รีเซต

ลารุงการ์ Larung Gar สถาบันพุทธศาสนาที่ใหญ่ที่สุดในโลก ใจกลางหุบเขาทิเบต

ลารุงการ์ Larung Gar สถาบันพุทธศาสนาที่ใหญ่ที่สุดในโลก ใจกลางหุบเขาทิเบต
แมวหง่าว
2 กันยายน 2565 ( 16:00 )
8.8K

     ภาพของอาหารที่พักขนาดเล็กกระทัดรัด มุงหลังคาสีแดงที่เบียดตัวกันจนแน่นขนัด เป็นภาพที่เราเคยเห็นจนชินตาของ สถาบันพุทธศาสนาลารุงการ์ (Larung Gar Buddhist Institute) ที่ตั้งอยู่ภายในหุบเขาลารัง ที่ปัจจุบันได้ถูกห้ามนักท่องเที่ยวเดินทางเข้าไป กลายเป็นประหนึ่งแดนลับแลที่อยู่กลางหุบเขา

 

ลารุงการ์ Larung Gar สถาบันพุทธศาสนาที่ใหญ่ที่สุดในโลก

 

ลารุงการ์ Larung Gar สถาบันพุทธศาสนาที่ใหญ่ที่สุดในโลก

Fan jianhua / Shutterstock.com

 

     ลารุงการ์ ตั้งอยู่ที่เมืองเซอตา (Serthar) มณฑลเสฉวน เขตปกครองตนเองทิเบต ก่อตั้งขึ้นปี 1980 โดย เคนโป จิมมี พูนศอก (Khenpo Jigme Phuntsok) ซึ่งท่านมุ่งหวังให้สถานที่แห่งนี้เป็นสถานศึกษาอบรมพุทธศาสนาสายทิเบต

 

beibaoke / Shutterstock.com

 

     ด้วยความที่เป็นพื้นที่หุบเขาห่างไกล อากาศหนาวเหน็บ สูงจากระดับน้ำทะเลถึง 4,000 เมตร เมื่อแรกเริ่มจึงมีลูกศิษย์ และผู้ปฎิบัติธรรมอยู่เพียงหยิบมือเท่านั้น แต่นั่นก็ไม่อาจขวางกั้นพลังศรัทธาแห่งชาวพุทธได้ จำนวนของผู้ที่เดินทางจึงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ กระทั่งปัจจุบัน มีจำนวนถึง 40,000 คน ทั้งภิกษุ แม่ชี และฆราวาส จากต่างเชื้อชาติ ต่างนิกาย มีครูผู้สอนราวๆ 500 คน มีการสอนภาษาอังกฤษ จีน และทิเบตควบคู่ไปด้วยกัน

 

beibaoke / Shutterstock.com

 

     ในอาณาบริเวณของลารุงการ์ มีการกำหนดแบ่งเขตชัดเจนระหว่างเขตสงฆ์ และเขตแม่ชี และไม่อนุญาตให้มีโทรทัศน์เพื่อให้ทุกคนทุ่มเทเวลาให้การศึกษาอย่างเต็มที่ การพบปะสื่อสารกันจึงทำได้ในเขตลานส่วนกลางหน้าอุโบสถ ซึ่งก็เป็นไปเพื่อการปฎิบัติศาสนกิจเท่านั้น ด้านที่พักอาศัยแต่ละหลังจะมีขนาดเล็ก ประมาณ 1-3 ห้อง มีห้องน้ำสาธารณะ รวมถึงแหล่งน้ำก็เป็นบ่อส่วนรวมที่ใช้ร่วมกัน ปัจจุบันนั้นก็ยังมีผู้เดินทางเข้ามาศึกษามากขึ้นเรื่อยๆ ทุกปี จนเรียกได้ว่าที่นี่เป็นหนึ่งในสถาบันทางพุทธศาสนานิกายทิเบตที่ยิ่งใหญ่มากที่สุดในโลก

 

ลารุงการ์ ณ ปัจจุบัน

 

beibaoke / Shutterstock.com

 

    ตามคำสั่งของหน่วยงานรัฐในท้องถิ่นที่ประกาศไว้เมื่อเดือน มิ.ย.2559 เพื่อลดจำนวนประชากรซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักบวช ให้ได้ครึ่งหนึ่งถึง 5,000 คน ซึ่งสร้างความวิตกกังวลในเรื่องการอยู่อาศัยที่แออัด เจ้าหน้าทางการจีนเข้ามาควบคุม บริหารจัดการการรับนักศึกษา กระทั่งเลือกหนังสือเข้าห้องสมุดมหาวิทยาลัย และสถาบันสงฆ์ ผู้อาศัย รวมถึงผู้มาเยือนทุกคนต้องลงทะเบียน ปรับเปลี่ยนหลักสูตรการเรียนให้มีเนื้อหาร้อยละ 40 เกี่ยวกับการเมือง และวิชาอื่นที่มิใช่ศาสนา ผู้สมัครเข้ามาเรียนได้จะต้องเป็นพลเมืองภายในมณฑลเสฉวนเท่านั้น เว้นแต่กรณีพิเศษที่ต้องผ่านการพิจารณาจากผู้บริหาร และ ยุติการรับภิกษุและภิกษุณีจากวัดอื่นๆของทิเบตเข้าเรียน อย่างสิ้นเชิง

====================