รีเซต

ช้อปช่วยชาติ 2017 ลดหย่อนภาษี ซื้ออะไรได้บ้าง ได้คืนเท่าไหร่ เช็คดีๆ ก่อนช้อปแหลก พร้อมการขอใบกำกับภาษีที่ใช้ได้จริง

ช้อปช่วยชาติ 2017 ลดหย่อนภาษี ซื้ออะไรได้บ้าง ได้คืนเท่าไหร่ เช็คดีๆ ก่อนช้อปแหลก พร้อมการขอใบกำกับภาษีที่ใช้ได้จริง
เอิงเอย
13 พฤศจิกายน 2560 ( 06:42 )
4.9K

หลังจากที่รัฐบาลมีนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ ชวนขาช้อปมาลุย ช้อปช่วยชาติ 2017 ลดหย่อนภาษี ตั้งแต่วันที่ 11 พ.ย.-3 ธ.ค. นี้ ยาวนานเกือบเดือนเลยทีเดียวค่ะ ขาช้อปอย่างเราๆ ก็ต้องเช็คกันสักหน่อยว่า ซื้ออะไร ที่จะลดหย่อนภาษีได้จริงบ้าง ขอใบกำกับภาษีอย่างไรที่จะนำไปใช้ลดหย่อนได้จริง มาดูกันเลยค่ะ

 

 

 

สินค้า และบริการ ที่ใช้ลดหย่อนภาษีได้

1. สินค้าจากห้างสรรพสินค้า หรือร้านสะดวกซื้อที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

2. สินค้าจากร้านค้า Duty Free

3 ค่าอาหาร และเครื่องดื่มในร้านอาหาร และโรงแรมที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

4. ศัลยกรรมกับสถานเสริมความงามที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

5. สินค้า อุปกรณ์ตกแต่งรถ อะไหล่รถยนต์

6. อุปกรณ์ตกแต่งบ้าน เฟอร์นิเจอร์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า

7. ค่าบริการทำสปา

8. ค่าตั๋วหนัง

9. ค่าซ่อมรถ ที่เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 11 พ.ย.-3 ธ.ค. 2560

10. ค่าบริการเทรดหุ้น ที่เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 11 พ.ย.-3 ธ.ค. 2560

11. ค่าตั๋วเครื่องบินที่บินในประเทศ ของสายการบินที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มระหว่างวันที่ 11 พ.ย.-3 ธ.ค.2560โดยต้องซื้อและบินภายในช่วงเวลามาตรการเท่านั้น

12. ทองคำรูปพรรณ (สามารถหักลดหย่อนภาษีได้เฉพาะค่ากำเหน็จ หรือค่าบริการที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มเท่านั้น ส่วนทองคำแท่งไม่สามารถนำไปหักลดหย่อนภาษีได้)

 

 

 

สินค้า และบริการ ที่ไม่สามารถใช้ลดหย่อนภาษี

สินค้าหรือบริการที่ไม่สามารถใช้สิทธิ์ในการลดหย่อยภาษีได้ในช่วงเวลาดังกล่าว จะเป็นสินค้าและบริการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มอยู่แล้ว เช่น ผักสด ของสด หนังสือ ทองคำแท่ง สุรา เบียร์ ไวน์ ยาสูบ น้ำมันและก๊าซสำหรับเติมยานพาหนะ รถยนต์ รถจักรยานยนต์ เรือ ค่าที่พัก และโรงแรม ค่านำเที่ยว มัคคุเทศก์ การรับบริการจากสถานพยาบาล และซื้อบัตรของขวัญห้างสรรพสินค้า เป็นต้น

 

 

การขอใบกำกับภาษี ช้อปช่วยชาติ ที่ถูกต้อง

หลังจากช้อปช่วยชาติกันไปแล้ว เราต้องแจ้งกับพนักงานที่เราไปใช้บริการทุกครั้งว่า ขอใบกำกับภาษีในนามบุคคล พร้อมยื่นบัตรประชาชนค่ะ โดยการขอลดหย่อนภาษีจากมาตรการ ช้อปช่วยชาตินั้น ต้องใช้ใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปแบบ ตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร จะมีรายละเอียดที่สำคัญ ดังนี้

 

1. ต้องมีคำว่า ใบกำกับภาษี อย่างชัดเจน

2. ต้องมีชื่อ ที่อยู่ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีของร้านค้า

3. ต้องมีชื่อ ที่อยู่ และเลขประจำตัวประชาชนของผู้ซื้อ

4. หมายเลขของใบกำกับภาษี (ถ้ามี)

5. ต้องมีชื่อ ชนิด ประเภท ปริมาณ และมูลค่าของสินค้าหรือบริการ

6. ต้องมีจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่ม

7. ต้องมีวัน เดือน ปี ที่ออกใบกำกับภาษี

* กรมสรรพกร ระบุว่า หากใบกำกับภาษีนั้น มีรายการครบถ้วนตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร แม้จะมีการเขียนชื่อ หรือที่อยู่ผู้ซื้อสินค้าผิด หรือมีการแก้ไขข้อความก็สามารถใช้หักลดหย่อนภาษีได้

 

withGod / Shutterstock.com

 

 

ฐานเงินเดือน ลดหย่อนภาษี เช็คดีๆ ช้อปแล้วคุ้มไหม ?

เงินเดือนเฉลี่ย และการได้คืนภาษี

0-12,500 บาท ไม่ได้คืน

12,501-25,000 บาท ได้คืน 750 บาท

25,001-41,600 บาท ได้คืน 1,500 บาท

41,601-62,000 บาท ได้คืน 2,250 บาท

62,001-83,000 บาท ได้คืน 3,000 บาท

83,001-160,000 บาท ได้คืน 3,750 บาท

160,001-410,000 บาท ได้คืน 4,500 บาท

410,000 บาทขึ้นไป ได้คืน 5,250 บาท

 

 

 

อัพเดทที่พักสุดชิลล์ ที่เที่ยวสุดมันส์ ที่กินสุดฮิป

ติดตาม travel.trueid.net ได้ที่

Facebook Twitter

และ แอปพลิเคชั่น

TrueID Application Add friend ที่ ID : @TrueID