขาหยั่ง" มีบริการรถซาเล้งรับส่งเหมือนตอนเดินทางเข้า“วัดแพร่งขาหยั่ง" สะดวกสบายไม่ต้องเดิน ภาพถ่ายโดยนักเขียน งานปิดทองฝังลูกนิมิต ผูกสีมา “วัดแพร่งขาหยั่ง" จัดงานตั้งแต่วันที่ 23 มกราคม ถึง วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2563 สถานที่ตั้งของ “วัดแพร่งขาหยั่ง" อยู่ตำบลสองพี่น้อง อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี