18 มกราคม 2566 นี้ จังหวัดอุดรธานี มีอายุครบ 130 ปี แล้วค่ะ!!!...จู่ ๆ บรรยากาศของเทศกาลเฉลิมฉลองวันก่อตั้งเมืองอุดรฯ ก็พาให้ผู้เขียนคิดถึงเทศกาลโทคะซัน (Toukasan) ที่เคยไปเห็นที่ฮิโรชิมา-ญี่ปุ่น...เป็นยังไง มาติดตามกันค่ะ...ในช่วงเวลานี้ของทุกปี ชาวอุดรฯ นอกจากจะได้ฉลองส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่แล้ว ยังได้เฉลิมฉลองวันก่อตั้งเมืองด้วยนะคะ...มีการประดับตกแต่งพื้นที่สาธารณะ อย่างเช่นถนนหนทาง และแลนด์มาร์คต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อนุสาวรีย์ "พลตรีพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม" ผู้ก่อตั้งเมืองอุดรฯ...เป็นที่น่าเจริญตาเจริญใจเป็นพิเศษทั้งกลางวันและกลางคืนค่ะไม่ใช่เฉพาะหน่วยงานราชการเท่านั้นที่มีภารกิจเกี่ยวกับการเตรียมจัดงานเฉลิมฉลองวันก่อตั้งเมืองอุดรฯ ประชาชนทั่วไปก็มีส่วนร่วมด้วยอย่างมาก เรียกว่า เตรียมการกันคึกคักทั้งเมืองค่ะ...ผู้เขียนเองและครอบครัวก็มีส่วนร่วมแทบทุกช็อตก็ว่าได้นะคะ สัมผัสแต่ความสุขและเต็มใจในการมีส่วนร่วมของผู้คน...เหตุผลถ้าพูดเป็นภาษาเรา ๆ ก็คือ "ใคร ๆ ก็อยากทำสิ่งที่เห็นว่าเป็นสิริมงคลและนำโชคดีมาให้" ค่ะ...ผู้ต้องการมีส่วนร่วม ไม่จำกัดเพศและอายุ ก็จะเตรียมหาชุดผ้าพื้นเมืองธีมสีแสดทองกวาว ซึ่งเป็นสีประจำจังหวัด เพื่อใช้ในการรำบวงสรวงกรมหลวงประจักษ์ฯ ในพิธีราชสักการะ วันที่ 18 ที่บริเวณอนุสาวรีย์ฯ ค่ะ...ร้านขายและให้เช่าชุด รวมทั้งร้านเสริมสวย ก็มีรายได้ดีกันในช่วงนี้แหละค่ะ เพราะเขารำเป็นพันเป็นหมื่นคนกันเลยทีเดียว แถมทำติดต่อกันมาหลายสิบปีแล้วค่ะเทศกาลเฉลิมฉลองการก่อตั้งเมืองอุดรฯ กำหนดไว้ 2 วัน คือ 17 - 18 มกราคม...แต่ละปีก็จัดอย่างอลังการค่ะ...ไฮไลท์ของวันที่ 17 อยู่ที่พิธีอัญเชิญศาสตราวุธ ของกรมหลวงประจักษ์ฯ เพื่อใช้ในพิธีถวายราชสักการะในวันที่ 18 ค่ะ...ขบวนอัญเชิญประกอบด้วยข้าราชการพลเรือน พร้อมทั้งกองทหาร-ตำรวจ...15:30 น. เริ่มเคลื่อนจากพิพิธภัณฑ์เมืองอุดรธานี (สถานที่เก็บรักษาศาสตราวุธ) มีประชาชนออกมาต้อนรับตลอดสองข้างทางที่ขบวนผ่าน...ให้ความรู้สึกเหมือนกองทัพที่กรมหลวงประจักษ์ฯ นำเคลื่อนมาตั้งมั่นอยู่บริเวณ (ที่ตั้งเมืองอุดรฯ ในปัจจุบัน) นี้ ในวันที่ 18 มกราคม เมื่อ 130 ปีที่แล้วเลยค่ะ...ขบวนถึงอนุสาวรีย์ฯ ประมาณ 16:30 น. จากนั้นก็มีพิธีประดิษฐานศาสตราวุธค่ะไฮไลท์ของวันที่ 18 แน่นอนว่าอยู่ที่การรำบวงสรวงกรมหลวงประจักษ์ฯ ซึ่งเคยได้รับการจดบันทึกสถิติโดย กินเนส เวิร์ล เรคครอดส์ ว่าเป็น "การรำไทยที่ใหญ่ที่สุดในโลก" ในปี 2557 ค่ะ...พิธีถวายราชสักการะ เริ่ม 7:00 น. จนกระทั่งประมาณ 9:00 น. ก็ปิดท้ายอย่างอลังการด้วยการรำบวงสรวง (สมัยที่อินเตอร์เน็ตยังเข้าถึงยาก เขาอลังการตั้งแต่วันซ้อมกันเลย เพราะเขาต้องรวมตัวซ้อมสดกันหลาย ๆ วันค่ะ เดี๋ยวนี้เปิดคลิปซ้อมกันเองที่บ้าน หรือแบ่งกันซ้อมเป็นกลุ่ม ๆ ค่ะ) ถ้ามองภาพมุมสูง จะเห็นถนนทั้ง 5 สายรอบอนุสาวรีย์ฯ เป็นสีแสด เพราะเต็มไปด้วยผู้คนที่พร้อมใจกันไปรำถวายค่ะ...งานนี้ไม่มีลงทะเบียน วอร์คอินเข้าไปเท่าไหร่ก็รับไม่อั้น มีที่สำหรับทุกคนค่ะ ...และถ้ามองขึ้นไปบนท้องฟ้าขณะทำพิธี ก็จะเห็นว่าแสงแดดในฤดูหนาวที่ปกติจัดจ้า กำลังถูกบดบังด้วยกลุ่มเมฆรูปร่างงดงาม...ผู้คนในพิธีตอนนั้น อาจมีที่รู้สึกเหมือนผู้เขียนว่า เหมือนกำลังได้รับพร "ให้ร่มเย็น ไม่ร้อน" นะคะ..จบจากพิธีแล้ว หลายคนไม่เปลี่ยนชุด ก็ไปทำกิจวัตรปกติของตน พร้อมคอสตูมรำบวงสรวงตั้งแต่ศีรษะจรดเท้านั่นเลยนะคะ เราจึงพบเห็นคนใส่คอสตูมนี้อยู่ทั่วเมือง...และหลายคนก็กลับไปที่อนุสาวรีย์ฯ อีกในตอนกลางคืน เพื่อสักการะกรมหลวงประจักษ์ฯ ด้วยขนม-ผลไม้-น้ำ-ดอกไม้...ไปเป็นครอบครัวหรือหมู่คณะ แถมมีคนที่ไปรำถวายรอบเก็บตกด้วย มีทั้งรำเดี่ยวและรำหมู่ค่ะ...ยิ่งดึกคนก็ยิ่งเยอะ ไม่แผ่วเลย แสดงถึงพลังความศรัทธาอันมากมายค่ะ...นี่คืออีกหนึ่งสีสันและสิริมงคลที่มีทุกปี คึกคักและอลังการทุกปี ของเมืองอุดรฯ ในช่วงแรกของการย่างเข้าสู่ปีใหม่ค่ะ...และนี่ก็ทำให้ผู้เขียนคิดถึงเทศกาล โทคะซัน อีกหนึ่งสีสันและชีวิตชีวาของชาวเมืองฮิโรชิมา ที่เคยไปเห็นมาค่ะ...ในช่วงต้นเดือนมิถุนายนของทุกปี ชาวฮิโรชิมาจะพร้อมใจกันแต่งกายด้วยชุดยูกาตะ (กิโมโนฤดูร้อน) ไปในย่านชุมชนและวัด ทำพิธีสักการะเทพเจ้า และเฉลิมฉลองการเปลี่ยนฤดู (จากใบไม้ผลิสู่ร้อน)...มีการประดับประดาบ้านเมือง มีขบวนแห่ การละเล่นและการร่ายรำพื้นเมือง ตั้งแต่เช้าจนถึงกลางคืน...นอกจากจะรู้สึกแปลกตา ที่ได้เห็นอะไรเก่า ๆ (ชุด การละเล่น การรำ การออกร้าน อะไร ๆ ที่เป็นพื้นเมือง) แทรกตัวอยู่ในบ้านเมืองสมัยปัจจุบัน แล้ว...ผู้เขียนก็รู้สึกทึ่งด้วย เพราะเห็นว่าเขาเป็นประเทศที่เทคโนโลยีเจริญก้าวล้ำไปไกล แต่ยังคงมีความสุขสนุกสนานกับประเพณีวัฒนธรรมมีมายาวนานถึง 400 กว่าปีค่ะ..แม้รายละเอียดของ 2 เทศกาลนี้จะแตกต่างกัน...แต่ความเหมือนในความต่าง ที่ผู้เขียนมองเห็นก็คือ การบวงสรวงขอพรสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำเมืองที่ทำจนเป็นเทศกาล และการใช้ชุดพื้นเมืองเป็นสื่อของเทศกาล ค่ะ...แม้การเดินทางของการสร้างเทศกาลแห่งวัฒนธรรมประเพณีของฮิโรชิมาจะเดินทางมายาวนาน (400 กว่าปีแล้ว) ในขณะที่อุดรฯ กำลังเริ่มต้น (40 กว่าปี) แต่ความรัก ภูมิใจ เป็นสุขสนุกสนาน ของผู้คน ที่สัมผัสได้ใน 2 เทศกาลนี้ ไม่ต่างกันเลยค่ะ.มรรษยวรินทร์ภาพถ่ายทั้งหมด โดย มรรษยวรินทร์พิกัด : อุดรธานีอยากไปเที่ยวไหนหรือเปล่า? หาข้อมูลที่เที่ยวสุดปังได้ที่ App TrueID โหลดเลย ฟรี !